การกำเนิดของราชวงศ์อุษมานียะห์ (ออตโตมาน)


16,710 ผู้ชม

อาณาจักรออตโตมาน หรือ อุษมานียะห์เป็นประวัติศาสตร์อิสลามช่วงหนึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 600 ปี ที่มุสลิมไม่ควรลืมเพราะ....


การกำเนิดของราชวงศ์อุษมานียะห์ (ออตโตมาน)

อาณาจักรออตโตมาน หรือ อุษมานียะห์เป็นประวัติศาสตร์อิสลามช่วงหนึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 600 ปี ที่มุสลิมไม่ควรลืมเพราะ เป็นช่วงของอิสลามได้ขยายเข้าสู่ยุโรป พิชิตเมืองคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ กษัตริย์แห่งราชวงศ์อุษมานียะห์ที่น่ากล่าวถึง เช่น สุลต่านเมห์เมด อัลฟาเตะห์ ซึ่งน่าจะเป็นอามิร์ที่ดีที่สุด ตามที่ศาสดามุฮำหมัดได้กล่าวความว่า “แท้จริงกรุงคอนสแตนติโนเปิลจะถูกพิชิตโดยพวกเจ้า และแท้จริงอะมีรที่ดีที่สุดคืออามิร์ที่สามารถพิชิตมันและแท้จริงกองทหารที่ดีที่สุดคือกองทหารของอามิร์นั้น”

พวกออตโตมานเป็นชนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นชนเผ่านักรบที่ดุร้ายมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ตะวันออกไกลและเอเชียกลาง ซึ่งบรรพบุรุษของพวกนี้ได้อพยพมาสู่ตะวันตก พวกซีเรียน ฮั่น มงโกล และตาตาร์ ก็ล้วนมีถิ่นดั้งเดิมมาจากบริเวณทุ่งหญ้าแห่งเอเชียตะวันออกและเอเชียกลางทั้งสิ้นเนื่องจากพวกออตโตมานใช้ม้าและธนูจึงทำให้พวกนี้เคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วสามารถโจมตีข้าศึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสถาปนาอาณาจักรออตโตมานได้เริ่มจากการที่ชาวเติร์กมันเผ่าต่าง ๆ ได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนอนาโตเลียเป็นจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะหลังสงคราม มาลาเกร์ต (Malazkirt) ในปี คศ.1072 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างชาวเซลจูกกับอาณาจักรใบแซนทีน

สุไลมาน ซาห์ ได้สถาปนารัฐเซลจูก แยกต่างหากจากอาณาจักรเซ็ลจูกที่ยิ่งใหญ่ (Great Selijuks) ท่านได้รวบรวมดินแดนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน สุไลมาน ซาห์มีบุตรชาย 4 คน บุตรคนที่ 3-4 คือแอร์ตุฆรุล และดุนดาร์ ได้นำพรรคพวกเข้าไปในอนาโตเลียและได้รับความอนุเคราะห์จากสุลต่านอลาอุดดีนไกกุบาดที่ 1 (Ala-ud-Din-Keykubad) แห่งราชวงศ์เซลจูกอันยิ่งใหญ่ หลังจากที่สุลต่านแอร์ตุฆรุลสิ้นพระชนม์เมื่อ ปี ค.ศ. 1288 บุตรแอร์ตุฆรุลคืออุษมาน คาน (Uthman Khan) ได้ขึ้นมาสืบทอดต่อไป

การสืบทอดทรัพย์สินของครอบครัวและตำแหน่งผู้บัญชาการทหารของสุรต่านเซลจูก ซึ่งในเวลานั้นคือสุลต่านเฆียซุดดีน คอยคุสโร ด้วยความกล้าหาญและความชาญฉลาดของอุษมาน สุลต่านเซลจูกได้ยกลูกสาวให้แต่งงานกับอุษมาน

