ประวัติ มุฮัมมัด อาลี ปาชา สุลต่าน ผู้ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้


5,014 ผู้ชม

มุฮัมมัด อาลี ปาชา


ประวัติ มุฮัมมัด อาลี ปาชา สุลต่าน ผู้ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้


ประวัติ มุฮัมมัด อาลี ปาชา สุลต่าน ผู้ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้
 

เพื่อต่อต้านทหารของนาโปเลียนที่มีอำนาจอยู่ในอิยิปต์  และรุกรานซีเรียและอาจจะรุกรานกรุงอิสตันบูลได้อีก สุลต่านซาเล็มที่ 3 (1787-1807) ได้รวบรวมเหล่าทหารหนึ่งในบรรดาทหารเหล่านั้นก็คือ มุฮัมมัด อาลี ปาชา เชื้อสายตุรกี เกิดที่เมือง เคาะวะลา กรีก ปี 1765 และได้เสียชีวิตปี 1849 บิดาของเขามีอาชีพขายบุหรี่ ทำงานตั้งแต่ยังเด็ก เขาไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา ดังนั้นเขาไม่สามารถที่จะอ่านออกเขียนได้

เมื่อโตเป็นหนุ่มเขาทำงานเป็นคนเก็บภาษี  ด้วยความขยันและความชำนาญในงานที่ทำ  ทำให้เป็นที่ทรงรักของกษัตริย์อุสมาน  และสุดท้ายก็ได้แต่งงานกับลูกกษัตริย์ตั้งแต่นั้นมาเกียรติและศักดิ์ศรีของท่านก็ได้เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ  หลังจากนั้นท่านรับราชการทหารและเวทีนี้  ท่านได้แสดงความสามารถและความรับผิดชอบ  ตำแหน่งของท่านเลื่อนขึ้นตลอดเวลาและเป็นแม่ทัพในที่สุด  เมื่อครั้งในอิยิปต์ท่านเป็นตัวแทนแม่ทัพที่เป็นผู้นำที่ถูกสั่งจากเขตปกครองเขา

ในช่วงสงครามที่เกิดขึ้นกับฝรั่งเศส  เขาได้แสดงความกล้าหารเป็นพิเศษ  และทันใดนั้นถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นนายพล  เมื่อทหารฝรั่งเศสออกจากอิยิปต์เมื่อปี ค.ศ. 1801 มุฮัมมัด อาลี ปาชา ได้ใช้กลยุทธที่สำคัญในช่องว่างทางอำนาจทางการเมืองที่เกิดขึ้นจากการอพยพของทหารฝรั่งเศส  พวกมัมลุกก่อนหน้านั้นถูกต่อต้านจากนาโปเลียนก็ได้กลับมาที่ไคโร  เพื่อกุมอำนาจเดิมของพวกเขาจากกรุงอิสตันบูล  ก็เกิด Pasya และเหล่าทหารของอุสมานีย์  สองกลุ่มนี้ได้พยายามอย่างที่สุดเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจของพวกเขา มุฮัมมัด อาลี ปาชา  ได้ใช้การเปรียบเทียบจากคนทั้งสอง  ความรู้สึกโกรธแค้นของพวกอิยิปต์ที่มีต่อมัมลูกสามารถที่จะตอบสนอง  กองทัพที่ถูกนำโดยท่านนั้นมิใช่คนตุรกีแต่เป็นคนจากอัลเบเนีย ด้วยสองประการนี้ได้ทำให้ฐานะของท่านเข้มแข็งมากขึ้นเพท่อเข้าแย่งอำนาจ

มุฮัมมัด อาลี ปาชา เริ่มต้นด้วยการบดขยี้ของพวกที่ออ่นแอก่อน แม่ทัพที่ถูกสั่งโดยสุลต่านเข้าล้อมไว้ มุฮัมมัด อาลี ปาชา มอบตัวและถูกบังคับให้กลับอิสตันบูล มูฮัมมัด อาลี ปาชา ได้แต่งตั้งตนเองเป็น Paya คนใหม่และคนสุดท้าย จำเป็นสำหรับสุลต่านอุสมานีย์ ต้องยอมรับในปี 1805

