การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ทำให้รู้จักความอดทน อดกลั้นหรือละเว้นจากการกิน การดื่ม การร่วมรสระหว่างสามีภรรยา รวมถึงการกระทำในสิ่งที่ไร้สาระหรือขัดต่อคุณธรรม
ทำไมต้องถือศีลอด ในทัศนะการแพทย์
การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ทำให้รู้จักความอดทน อดกลั้นหรือละเว้นจากการกิน การดื่ม การร่วมรสระหว่างสามีภรรยา รวมถึงการกระทำในสิ่งที่ไร้สาระหรือขัดต่อคุณธรรม เริ่มตั้งแต่รุ่งอรุณจนถึงตะวันลับขอบฟ้า ซึ่งการอดอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับวงการแพทย์ในการรักษาโรคและการควบคุมอาหาร การหยุดพักการทำงานของระบบย่อยอาหารชั่วคราว และการลดระดับไขมันที่เป็นสสารที่ไม่สามารถละลายในน้ำได้ อย่างไรก็ตามการอดอาหารแบบอิสลามมีความแตกต่างกับการอดอาหารเพื่อสรีระร่างกาย เพราะการถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอนไม่ได้เข้าข่ายที่จะเกี่ยวข้องกับภาวะขาดสารอาหาร หรือการบริโภคพลังงานความร้อนอย่างไม่เพียงพอ ปัจจัยในการบริโภคพลังงานของมุสลิมในช่วงเดือนรอมฏอน ขึ้นอยู่กับความต้องการของประชาชนในการบริโภค กล่าวอีกในหนึ่งว่า การถือศีลอดเป็นการกระทำโดยสมัครใจ ไม่ได้มีผลเสียในทางการแพทย์แต่อย่างใด
ความแตกต่างระหว่างการถือศีลอดช่วงเดือนรอมฏอนกับการอดอาหารทั่วไป
ความแตกต่างระหว่างการถือศีลอดช่วงเดือนรอมฏอนกับการอดอาหารทั่วไป คือช่วงเวลาการรับประทานอาหาร กล่าวคือ ในช่วงเดือนรอมฏอน โดยทั่วๆไปแล้ว เราไม่รับประทานอาหารกลางวัน แต่จะรับประทานอาหารเช้าแต่เนิ่นๆ และจะไม่รับประทานอาหารจนกว่าจะโพล้เพล้เสียก่อน การควบคุมตัวเองจากการงดดื่มน้ำในช่วงถือศีลอดไม่ได้เป็นอันตรายแต่ประการใด แท้จริงแล้วการถือศีลอดเป็นสาเหตุทำให้ระดับความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายลดการสูญเสียน้ำได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งร่างกายจะมีอวัยวะในส่วนต่างๆคอยป้องกันการสูญเสียน้ำในร่างกาย
ผลดีการถือศีลอดในทางสรีรศาสตร์
ผลดีการถือศีลอดในทางสรีรศาสตร์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล และลดความดันโลหิตสูงสุดที่เกิดขึ้นหลังระยะการบีบตัวของห้องหัวใจ การถือศีลอดช่วงเดือนรอมฏอนเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการแสดงออกถึงความถ่อมตนตามแนวทางสายกลาง สงบจิตสงบใจ โรคเบาหวานที่ไม่ต้องใช้อินซูลิน (ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ลดน้ำหนักมากเกินไปและลดวามดันโลหิตสูง
ในปี ค.ศ.1994 การประชุมนานาชาติ ในหัวข้อ “สุขภาพกับเดือนรอมฏอน” ณ รัฐกาซาบลังกา (รัฐหนึ่งของโมรอกโค) มีการนำผลการวิจัยอย่างละเอียด จำนวน 50 เล่ม จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมีนักวิจัยทั้งมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมนำเสนอผลการศึกษาจริยธรรมการรักษาทางการแพทย์ด้วยการถือศีลอด ขณะที่มีการบันทึกความเจริญก้าวหน้าด้านสุขภาพทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่การถือศีลอดจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพในการรักษาทางการแพทย์ต่อผู้ป่วย อีกประการหนึ่ง ผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคร้ายแรงต่างๆไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ที่หัวใจอุดตัน นิ่วในไต เป็นต้น โรคดังกล่าวเป็นโรคที่ได้รับการยกเว้น จากการถือศีลอดและควรหลีกเลี่ยงการถือศีลอด
