การทำฮัจย์และอุมเราะห์เป็นความฝันสูงสุดของชาวมุสลิมทุกคน วันนี้ทางมุสลิมไทยโพสต์ ขอรวบรวมข้อมูล 5 ข้อผิดพลาดที่ผู้ทำฮัจญ์ควรระวัง มีอะไรบ้างมาดูกันเลย
5 ข้อผิดพลาดที่ผู้ทำฮัจญ์ควรระวัง
การประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นหนึ่งในหลักอิสลาม ซึ่ง การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำฮัจญ์ คือ การเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺ ในเดือนซุลฮิจญะห์ (เดือนที่ 12 ของปีฮิจเราะห์ศักราช ซึ่ง 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะห์ถือว่าสำคัญมาก) ตามวันเวลา และสถานที่ต่างๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ
การทำฮัจย์และอุมเราะห์เป็นความฝันสูงสุดของชาวมุสลิมทุกคน วันนี้ทางมุสลิมไทยโพสต์ ขอรวบรวมข้อมูล 5 ข้อผิดพลาดที่ผู้ทำฮัจญ์ควรระวัง มีอะไรบ้างมาดูกันเลย....
ข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่ผู้ทำฮัจญ์บางท่านปฏิบัติ
1. ข้อผิดพลาด ในการครองอิหฺรอม
ผู้ทำฮัจญ์ผ่านหรือเลย มีกอต ที่อยู่ในเส้นทางโดยไม่ครองอิฆฺรอมจนกระทั่งถึงญิดดะฮฺ หรือสถานที่อื่นซึ่งอยู่ภายในเขตมีกอตใดมีกอตหนึ่ง แล้วครองอิหฺรอม ณ ที่นั้น ซึ่งมันเลยมีกอตเข้าไป การปฏิบัติเช่นนี้ ถือว่า เป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งท่านร่อซุล ซึ่งท่านร่อซูลได้ใช้ให้ผู้นำฮัจญ์ทุกคน ครองอิหฺรอม ณ มีกอตที่เขาผ่าน
หากบุคคลใดเลยมีกอตโดยไม่ครองอิหฺรอม เขาต้องย้อนกลับไปที่มีกอตที่เขาผ่านมา อีกครั้งหนึ่งเพื่อตั้งเจตนาครองอิหฺรอมในกรณีที่เขาสะดวกที่จะย้อนกลับไป แต่ถ้าหากไม่สามารถย้อนกลับไปได้เขาจำเป็นต้องเสียดัมแทน นั่นคือการเชือดแพะหรือแกะหนึ่งตัว ในขณะที่เขาอยู่ที่มักกะฮฺ โดยบริจาคให้คนยากจนทั้งหมดทั้งนี้ ไม่ว่าเขาจะเดินทางโดยทางบก ทางอากาศหรือทางทะเลก็ตาม
ในกรณีที่มีผู้ทำฮัจญ์ ไม่ผ่านมีกอตใดมีกอตหนึ่ง ทั้ง 5 มีกอตที่ท่านร่อซูลบอกไว้ให้เขาตั้งเจตนาครองอิหฺรอมเมื่อเขาอยู่ตรงหรือขนานกับมีกอตแรกที่เขาผ่าน
มีกอต คือจุดกำหนดสำหรับผู้ทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮฺ
2.1 เริ่มต้นจุดฏอวาฟ
2.2 การฏอวาฟโดยการเดินผ่านข้างใน ”หินโค้งอิสมาอีล” เพราะปฏิบัติเช่นนั้นไม่ถือว่าเป็นการฏอวาฟ ซึ่งเป็นเพียง การฏอวาฟบางส่วนของกะบะฮ์ เท่านั้น เพราะหินโค้งอิสมาอีล เป็นส่วนหนึ่งของกะอฺบะฮฺ และถือว่า การฏอวาฟนั้นโมฆะ
2.3 การฏอวาฟแบบรีบเร่ง เดินทั้งสอง เพราะการเดินแบบรีบเร่งนั้นต้องปฏิบัติในสามรอบแรกของการฏอวาฟกุดูมเท่านั้น
2.4 การเบียดเสียดหรือผลักดันกันเพื่อแย่งที่จะจูบหินดำบางครั้งถึงขั้นทะเลาะวิวาทต่อกัน การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม
– กรณีที่ท่านมิได้จูบหินดำนั้น ไม่ได้ทำให้การฏอวาฟเสียในกรณี ที่ไม่สามารถจูบหินดำได้ ให้ยกมือขึ้นและตักบีร ณ จุดที่ตรงกับหินดับ ถึงแม้ว่าจะอยู่ไกลก็ตาม และถือว่า เป็นการเพียงพอแล้ว
2.5 การลูบหรือจูบหินดำด้วยความเชื่อว่า หินดำนั้น เป็นสิ่ง บารอกะฮฺ การกระทำดังกล่าวเป็นบิดอะฮฺ โดยไม่มีปรากฏในหลักคำสอนของอิสลาม เพราะซุนนะฮฺ นั้นเพียงแค่ใช้มือลูบหรือจูบหินดำเพื่อถวายความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ เท่านั้น
2.6 การสัมผัสหรือลูบด้วยมือทุกมุมของกะอฺบะฮฺหรือผนังของกะอฺบะฮฺนั้นไม่ปรากฏในซุนนะฮฺ เพราะท่านร่อซูล (ซล) สัมผัสหินดำ และมุมอัลยะมานีเท่านั้น โดยไม่ได้สัมผัสกะอฺบะฮฺทั้งหมด