อุษมานได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้นำพรรคพวกเป็นอย่างดีและในตำแหน่งแม่ทัพหน้าของสุลต่านแห่งเซลจูกรูมีด้วยความกล้าหาญและซื่อสัตย์ สุลต่านจึงพระราชทานนามว่า “อุษมาน เบย์”

หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรเซลจูก เนื่องจากถูกรุกรานโดยชาวมงโกล กลุ่มต่าง ๆ ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ รวมทั้งพรรคพวกของอุษมานก็ได้ตั้งรัฐอิสระและได้ประกาศตนเป็น “ปะดีซะห์” อุษมานที่ 1 (อุษมานกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่) เป็นการสถาปนาอาณาจักรออตโตมานขึ้นเมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 1288 ท่านได้แผ่ขยายอาณาจักรอย่างกว้างขวาง สามารถปราบพวกโรมันและตาร์ตาร์ ซึ่งเคยเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สุดของมุสลิมได้สำเร็จ และท่านได้ทิ้งร่องรอยของความยิ่งใหญ่ของอุษมานียะฮในรูปของสถาปัตยกรรม คือมัสยิด บลูมอสค์หรือมัสยิดสีฟ้าที่ยิ่งใหญ่ ณ กรุงอิสตันบูล

อาณาจักรอุษมานียะฮได้แผ่ขยายไปยัง โคตาเมีย (kotahia) ในทางตอนใต้และชายฝั่งของทะเลดำในทางตอนเหนือและแม่น้ำยูเฟรติสทางตะวันออกไปจนถึงช่องแคบยิบรัลตา ทางทิศตะวันตก หลังจากการพิชิตดินแดนกรีกออสเตรีย ฮังการีบางส่วนไว้ได้แล้ว สุลต่านก็รุกคืบหน้าต่อไปเรื่อยจนดูเหมือนว่าในไม่ช้ายุโรปทั้งหมดจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของมุสลิม ในช่วงเวลาอันวิกฤตนั้นเองที่จักรพรรดิโรมันสามารถยุยงตัยมูร์ ลิงก์ (Taimur Ling) ให้ต่อต้าน สุลต่านได้ประสบผลสำเร็จ ตัยมูร์ลิงก์ได้เข้ารุกรานอาณาจักรอุษมานียะฮ สุลต่าน บายะซีด ต้องประสบความพ่ายแพ้ในการทำสงครามและถูกจับเป็นเชลยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา (บรรจง บินกาซัน 2544 : 102)

ภายใต้แผนการชั่วร้ายของตะวันตก ความเฉื่อยชาของสุลต่าน และความขัดแย้งภายในอาณาจักรเอง ออตโตมานถูกโจมตีและยึดจังหวัดหรือแคว้นต่างๆ จนออตโตมานไม่สามารถรักษาความยิ่งใหญ่ได้และต้องเสื่อมอำนาจและล่มสลายในปี ค.ศ. 1922

ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอุษมานียะห์ เดิมจากเผ่าฆัซซาจากเชื้อชาติตุรกี ซึ่งได้อาศัยอยู่ในมองโกลทางตอนเหนือของประเทศจีน พวกเขาได้ทิ้งประเทศดั้งเดิม และอพยพไปยังประเทศตุรกีสถาน และได้รวมกับเผ่าพันธุ์จากประเทศเปอร์เซียที่เดินทางมาจากเอเซีย พวกเขาได้รับอิสลามตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 และ 10 ได้อาศัยอยู่ในเอเชียกลาง ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 - 13 หลังจากนั้นได้อพยพผ่านเปอร์เซียและอิรัก

สุดท้ายได้ตั้งหลักที่แม่น้ำอัลฟูรอต เพื่อที่จะหลีกห่างจากการสู้รบของมองโกลซึ่งเคยรบกับเอเชียกลางและเอเชียตะวันตกอยู่ภายใต้การนำของแม่ทัพที่รู้จักกัน คือ เจ่งกีสข่าน หลังจากนั้นพวกเขาได้อพยพไปยังอาเซอร์ไบจานและอามีเนีย (Arminia) จนถึงเอเชียน้อย ภายใต้ผู้นำของแอร์ตุฆรูล บุตรสุไลมาน ชาห์ เป็นชนเผ่ากาเยอ (Kayi) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของเผ่าโอฆุส ซึ่งมีจำนวน 100 ครอบครัว ภายใต้คุ้มครอง 440 คน ทหารม้า (ฮาซัน นิอมาตุลลอฮ. 1418 : 1-2)

แอร์ตุฆรูล ได้นำพวกเขาถึงอนาโตเลียก็ได้ขออนุญาตจากสุลต่านอลาออุดดีนไบกุบาด สุลต่านแห่งเซลจูกรูมี (เซลจูกแห่งอนาโตเลีย) ผู้มีอำนาจในยุคนั้นให้พวกตนได้ทำมาหากินและเลี้ยงสัตว์ในดินแดนของสุลต่าน สุลต่านก็ได้อนุญาต ขณะเดินทางเพื่อสู่ดินแดนที่สุลต่านอนุญาตนั้น แอร์ตุฆรูลต้องหยุดชะงักเมื่อไดพบการสู้รบระหว่าง 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีทหารจำนวนมาก อีกฝ่ายหนึ่งมีทหารจำนวนน้อย แอร์ตุฆรูล ได้ตัดสินใจเข้าสมทบกับฝ่ายที่มีทหารน้อยกว่า ทำให้พวกนั้นเกิดกำลังใจฮึดสู้ขึ้นมา พวกที่น้อยกว่านี้ที่แท้ก็คือ ทหารฝ่ายสุลต่านอลาออุดดีน ซึ่งกำลังต่อสู้กับทหารมองโกล เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล เหตุการณ์สู้รบพลิกผันทันที ทำให้ฝ่ายมองโกลไม่สามารถต่อต้านทหารสุลต่านอลาออุดดีนได้ ทหารสุลต่านกลายเป็นฝ่ายรุกจนทหารมองโกลต้องถอยร่นหนีออกไป (ฮาซัน นิอมาตุลลอฮ. 1418 ; 1-3)

หลังจากได้รับชัยชนะ สุลต่านอลาออุดดีนทราบข่าวพอพระทัยเป็นอย่างมากจึงเชิญแอร์ตุฆรูลเข้าเฝ้าในพระราชวัง สุลต่านทรงมอบเสื้อผ้าให้ มอบดินแดนให้กว้างขวางกว่าเดิม และทุกครั้งที่มีสงครามก็จะมีทหารแอร์ตุฆรูลเข้ามาสมทบกับทหารสุลต่าน ทุกครั้งที่เข้ารบก็ได้รับชัยชนะทุกครั้ง สุลต่านก็มอบดินแดนเพิ่มเติม ทำให้พวกเขามีทรัพย์สินเพิ่มเติมมากขึ้น ทหารของแอร์ตุฆรูลได้รับสมญานามจากสุลต่านว่า "มูก็อดดามะฮสุลต่าน (Mugadamah Sultan)" หมายถึงทัพหน้าของสุลต่าน เป็นกองหน้ากล้าตายให้กองทัพสุลต่าน (ดลมนรรจน์ บากา และมูหะมมัดรอฟลีแวหะมะ, 2542: 3)

ในปี ฮ.ศ. 687 ตรงกับ ค.ศ. 1280 แอร์ตุฆรูลได้เสียชีวิต สุลต่านอลาออุดดีนเห็นว่า อุษมาน บุตรแอร์ตุฆรูล มีความกล้าหาญและเข้มแข็งในการรบ น่าจะเป็นผู้นำต่อไปได้ จึงให้อุษมานเป็นผู้นำแทนบิดาต่อไป

