พี่ชายพ่อเป็นลูกบุญธรรม เป็นวะลีย์แต่งงานได้หรือไม่?


1,849 ผู้ชม

พี่ชายพ่อที่เป็นลูกบุญธรรม เป็นวะลีย์แต่งงานได้หรือไม่? เนื่องจากพ่อเสียชีวิตไปแล้ว....


พี่ชายพ่อเป็นลูกบุญธรรม เป็นวะลีย์แต่งงานได้หรือไม่?

เมื่อสตรีท่านหนึ่งต้องการจะนิกะห์ แต่ไม่มีวะลีย์เพราะไม่มีพ่อ (หมายถึงสิ้นชีวิตแล้ว) อีกทั้งพี่ชายพ่อและน้องชายแท้ๆ ก็ไม่มี มีแต่พี่ชายพ่อที่เป็นลูกบุญธรรม ไม่ใช่พี่ชายแท้ๆ ของพ่อ เช่นนั้นเขามีสิทธิ์เป็นวะลีย์ให้นางได้หรือไม่?

ตอบโดย : อ.มุรีด ทิมะเสน

การแต่งงานของสตรีจำเป็นจะต้องมีวะลีย์ หากวะลีย์สิ้นชีวิตหรือไม่มี ศาสนาให้ฝ่ายหญิง พิจารณาเลือกวะลีย์ในลำดับต่อไป ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • พ่อ
  • ปู่ (คือพ่อของพ่อ)
  • พี่ชาย น้องชาย (ของฝ่ายหญิง) ที่พ่อแม่เดียวกัน
  • พี่ชาย น้องชาย ที่มีพ่อเดียวกัน (คนละแม่)
  • ลูกชายของพี่ชาย หรือของน้องชายที่มีพ่อแม่เดียวกัน
  • ลูกชายของพี่ หรือของน้องชายที่มีพ่อเดียวกัน (คนละแม่)
  • ลุงหรือา (พี่ชายหรือน้องชายของพ่อ) ที่มีพ่อแม่เดียวกันกับพ่อ
  • ลุงหรืออา (พี่ชายหรือน้องชายของพ่อ) ที่มีพ่อเดียวกันกับพ่อ
  • ลูกชายของลุงหรืออา (พี่ชายหรือน้องชายของพ่อ) ที่มีพ่อแม่เดียวกันกับพ่อ
  • ลูกชายของลุงหรืออา (พี่ชายหรือน้องชายของพ่อ) ที่มีพ่อเดียวกันกับพ่อ
  • บรรดาผู้ที่ได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้ที่ได้รับส่วนเหลือของมรดก
  • สุลฏอน (ผู้ปกครองระดับประเทศ) ซึ่งในปัจจุบันจะเป็นหากิม (ผู้ปกครอง) กอฎีย์ (ผู้ตัดสิน) หรืออิมาม (ผู้นำท้องถิ่น)

การพิจารณาวะลีย์ ก็ให้เรียงตามลำดับ เช่น พ่อเป็นวะลีย์ ในการแต่งงานให้กับลูกสาวของตน หากพ่อสิ้นชีวิตก็ให้พิจารณาปู่ เป็นลำดับต่อไป และหากวะลีย์คนใดไม่มีหรือสิ้นชีวิต ก็ให้พิจารณา วะลีย์ในลำดับต่อไป และหากวะลีย์คนใดไม่มีหรือสิ้นชีวิต ก็ให้ พิจารณาวะลีย์ในลำดับต่อไป

ส่วนกรณีที่ถามว่า พ่อไม่มี (หมายถึง สิ้นชีวิตแล้ว) อีกทั้งพี่ชายพ่อและน้องชายแท้ๆ ก็ไม่มี มีแต่พี่ชายพ่อ ที่เป็นลูกบุญธรรม ซึ่งไม่ใช่พี่ชายแท้ๆ ของพ่อจะได้หรือไม่?

ผู้เขียนตอบได้เลยว่า ไม่อนุญาต เพราะพี่ชายพ่อซึ่งเป็นลูกบุญธรรมไม่ใช่พ่อแม่เดียวกันกับพ่อ หรือไม่ใช่แม่เดียวกันกับพ่อหรือไม่ใช่พ่อเดียวกันกับพ่ออีกทั้งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฝ่ายหญิงทางเชื้อสายเลยแม้แต่น้อย เช่นนั้นจึงไม่อนุญาตให้เขาเป็นวะลีย์ให้แก่นางตามบทบัญญัติของศาสนา

และหากจะถามว่า ถ้าอย่างนั้นใครจะเป็นวะลีย์ให้แก่นาง คำตอบก็คือนางจะต้องเลือกวะลีย์ในลำดับถัดไปเรื่อยๆ จนกระทั้ง สุดท้ายนางต้องมอบตำแหล่งวะลีย์ไปแก่สุลฏอน หากิม หรือกอฎีย์ ซึ่งเป็นวะลีย์ลำดับท้ายที่สุด

ท่านรสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า “ผู้นำ (สุลฎอน) เป็นวะลีย์ให้แก่บุคคลที่ไม่มีวะลีย์” (บันทึกโดยอบูดาวูด, ติรฺมิซีย์, อิบนุมาญะอฺ และอะหฺหมัด)

islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด