บรรดานักวิชาการด้านผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนบัญญัติได้มีมติที่ตรงกันว่า การลืมนั้นถือเป็นเรื่องที่อยู่ในประเภทของเหตุสุดวิสัยและถือว่าอุปสรรค และบาปที่เกิดจากการลืมนั้นถูกยกโทษให้
ลืมถือศีลอดใช้ แล้วรอมฏอนกำลังมาถึงทำอย่างไรดี?
บรรดานักวิชาการด้านผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนบัญญัติได้มีมติที่ตรงกันว่า การลืมนั้นถือเป็นเรื่องที่อยู่ในประเภทของเหตุสุดวิสัยและถือว่าอุปสรรค และบาปที่เกิดจากการลืมนั้นถูกยกโทษให้ เนื่องจากหลักฐานมากมายในเรื่องนี้ ไม่ว่าหลักฐานในอัซซุนนะห์ และหลักฐานในอัลกุรอาน
แต่นักวิชาการมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของการยกโทษ ว่าต้องมีการชดเชยด้วยกับสิ่งอื่นๆ หรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นที่มีการลืมในการชดเชยการถือศีลอดที่ขาดไป มันจะไม่ตกไปเพราะการลืม พวกเขามีความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของ ข้อบัญญัติที่ว่าจำเป็นต้องเสียค่าชดเชย คือ 1.การชดเชยด้วยกับการให้อาหารแก่บรรดาคนยากจน 2. การชดเชยด้วยกับการถือศีลอดชดเชย แยกออกเป็นสองทัศนะด้วยกันคือ
ทัศนะที่หนึ่ง
ไม่จำเป็นต้องเสียค่าชดเชย เพราะว่าการหลงลืมถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย และไม่เป็นบาป และไม่ต้องชดเชย เป็นทัศนะที่ส่วนมากของอัชชาฟีอียะห์ และบางคนในแนวฟิกฮฺมาลีกียะห์
(ให้ไปดู หนังสือ ตัวะฟาตุลมัวะตาจ ของฮายัร อัลอัยตามีย์ เล่มที่ 2/445 และหนังสือ นิฮายาตุลมัวะตาจ เล่มที่ 3/196 และหนังสือ มานาหุลญาลีล เล่มที 2/154 และหนังสือ ชัรหฺ มุคตาซอร คอลีล เล่มที่ 2/263)
ทัศนะที่สอง
จำเป็นสำหรับคนลืมถือศีลอดชดใช้ต้องเสียค่าชดเชย (ฟิดยะห์) สำหรับการลืมนั้น ซึ่งเป็นการอนุโลมเฉพาะเรื่องการยกโทษในความผิดเท่านั้น ผู้ที่มีความเห็นดังกล่าว คือท่าน อัลคอตีบ อัชชิรบีนีย์ จากแนวมัสอับอัชชาฟีอียะห์ โดยที่เขาได้กล่าวไว้ในหนังสือ มุฆนีย์ อัลมัวะตาจ ความว่า “ตามตัวบทที่ปรากฏ แท้จริงสำหรับการลืมนั้น ความผิดที่เกิดจากการลืมนั้นจะตกไป แต่การชดเชย(ฟิดยะห์)ยังคงอยู่”
และมีนักวิชาการบางท่านในแนวมัสอับอัลมาลีกีย์ ได้ระบุเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน (ให้ไปดูในหนังสือ มาวาอิบุลญาลีล เป็นหนังสือที่อธิบาย มุคตาซอร คอลีล เล่มที่ 2/450)
สำหรับประเด็นนี้ ทัศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุด คือทัศนะที่หนึ่ง อินชาอัลลอฮฺ เนื่องจากด้วยกับหลักฐานสามอย่างด้วยกัน ที่ชี้ถึงการยกโทษให้แก่ผู้ที่หลงลืม
หลักฐานที่หนึ่ง
ด้วยกับหลักฐานโดยภาพรวมที่ไม่มีการเจาะจงจากอายะห์และบรรดาหะดีษ ดังคำดำรัสของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ผู้ทรงสูงส่ง ความว่า
كقوله تعالى : ( رَبَّنَا لَا تُؤَاخِذْنَا إِنْ نَسِينَا أَوْ أَخْطَأْنَا ) البقرة/286 .
“โอ้พระเจ้าของพวกเรา ! โปรดอย่าเอาโทษแก่เราเลย หากพวกเราลืม หรือผิดพลาดไป”
หลักฐานที่สอง
ตามกฎเกณ์ของฟิกฮ์ข้อหนึ่ง (الأصل براءة الذمة ) รากฐานเดิมไม่ต้องรับผิดชอบ หมายความว่า ไม่อนุญาตให้ทำการเสียค่าชดเชยนอกจากจะมีหลักฐานมาระบุในเรื่องดังกล่าว และเมื่อมาดูประเด็นนี้ไม่มีหลักฐานที่แข็งแรงมาสนับสนุน
หลักฐานที่สาม
สำหรับเรื่องการเสียค่าชดเชยเดิมทีแล้วเป็นประเด็นที่มีความเห็นต่างกันในเรื่องฮุกุมว่าเป็นวาญิบหรือไม่(ฮุกุมวาญิบคือจำเป็นต้องทำ) แม้กระทั่งผู้ที่ล่าช้าในการชดเชยการถือศีลอดโดยเจตนา โดยที่มัสฮับ ฮานาฟีย์ และอัซซออีรีย์ มีความเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเสียค่าชดเชย และท่านเชคอุซัยมีนเห็นด้วยกับทัศนะนี้เช่นกัน
และท่านเชคอุซัยมีนเห็นว่า การเสียค่าชดเชยเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำเท่านั้นแต่ไม่ได้เป็นวาญิบ(จำเป็นต้องกระทำ) และในเรื่องการเสียค่าชดเชยไม่มีปรากฏในบทบัญญัตินอกจากมีการกระทำของศอหาบะห์บางท่านเท่านั้น และไม่ถือว่าการกระทำของศอหาบะห์จะมาทำให้มันเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้คนทั่วไปต้องปฏิบัติเช่นนั้นด้วย โดยเฉพาะการกระทำในสภาพที่พวกเขามีอุปสรรคที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) นั้นได้อนุโลมให้ (ไปดูคำถามที่ 26865)
สรุป ในคำตอบก็คือ สำหรับบุคคลที่ลืมให้ถือศีลอดชดเชยเพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องเสียอาหารเป็นการชดเชย และให้ไปถือศีลอดชดเชยหลังจากที่สิ้นรอมาฏอนที่เขากำลังอยู่ในเดือนนั้น
- สิ่งแรกที่ต้องเตรียมเพื่อรอมฎอน
- การถือศีลอด ด้วยการเนียตชดใช้ รอมฎอนที่ผ่านมา
- 30 ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอน
- การมีเพศสัมพันธ์ เดือนรอมฎอนตอนกลางวัน
- เตรียมอดอาหารในช่วงเดือนรอมฎอน? มาดูเทคนิคกันดีกว่า
- รวมบทดุอาอฺในเดือนรอมฎอน ที่มุสลิมจำเป็นต้องใช้
- 10 อิบาดะฮฺง่ายๆ สำหรับสตรีที่มีประจำเดือนในเดือนรอมฎอน
ที่มา: www.islammore.com