อุษมานเป็นผู้ก่อตั้งรัฐอิสลามในสมัยหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "อาณาจักรอุษมานียะห์" (ราชวงศ์อุษมานียะห์) และได้ก่อตั้งขึ้นในปี 687 ฮิจเราะห์ศักราช และได้ใช้บทบาทในการนำประชาชาติอิสลามและโลกอิสลามถึง 6 ศตวรรษ พื้นที่การปกครองจากบูดาฟีซริมตลิ่งแม่น้ำดาตู จนถึงอัศวานที่ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์ที่อียิปต์ และจากแม่น้ำอัลฟูรอต จนถึงภูเขายิบรอตาร์ (Gibratar) ทางตอนเหนือของประเทศโมรอคโค

อุษมานรับตำแหน่งแม่ทัพหน้าของสุลต่านแห่งเซลจูกรูมีด้วยความยินดีและซื่อสัตย์ ทหารของอุษมานยังเป็นทัพหน้าเหมือนเดิมด้วยความเคารพเชื่อฟัง ซื่อสัตย์ต่อสุลต่าน และมีความสามารถในการรบ สุลต่านจึงพระราชทานนามว่า "เบย์" (Bey) ต่อท้ายเป็น "อุษมาน เบย์" สุลต่านยังได้มอบดินแดนเพื่อปกครองให้กว้างขวางออกไปอีก และอนุญาตให้อุษมานใช้เงินตราของตนเองได้ อุษมานยังสามารถเรียกชื่อตนในคุฎเบาะฮวันศุกร์ จึงจึงนับว่าอุษมานเป็นกษัตริย์องค์หนึ่ง แต่เป็นกษัตริย์ที่ไร้พระราชวัง

หลังจากอาณาจักรเซลจูกรมีความพ่ายแพ้กองทัพมองโกลในสมรภูมิโกแสดาฆ (Kosedag) ในปี ค.ศ. 1243 จึงตกเป็นรัฐใต้อาณัติของมองโกล และล่มสลายไปในที่สุดในปี ค.ศ. 1308 อุษมานจึงแยกตัวเป็นอิสระและได้ประกาศตนเป็น "ปะดีชะห์อุษมาน (Pardisyah al Osman)" มีความหมายว่า "อุษมานกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่" ปะดีชะห์อุษมานได้เลือกเมืองโซฆุต เป็นเมืองหลวง พระองค์ได้พัฒนาการทหาร พัฒนากองทัพให้เข้มแข็ง พัฒนาดินแดนให้เจริญยิ่งขึ้น ปกป้องดินแดนให้มั่นคงจากการรุกรานจากอริราชศัตรู หลังจากนั้นปะดีชะห์อุษมานได้ส่งสาส์นไปยังแคว้นต่างๆ ในแถบเอเชียน้อยประกาศว่า "ตนเป็นปะดีชะห์ที่ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียน้อย" และเรียกร้องให้กษัตริย์ต่างๆ หรือผู้นำแคว้นต่างๆ เข้ามาภักดีต่อตน

ปะดีชะห์อุษมานนี้เองเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์อุษมานียะห์หรืออาณาจักรอุษมานียะห์ แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "ปะดีชะห์อุษมานที่ 1" นักประวัติศาสตร์มักเรียกว่า "สุลต่านอุษมานที่ 1” จึงนับว่าพระองค์เป็นสุลต่านองค์แรกแห่งราชวงศ์อุษมานียะห์ พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1326 (ดลมนรรจน์ บากา และมูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ 2542: 3-4)

และอาณาจักรอุษมานียะห์ล่มสลายในปี ฮ.ศ. 1340 การล่มสลายอาณาจักรอุษมานียะห์ก็นับว่าเป็นการสิ้นสุดของรัฐอิสลาม (คีลาฟะฮ อิสลามียะฮ) การล่มสลายในครั้งนั้นเป้นแผนหนึ่งของยิวนานาชาติโดยผ่านองค์กรอัลอิตตีฮาดวาตูรอคี ซึ่งนำโดยมุสตอฟา กามาล อาตาเติกฮ เป็นยิวเชื้อชาติตุรกีซึ่งเขาแปลงสภาพเป็นมุสลิม (ฮาซัน นิอมาตุลลอฮ, 1418 : 4)

การกำเนิดของราชวงศ์อุษมานียะห์ (ออตโตมาน)

รายนามสุลต่านแห่งอาณาจักรอุษมานียะห์ ปีกำเนิด(ค.ศ.) ปีครองราชย์ (ค.ศ.)