เมื่อได้กุมอำนาจอย่างเด็ดขาดที่อียิปต์ ท่านก็เริ่มทำลายกลุ่มต่างๆ ที่อาจจะต่อต้านอำนาจของท่าน โดยเฉพาะพวกมัมลูก เมื่อความลับแตกขึ้นมาว่าพวกมัมลูกพยายามที่จะสังหาร มุอัมมัด อาลี ปาชา แต่ท่านก็รู้ตัวเสียก่อน ดังนั้นผู้นำของมัมลูกก็ถูกจับและถูกห่าและท่านก็ได้ยกเว้นคนอื่นๆและครั้งหนึ่งได้ตัดสินพวกมัมลูกให้มีการฉลองที่ภูเขา Makattan เมื่อทุกคนได้เข้าเรียบร้อยแล้วประตูก็ถูกปิดและก่อนงานฉลองจะเสร็จสิ้น ท่านก็ได้สัญญาเพื่อฆ่าทุกคนที่อยู่ในงานฉลองนั้นตามเรื่องจาก 470 กลุ่มของพวกมัมลูกมีเพียงคนเดียวที่สามารถหนีและเอาตัวรอดได้ โดยการปีนกำแพงแล้วโดดลงมา ม้าของเขาได้ตายไปแต่เขาก็สามารถหนีด้วยความปลอดภัย พวกมัมลุกที่อยู่ชานเมืองไคโร ก็ถูกต้อนส่วนหนึ่งก็ถูกฆ่าและส่วนน้อยที่สามารถหนีเอาชีวิตไปยัง ซูดาน ปลายปี 1811 อำนาจของมัมลูกในอียิปต์ก็หมดลง

ขณะนั้นมุฮัมมัด อาลี ปาชา มีอำนาจเต็ม และได้เป็นสุลต่านอย่างเป็นทางการที่อียิปต์และประชาชนชาวอียิปต์เองก็ไม่มีองค์กรที่มีกำลังพอที่จะต่อต้านอำนาจของ มุอัมมัด อาลี ปาชา ดังนั้นท่านปกครองแบบเผด็จการ

และทั้งสองอย่างนี้เทียบเหมือนกษัตริย์อื่นของอิสลาม ที่ได้ให้ความสำคัญกับการทหารเพราะเขามีความเชื่อมั่นว่าการที่จะรักษาโค่นอำนาจและการขยายอณาเขตนั้นจะต้องใช้ความเข้มแข้งของทหารแต่กษัตริย์แตกต่างจากกษัตริย์อื่นที่เชื่อว่าเบื้องหลังความเข้มแข็งของทหารนั้นจำเป็นต้องมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจด้วยที่จะต้องใช้จ่ายทางด้านทหารและพัฒนาทางด้านต่างๆของทหาร ดังนั้นจึงมี 2 ประการที่จำเป็นสำหรับ มูฮัมมัด อาลี ปาชา คือ ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและความเจริญทางด้านการทหารและทั้งสองอย่างนี้จำเป็นต้องใช้วิทยาการสมัยใหม่ที่แพร่หลายมาจากยุโรป

ทรัพย์สินของพวกมัมลูกท่านก็ได้ทำลายจนหมดสิ้นและทรัพย์สินของเศรษฐีชาวอียิปต์ท่านก็ได้ครอบครอง จนกระทั่งความมั่งคั่งของอียิปต์ได้ตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของเขา อียิปต์เป็นประเทศเกษตรกรรมและเพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรดีขึ้นในการนี้ท่านได้พัฒนาระบบชลประทานแบบใหม่มาแทนแบบเก่า นำการปลูกนุ่นจากอินเดียและซูดาน(1821-1822)และนำผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรจากยุโรปมาเพื่อสอนเกษตรเพื่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ท่านได้ปรับปรุงทางด้านการคมนาคมขณะเดียวกันนั้นท่านก็ได้ทดลองให้อุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่อียิปต์ขึ้น แต่ไม่สำเร็จเพราะขาดผู้เชี่ยวชาญและขาดตลาดที่รองรับ