ผลดีการถือศีลอดทางจิตวิทยา
ผลดีการถือศีลอดทางจิตวิทยา จะทำให้ผู้ที่ถือศีลอดช่วงเดือนรอมฏอนเกิดความสันติ และจิตสงบ การกระทำที่ผิดศีลธรรมจะลดลง วิวัฒนาการทางจิตวิทยามีส่วนเกี่ยวโยงกับเสถียรภาพของกลูโคสในเลือดในช่วงการอดอาหารเนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะทางจิตยังมีส่วนยั่วยุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอีกด้วย และการท่องจำพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอานไม่ใช่แค่เพิ่มความขันติธรรมในจิตใจเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาความทรงจำอีกด้วย
การถือศีลอด ไม่ใช่ ความอดอยาก เพราะการถือศีลอดมีจุดม่งหมายและหลักปฏิบัติอย่างชัดเจน เช่น สำนักการแพทย์ธรรมชาติบำบัดที่เน้นการบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการอดอาหารเป็นหลัก ในโอกาสนี้จะขออธิบายถึงหลักการบางอย่างที่เกี่ยวกับการถือศีลอดว่า มีความสอดคล้องหรือขัดต่อหลักวิชาการแพทย์หรือไม่อย่างไร เป็นพอสังเขป ดังนี้
นักวิชาการอเมริกาคนหนึ่งชื่อนายแพทย์ Allan Cott ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “ Why Fast?” (ทำไมต้องถือศีลอด) ซึ่งเป็นผลจากการวิจัยของเขาจากหลายๆ ประเทศ เขาได้สรุปถึงเคล็ดลับของการถือศีลอดไว้ 10 ข้อ ดังนี้
1. to feel better physically and mentally
= ทำให้รู้สึกว่ามีสุขภาพและจิตใจที่ดีขึ้น
2. to look and feel younger
= ทำให้มองเห็นและรู้สึกอ่อนเยาว์ขึ้น
3. to clean out the body
= ทำให้ร่างกายสะอาดสะอ้าน
4. to lower blood pressure and cholesterol levels
= ช่วยลดความดันโลหิตสูง และระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
5. to get more out of sex
= ช่วยลดความรู้สึกอารมณ์ใคร่ (เซ็กส์)
6. to let the body health itself
= ช่วยให้ร่างกายบำบัดตนเอง
7. to relieve the tension
= ช่วยลดความตรึงเครียด
8. to sharp the sense
= ช่วยให้สติปัญญาเฉียบแหลม
9. to again control of ourselves
= ทำให้สามารถควบคุมตนเองได้
10. to slow the aging process
= ช่วยชะลอความชรา
ทั้งนี้ได้นำผลการวิจัยทางการแพทย์พิสูจน์ถึงความสอดคล้องของบทบัญญัติอิสลามในด้านการถือศีลอดกับปฏิกิริยาทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ถือศีลอดมากกว่าผลเสีย รวมทั้งก่อให้เกิดความเสมอภาคขึ้นระหว่างมุสลิมที่เป็นคนรวยและคนจนที่ต้องถือศีลอดเหมือนกัน เนื่องจากมุสลิมต้องถือศีลอดตามคำบัญชาของอัลลอฮฺด้วยกันทั้งสิ้น
- สิ่งแรกที่ต้องเตรียมเพื่อรอมฎอน
- การถือศีลอด ด้วยการเนียตชดใช้ รอมฎอนที่ผ่านมา
- 30 ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนรอมฎอน
- การมีเพศสัมพันธ์ เดือนรอมฎอนตอนกลางวัน
- เตรียมอดอาหารในช่วงเดือนรอมฎอน? มาดูเทคนิคกันดีกว่า
- รวมบทดุอาอฺในเดือนรอมฎอน ที่มุสลิมจำเป็นต้องใช้
- 10 อิบาดะฮฺง่ายๆ สำหรับสตรีที่มีประจำเดือนในเดือนรอมฎอน
ที่มา: www.gotoknow.org , www.islamhouse.com ,www.halalthailand.com