2.7 การเจาะจงดุอาอฺบทใดบทหนึ่งโดย เฉพาะในแต่ละรอบ ของการฏอวาฟไม่ปรากฏในซุนนะฮฺ เพราะท่านร่อซูล อ่านดุอาอฺที่มุมอัลยะมานีเท่านั้น และอนุญาตให้ขอดุอาอฺตามที่ต้องการ
2.8 การขอดุอาอฺด้วยเสียงดังหรือดุอาอฺโดยมีคนนำดุอาอฺในระหว่างการฏอวาฟนั้นเป็นการสร้างความรบกวนคนอื่น
2.9 การเบียดเสียดกันจนทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท เพื่อที่จะละหมาดสองร็อกอะฮฺ หลังมะกอมอิบรอฮีมนั้นเป็นการขัดกับซุนนะฮฺ ด้วยเหตุนี้จึงอนุญาติให้ละหมาดสองร็อกอะฮฺที่ใดในมัสญิดหะรอม
3. ข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินสะแอ
3.1 เมื่อขึ้นไปบนเนินเขาซอฟาและมัรวะฮฺ มีผู้ทำฮัจญ์บางท่านหันหน้าไปยังกะอฺบะฮฺ และชี้มือไปที่กะอฺบะฮฺพร้อมถังกล่าวตักบีรเหมือนกับกล่าวตักบีรในเวลาละหมาด ซึ่งตามซุนนะฮฺนั้น คือการยกมือเหมือนขอดุอาอฺเท่านั้น
3.2 การเดินสะแออย่างเร่งรีบหรือวิ่งในระหว่างภูเขาซอฟาและมัรวะฮฺนั้น ซึ่งตามซุนนะฮฺนั้นการเดินสะแออย่างรีบเร่งนั้นเฉพาะช่วงเสาสีเขียวเท่านั้น ส่วนในช่วงอื่นให้เขาเดินตามปกติ
การเดินสะแอ ระหว่างภูเขาซอฟาและมัรวะห์
4. ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะฮฺ
4.1 การวุกูฟนอกเขตอะรอฟะฮฺ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ตก หลังจากนั้นมุ่งหน้าสู่ มุซดะลีฟะฮฺ โดยไม่ได้วุกูฟในเขตอะรอฟะฮฺเลยการกระทำดังกล่าวถือว่าการทำฮัจญ์นั้นโมฆะ เพราะการวุกูฟที่อะรอฟะฮฺนั้นเป็นรุก่น
4.2 ผู้ทำฮัจญ์บางท่านออกจากอะรอฟะฮฺก่อนดวงอาทิตย์ตก ถือว่า เป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง เพราะท่านร่อซูล(ซล) ทำการวุกูฟที่อะรอฟะฮฺจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตก
4.3 ผู้ทำฮัจญ์บางท่านไม่ละมาดย่อและรวมขณะที่อยู่อะรอฟะฮฺ ถือว่า เป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง เพราะท่านร่อซูลทำการละหมาดย่อและรวม(ญัมอุลตักดีม)คือการละหมาดอัศรี่มารวมกับละหมาดซุฮฺรี่ โดยย่อเหลือเพียงสองร็อกอะฮฺ(ละหมาดซุฮฺรี่สองร็อกอะฮฺ อิกอมะฮฺ ละหมาดอัสรี่อีกสองร็อกอะฮฺ)
4.4 ผู้ทำฮัจญ์บางท่านทำการผังหินที่อะรอฟะฮฺ โดยมีความเชื่อว่าหินนั้นจะเป็นพยานแก่เขาในวันกิยามะฮฺ การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดอย่างมหันต์และเป็นบิดอะฮฺอีกด้วย
4.5 การพยายามปีนขึ้นไปบนภูเขาเราะฮฺมะฮฺ เพื่อทำการวุกูฟที่นั้นถือว่า ไม่ถูกต้องและเป็นการเสี่ยงภัยอย่างมาก เพราะภายในเขตอะรอฟะฮฺนั้นคือสถานที่วุกูฟทั้งหมด
4.6 การผินหน้าไปทางภูเขาเราะฮฺมะฮฺในขณะขอดุอาอฺ เป็นการกระทำที่ผิดเช่นเดียวกัน เพราะตามซุนนะฮฺแล้วให้ทำการดุอาอฺโดยหันหน้าไปทางกิบละฮฺ
การวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะฮฺ
5. ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่ที่มุซดะลิฟะฮฺ
5.1 ผู้ทำฮัจญ์บางท่านไม่ละหมาดย่อและรวมขณะที่อยู่ที่มุซดะลิฟะฮฺ ถือว่า เป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง เพราะท่านร่อซูล(ซล)ทำการละหมาดย่อและรวม(ญัมอุลตะอฺคีร)คือเอาละหมาดอิชาอฺมารวมกับละหมาดมักริบ โดยย่อเหลือเพียงสองร็อกอะฮฺ
5.2 เมื่อเดินทางถึงมุซดะลิฟะฮฺ ผู้ทำฮัจญ์บางท่านมัววุ่นวายอยู่กับการเก็บหินแทนที่จะทำการละหมาดย่อ เพราะพวกเขาเชื่อว่าหินที่จะใช้ขว้างเสาหินนั้นต้องเก็บจากมุซดะลิฟะฮฺ
– ที่ถูกต้อง ก้อนหินที่ใช้ขว้างนั้นจะเก็บที่ใดก็ได้ที่เป็นสถานที่ฮะรอม ดังที่ปรากฏจากท่านร่อซูล(ซล)ว่าท่านไม่ได้ใช้ให้เก็บก้อนหินจากมุซดะลิฟะฮฺเลย ท่านเก็บก้อนหินขณะอยู่ในช่วงที่เข้าเขตมีนาแล้ว
ที่มา: ajsasana.wordpress.com
islamhouse.muslimthaipost.com