ถึงแม้ท่านเป็นตนที่ไม่มีการศึกษาแต่ท่านรู้ถึงความสำคัญของการอบรมและวิชาความรู้เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศหนึ่งประเทศใด ในการนั้นเขาได้รับอิทธิพลจากเรื่องราวของผู้ยิ่งใหญ่ที่อยู่รอบๆท่าน เกี่ยวกับพื้นฐานและสิ่งใหม่ๆที่ดำเนินการโดยนโปเลียนสำหรับการสนับสนุนทางด้านวิชาการนั้นท่านตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเมืองแรกที่อียิปต์เขาเปิดโรงเรียนทหาร ปี 1815 โรงเรียนเทคนิค 1816 และโรงเรียนการแพทย์ 1827 อาจารย์ทั้งหลายเอามาจากตะวันตกและความไม่รู้เรื่องภาษาอาหรับจึงต้องใช้คนแปลที่มาจากอาหรับและตุรกี นอกจากเอาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายจากยุโรปแล้ว ท่านได้ส่งนักศึกษา 311 คน ไปยังอิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษ และออสเตรีย ที่ปารีสได้ก่อตั้งบ้านอียิปต์เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง คือ วิชาการทหารบกและทหารเรือ สถาปนิกแพทย์ เภสัช วิชาดังกล่าวมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับวิชาทหาร

นอกจากทหารแล้วท่านยังให้ความสำคัญกับความรู้เกี่ยวกับการบริหารประเทศแต่ระบบการเมืองจากยุโรปมิได้ดึงดูดความสนใจของท่านเลย ท่านปกครองด้วยระบบเผด็จการเหมือนเดิม ท่านมีที่ปรึกษาทางการเมือง และการตัดสินขั้นสุดท้ายตกอยู่ที่มือของท่านอยู่ดี นักศึกษาที่ท่านส่งไปยุโรปไม่สามารถที่จะก้าวไปข้างหน้าได้ ซ้ำยังถูกห้ามไม่ให้ศึกษาวิชาทางการเมือง นักศึกษาที่ชี้ถึงว่าที่ยุโรปเขาเรียนเกี่ยวกับการเมืองและพูดว่า“ที่นี่ฉันเป็นผู้ปกครองไม่กลับไปและแปลหนังสือทหารและตอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแปลหนังสือของ Machiavelli เกี่ยวกับสาเหตุของการพัฒนาการและความล่มสลายของประเทศใดประเทศหนึ่งและวิธีป้องกันการล่มสลายของประเทศ”เขาได้กล่าวว่า “ได้ 40 แผ่นแล้วที่คุณได้แปลจากหนังสือเล่มนี้”แต่ฉันไม่มีอะไรใหม่ ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งปรกติ Machivavelli หนังสือคุณนั้นจำเป็นแปลอีกต่อไป

ในการนี้ได้บ่งชี้ถึงความต้องการที่แท้จริงของ มูฮัมมัด อาลี ปาชา ความรู้เกี่ยวกับการปกครอง การทหาร และเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนให้ท่านรักษาซึ่งอำนาจนั้นท่านไม่ต้องการจากคนที่ท่านส่งไปยุโรป ดังนั้นนักศึกษาทั้งหลายอยู่ภายใต้ผู้ดูแลอย่างรัดกุม พวกเขาไม่มีเสรีภาพในการเคลื่อนไหวที่ยุโรปเลยแต่ด้วยการรู้ภาษายุโรป โดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศส และด้วยการอ่านหนังสือและงานเขียนของชาวตะวันตก เช่น วอลแตร์ รุสโว มองเตสกีเออร์ และอื่นๆ จึงเกิดความคิดใหม่เกี่ยวกับประชาธิปไตย สภาผู้แทนราษฎรเข้าระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญ เสรีทางความคิด การขยายตัวทางความคิดของชาวตะวันตก เปรียบเทียบกับความคงที่ของตะวันออก รักแผ่นดินเกิด ความยุติธรรมทางสังคมและอื่นๆขณะที่วิชาการ เทคนิค ปรัชญาการอบรม โลก(แนวคิดการปฏิวัติของ ดาวิน)ทางด้านสังคมวิทยาและอื่นๆเป็นต้น