1. สุลต่านอุษมานที่ 1 1258 1299 - 1326

2. สุลต่านอรฮันที่ 1 1281? 1326 - 1360

3. สุลต่านมุร็อดที่ 1 1326 1360 - 1389

4. สุลต่านบายาซิดที่ 1 1360 1389 - 1403

5. สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 1 1389 1403 - 1421

6. สุลต่านมูร็อดที่ 2 1403 ช่วงที่ 1 1421 – 1444
ช่วงที่ 2 1446 - 1451

7. สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 2 (มูฮัมหมัดผู้พิชิต) 1432 ช่วงที่ 1 1444 - 1446
ช่วงที่ 2 1451 - 1481

8. สุลต่านบายาซิดที่ 2 1448 1481 - 1512

9. สุลต่านซาลิมที่ 1 1467/1470 1512 - 1520

10.สุลต่านสุไลมานที่ 1 (อัลกอนูนีย์) 1495 1520 - 1566

11.สุลต่านซาลิมที่ 2 1524 1566 - 1574

12.สุลต่านมูริดที่ 3 1546 1574 - 1595

13.สุลต่านเมห์เมดที่ 3 1566 1595 - 1603

14.สุลต่านอะห์เมดที่ 1 1550 1603 - 1617

15.สุลต่านมุสตอฟาที่ 1 ? ช่วงที่ 1 1617 - 1618
ช่วงที่ 2 1622 - 1623

16.สุลต่านอุษมานที่ 2 1604 1618 - 1622

17.สุลต่านมูร็อดที่ 4 1612 1623 - 1640

18.สุลต่านอิบรอฮีม 1615 1640 - 1648

19.สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 4 1642 1648 - 1687

20.สุลต่านสุไลมานที่ 2 1642 1648 - 1687

21.สุลต่านอะห์เมดที่ 2 1643 1691 - 1695

22.สุลต่านมุสตอฟาที่ 2 1664 1695 - 1703

23.สุลต่านอะห์เมดที่ 3 1673 1703 - 1730

24.สุลต่านมะห์มูดที่ 1 1696 1730 - 1754

25.สุลต่านอุษมานที่ 3 1699 1754 - 1757

26.สุลต่านมุสตอฟาที่ 3 1717 1757 - 1774

27.สุลต่านอับดุลอามิดที่ 1 1725 1774 - 1789

28.สุลต่านซาลิมที่ 3 1761 1789 - 1807

29.สุลต่านมุสตอฟาที่ 4 1779 1807 - 1808

30.สุลต่านมะห์มูดที่ 2 1785 1808 - 1839

31.สุลต่านอัลดุลมะญีดที่ 1 1823 1839 - 1961

32.สุลต่านอับดุลอาซีซ 1830 1861 - 1876

33.สุลต่านมูร็อดที่ 5 1840 1876 - 1909

34.สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 1842 1876 - 1909

35.สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 (มูฮัมหมัดเรซาด) 1844 1909 - 1918

36.สุลต่านมูฮัมหมัดที่ 6 (มูฮัฟมัดวะฮีดุดดีน) 1861 1918 – 1922

อ้างจากหนังสือหลักการบริหารในอิสลาม 3

ดาบแห่งอัลเลาะห์ แอนตี้ไซออนิสต์
islamhouse.muslimthaipost.com 

อัพเดทล่าสุด