ลำดับแรกทำความรู้จักกับแนวความคิดและความรู้ใหม่ๆนี้สำหรับผู้ที่เคยไปยังยุโรปเท่านั้น และผู้ที่รู้ภาษาตะวันตกหลังจากนั้นความเข้าใจนี้เริ่มเข้าสู่คนที่ไม่รู้ภาษาตะวันตก เริ่มแรกด้วยการเข้าไปคลุกคลีกับนักศึกษาที่กลับมาจากยุโรปและหลังจากที่มีแปลตำราตะวันตกเป็นภาษาอาหรับ

ผู้แปลตำราต่างประเทศมาเป็นภาษาอาหรับอันดับแรกให้มีความเหมาะสมกับโรงเรียนที่ก่อตั้ง โดยมูฮัมมัด อาลี ปาชา นอกจากโรงเรียนทหาร เทคนิคการแพทย์ในปี 1834 โรงเรียนเกษตรกรรม ในปี 1836 โรงเรียนขุดดีบุก อาจจะพูดได้ว่าโรงเรียนแบบนี้เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นโลกอิสลามที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับโรงเรียนระบบดั้งเดิมที่มีอยู่ในขณะนั้น โรงเรียนระบบดั้งเดิมหรือระบบเก่านั้นสอนแต่เพียงความรู้ทางศาสนา 3 ปัญหาหลักที่เผชิญในขณะนั้นก็คือปัญหาครู นักศึกษา และตำรา

เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูท่านได้ส่งนักศึกษาไปยังยุโรปนักศึกษาเหล่านั้นถูกล่อด้วยค่าจ้างที่สูง พวกเขาได้โปรแกรมการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ซึ่งแตกต่างกับโปรแกรมการเรียนของระบบเก่าหรือ Madrasah ตำราที่ใช้ในการเรียนรู้ที่ยุโรปถูกแปลเป็นภาษาอาหรับโดยผู้แปลที่มีความเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศและผู้ที่ทำงานที่สภาของ มูฮัมมัด อาลี ปาชา โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างๆและนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ที่ยุโรปเป็นที่แน่นอนว่าวิธีที่ใช้ในการแปลนี้ไม่ได้ผลเท่าที่ควรเพราะผู้แปลไม่ใช่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในความที่มีอยู่ในตำราที่ถูกแปลนั้นจึงไม่มีความสมบูรณ์และเพราะบางครั้งผู้แปลเป็นผู้แปลที่ทำงานเสริมผู้แปลทำงานด้วยความล่าช้า ในเรื่องนี้ถูกกล่าวขานว่า กลุ่มนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษา และกลับจากยุโรป ทุกคนถูกกักขังให้อยู่ภายในกำแพงใกล้ราชวังของ มุฮัมมัด อาลี ปาชา และใหตำราต่างๆเพื่อแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอาหรับ

ผู้แปลตำราเริ่มแปลอย่างาบรื่นและรวดเร็วเมื่อได้ก่อตั้งโรงเรียนแปลตำราปี 1863ระยะเวลาไม่นานต่อมาโรงเรียนได้มอบให้กับผู้นำ Rifaah Al-Tahtawi ซึ่งเป็นผู้อุลามะในมหาลัย Azhar เคยเคยศึกษาที่ Paris และต่อมาได้อิทธิพลทางความคิดตะวันตกที่อียิปต์ ที่โรงเรียนที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆความพยายามของผู้แปลก็เริ่มเห็นผลดีในระยะสั้น ประเภทของผู้แปลที่โรงเรียนนี้ได้แบ่งเป็น4  ประเภทความรู้คณิตศาสตร์ ความรู้ประเภทการแพทย์และสรีระวิทยา ความรู้ประเภทศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดเกี่ยวกับตุรกี

ประเภทสุดท้ายที่มีหน้าที่แปลตำราเข็มทิศทหารที่ใช้โดยแม่ทัพของตุรกีที่ปรากฏในกองทัพของ  มูฮัมมัด อาลี ปาชา ที่สำคัญในบรรดาประเภทความรู้ดังกล่าวสำหรับแผ่ขยายความคิดตะวันตก  คือ ความรู้ประเภทศาสตร์ จากตำราต่างๆ ที่ถูกแปลนั้นก็มีตำราเกี่ยวกับปรัชญา  ชีวประวัติบุคคลสำคัญของประเทศยุโยป   logika ธรณีวิยา การท่องเทียว การเมือง มนุษย์วิทยา  และอื่นๆ ในปี 1841 ตำราประวัติศาสตร์กษัตริย์ของฝรั่งเศสก็แปลที่มีเนื้อหาหาครอบคลุมการปฏิวัติฝรั่งเศสและอีกเล่มที่ลักษณะคล้ายกันก็ถูกแปลเช่นกันในปี  1847  ตำราทั้งสองนี้มีความสำคัญทางแนวคิดในการที่จะล้มล้างสถาบันกษัตริย์ที่ปกครองแบบเผด็จการและทดแทนด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตย  ความพยายามที่ดำเนินโดยผู้นำแนวหน้าของอิสลามเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจของกษัตริย์อิสลาม  ความเคลื่อนไหวของพวกเขาถูกเรียกว่า  ความเคลื่อนไหวของรัฐธรรมนูญ

จากผู้แปลตำรายุโรปนี้  คนอียิปต์ก็เริ่มเป็นที่รู้จักของคนตะวันตก ประเภทต่างๆที่ถูกค้นพบโดยคนตะวันตกที่ตะวันออกไกลและอเมริกา โลกทัศน์ของตำราตะวันตกนั้นมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับโลกทัศน์ที่เขาได้สัมผัสจากตำราที่เขียนโดยคนอิสลามในสมัยคลาสสิกและพวกเขาก็เริ่มรู้จักปรัชญากรีก เสรีภาพในความคิด ซึ่งเป็นรากบานของปรัชญากรีก ขนบธรรมเนียมประเพณีของตะวันตก ที่มีความแตกต่างกับกับขนบธรรมเนียมของอิสลามก่อนหน้านั้นคนมุสลิมกับคนตะวันตกก็คือ คนฝรั่งเศสเท่านั้นแต่ถึงตอนนี้พวกเขาก็เริ่มรู้ว่า คนตะวันตกก็มีหลายเชื้อชาติ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ อิตาลีและ อื่นๆเปรียบเทียบกับความเคลื่อนไหวของผู้แปลตำราใน คริสต์ศตวรรษที่ 9 การสังเกตความเคลื่อนไหวของผู้แปลตำราในศ.ที่ 19 นั้นมีข้อจำกัดคือ  ในเรื่องเทคนิค และเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น กฎข้อบังคับ ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องปรัชญา ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ความเคลื่อนไหวของผู้แปลตำรานั้นกว้างขวางมาก ครอบคลุมวิทยาการความรู้ของกรีก ตรรกวิทยาและวิชา คณิต วิชาสัตว์ศาสตร์ วิชาดาราศาสตร์และวิชาปรัชญา

ข้อแตกต่างที่แตกต่างอย่างมากระหว่างทั้งสองความเคลื่อนไหวนี้ก็คือ ความเคลื่อนไหวในศ.ที่ 9 เกิดขึ้นในสมัยที่ประชาชาติอิสลามอยู่ในสถานการณ์ที่ร่ำรวยและกำลังเจริญ แต่ตะวันตกในสมัยนั้นยังอยู่ในยุคมืด ในสถานการณ์ดังกล่าววิชาความรู้ที่ได้จากตำรากรีกนั้นเริ่มเข้าสู่ประชาชาติอิสลามอย่างรวดเร็ว

ความเคลื่อนไหวของผู้แปลตำรา ใน คริสต์ศตวรรษที่ 19 เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ตรงกันข้ามกับโลกของอิสลามอยู่ในภาวะที่ที่ถดถอยล้าสมัย ในขณะที่ตะวันตกอยู่ในภาวะที่เจริญผู้แปลตำราใน คริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้นไม่สามารถนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่โลกอิสลามดังเช่นในศตวรรษที่ 9 ในสมัยก่อนหน้านั้น  โลกอิสลามนี้แหละที่มีความเจริญสูงสุดอาจจะพูดได้ว่าไม่มีอาณาจักรที่จะเทียบเคียงได้  แต่พอมาถึงใน คริสต์ศตวรรษที่ 19  โลกอิสลามมีประเทศหรืออาณาจักรที่มาเทียบเคียงกันหลายประเทศนั้นก็คือโลกตะวันตกที่ความเจริญของพวกเขานั้นเริ่มขยายขึ้นเรื่อยๆ  ในสมัยปัจจุบันนั้นโลกอิสลามมีความเจริญขึ้นนิดหน่อย  แต่โลกตะวันตกก็เจริญขึ้นอีกเป็นหลายเท่าตัวจนกระทั่งความแตกต่างระหว่างทั้งสองอารยะธรรมนี้ยังคงเหมือนเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับ 100 ปีที่ผ่านมา

มูฮัมมัด อาลี ปาชา เปรียบเสมือนคนแรกที่จัดตั้งที่โปรยทาง  เกิดสมัยใหม่ที่อิยิปต์  ผมไม่เห็นด้วยกับความคิดของ  Brockelman  ที่ว่ามูฮัมมัด อาลี ปาชา จะปรากฏตัวเป็นครูเป็นผู้ครอบครองที่ยิ่งใหญ่ของอิสลามในยุคหลัง  ตั้งแต่แรกโดยคิดว่าความคิดนั้นโดยกษัตริย์ผู้ครอบครองของอิยิปต์  ตามคำพูดนั้นเป็นไปได้ที่อิยิปต์จะตกอยู่ในการควบคุมจะไม่แบ่งแยกเหมือนกษัตริย์สมัยก่อน  ความคิดทั้งหมดของการปกครองเป็นไปได้ที่จะลบล้างทั้งหมด  ตำแหน่งงานทั้งหมดเป็นไปได้ที่ต้องหยุดพักและมีความเป็นไปได้ที่จะมีคนที่เชื่อมั่นว่าคนที่กุมสมบัติต่างๆนั้นจะใจกว้างต่อสังคม  ราษฎรจะได้รู้ได้เห็นการปกครองที่สามารถจะขอความช่วยเหลือได้  หลังจากนั้น  มูฮัมมัด อาลี ปาชา  เข้ารับการสาบานตนเพื่อที่จะเข้ารับการปกครองเมืองใหม่ตามที่ตนเองได้ให้ตามคำพูดเขาได้รับการยอมรับจากประชาชนเพื่อไปปกครองเมืองเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย

เพื่อที่จะทำให้มีความใฝ่ฝันอันนั้นประการแรกของเขาคือ  ต้องผูกความเป็นอิสระของประชาชนเขาผลักดันที่ว่าความสามารถของมนุษย์สามารถที่จะทำอะไรก็ได้ตามที่เขาคิดเขาครอบครองการอบรมสั่งสอนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและกลุ่มของพวกนั้น  และต้องคอยดูแลความปลอดภัยและต้องคอยตักเตือนคนที่จะทำผิดหุกม

มูฮัมมัด อาลี ปาชา  ได้แจ้งไห้กระจ่างว่าสิ่งที่จำเป็นต้องทำก็คือต้องทำให้ตนมีความเข้มแข็งเพื่อที่จะเข้าไปให้ถึงจุดประสงค์และไม่ใช่ว่าการควบคุมดูแลพวกเขานั้น  เขานั้นแหละผู้ก่อตั้งโรงเรียน  ก่อตั้งทหารที่จะรบในระดับประเทศและได้พยายามวางระเบียบ  การปกครอง  และพร้อมจากนั้นก็ได้จัดตั้งคณะที่จะดูแลเพื่อที่จะย่อความคิดของคนภายในประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเพื่อจะให้แนวทางแก่ประชาชนในอิยิปต์เพื่อเผยแผ่ความคิดสมัยใหม่ในอนาคต

เขาไม่รู้ถึงวิถีชีวิตทางการเมือง  สิ่งเดียวที่เขาทราบนั้นคือการร่วมมือกันเพื่อมนุษยธรรม  ที่เป็นการรวมตัวกันที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสิ่งนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างชาติและคุณภาพของประชากรในรัฐนั้นๆ  ในเรื่องนี้ มูฮัมมัด อาลี  แพคตริก  คาเตอรีน และกามัลอตาเตอร์  ต่างก็มีความเห็นที่ตรงกัน

มูฮัมมัด อาลี ปาชา  มั่นใจว่ามีทางเดียวที่จะฟื้นฟูประชาชนให้มีคุณภาพได้นั้นคือ  การตามความทันสมัยของตะวันตก  ซึ่งเป็นค่านิยมของโลกปัจจุบัน  บรรดาพวกมุสลิมไม่เคยหวังที่จะรับความคิดของสังคมตะวันตก  ปรัชญาของมูฮัมมัด อาลี ปาชาได้รับความยกย่องดังต่อไปนี้ “สร้างพลังเหล็ก  ความรู้  และความร่ำรวย  เพื่อสร้างความเจริญที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้  สังคมควรได้รับแนวทางที่ได้กระทำโดยชาติอื่น (กล่าวคือ  ความพร้อมเพื่อความร่วมมือกับชาติอื่นๆ)  สอง  สังคมควรพร้อมให้ความร่วมมือด้วย  สาม  สร้างนักปรัชญาในสาขาต่างๆ  ในการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ  ที่สามารถชี้ถึงคุณภาพหรือประโยชน์ต่างๆ  สิ่งประดิษฐ์ทุกอย่างนั้นจะอยู่กับสังคมตลอดไป  เพื่อสร้างความเจริญและความทันสมัย”

อัลตัฮตาวีย์  กล่าวว่า  มูฮัมมัด อาลี ปาชา  ไม่มีอะไรที่เหนือกว่านอกจากการร่วมมือกันกับคนอื่นหรือประเทศอียิปต์และสร้างความร่วมมือกับชาติอื่นๆ  เพื่อเผยแพร่ความดีงามและการแข่งขันในความทันสมัย

ในช่วงต้นของการปกครองนั้นเขาได้ใช้การปกครองแบบแข็ง (เผด็จการ)  เพื่อที่จะให้ประชาชนอยู่ในกฎและจะให้ประชาชนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลานี้  ปีนี้เองเป็นปีที่มีการเชิญชวน  (ดะอฺวะฮฺ) ความเข้มแข็งและการก่อตั้งที่ตัวของเขาเองไม่รู้ความสุขสบาย  เขากล่าวว่า  “ผมไม่มีความสุขในเวลาที่ผมมีชีวิตอยู่นั้นประวัติของผมเริ่มต้นตั้งแต่ผมได้รับการปลดปล่อยจากการที่ผมได้ผูกมัดตัวเองและเริ่มฟื้นฟูอุมัตของผมจากที่หลับเป็นเวลาที่ยาวนาน” การปกครองที่แข็งในช่วงแรกเปรียบเสมือนการปกครองที่ผิดเพราะความอิจฉาของ Al-jabarti เขาได้เขียนว่า “มูฮัมมัด อาลี คือถ้ายกตัวอย่างอัลลอฮฺ บรรดาให้ความเสมอภาคแก่ฉัน ในวินาทีที่ฉันได้รับการปกครองฉันอยากจะทำทั้งหมดให้ประชาชนภูมิใจในตัวของฉัน” (นูรุดดีน สารีมิง, 2546:7-12)


ที่มา: anuchamas.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด