เดือนรอมฎอน เดือนที่ท่านนบีรองรับว่ามีความดี อบอวล อยู่อย่างมหาสารเป็นเดือนแห่งการอภัยโทษ และเพิ่มพูนผลบุญเทียบเท่าทวีคูณ
อย่าขี้เกียจละหมาดตะรอเวียะห์ เพราะการละหมาดตะรอเวียะฮฺ ได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด
- (ภาพ) วิธีละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺ คุณค่า และ จำนวนร็อกอะฮฺ
- ละหมาดตะรอเวี๊ยะห์เท่าไรดี 8 หรือ 20 รอกอัต
- ภาพละหมาดตะรอเวียะห์ ค่ำคืนแรก มัสยิดอัลนะบะวีย์
หากจะกล่าวถึงเดือนที่มีความประเสริฐ และเป็นเดือนแห่งการอิบาดะห์ และยังเป็นเดือนที่บรรดาชาวมุสลิมเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ ก็คงจะไม่พ้นเดือนรอมฎอน เดือนที่ท่านนบีรองรับว่ามีความดี อบอวล อยู่อย่างมหาสารเป็นเดือนแห่งการอภัยโทษ และเพิ่มพูนผลบุญเทียบเท่าทวีคูณ
ดั้งที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าเดือนนี้มีความพิเศษใน ตัวอย่างที่ หาเดือนอื่นๆมาเทียบเหมือน และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในโลกมุสลิมก็เกิดขึ้นในเดือนนี้ด้วย ความพิเศษของเดือนนี้มีมากมาย แต่ที่จะกล่าว ก็คือเรื่องการ ละหมาดตะรอเวียฮฺ
การละหมาดตะรอเวียฮฺนั้น ตามบทบัญญัติแล้วเป็น ซุนนะห์ (ทำแล้วได้บุญไม่ทำก็ไม่ส่งผลอะไร) คำว่า ตะรอเวียฮฺ นั้นตามหลักภาษาอาหรับ มาจากคำว่า รอฮะหฺ ที่แปลว่าพัก ความหมายคือ การละหมาดที่สามารถ หยุดพักได้ แต่ในการหยุด หรือการพักนั้นต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอีหม่าม ที่เป็นตอนนั้นด้วย ในเวลาละหมาด นบีมักจะหันมามองมะมูมก่อนละหมาดเพื่อดู ว่าเด็กเยอะไหมคนชราเยอะไหมจะได้จัดสรรเวลาหยุดได้เหมาะสม
ในอดีตการละหมาดตะรอเวียฮฺ นั้นจะเป็นการต่างคนต่างทำใน ที่พักของตน จะออกมาทำละหมาดตะรอเวียฮฺที่มัสยิดก็แค่ สามวันแรกเท่านั้นโดยยึดเอาแบบอย่างนบี แต่ในสมัยอุมัร ดำรงตำแหน่ง คอลีฟะฮฺได้ออกความเห็นให้ทุกคนมาละหมาดตะรอเวียฮฺรวมกันที่มัสยิดเพื่อความ เป็นระเบียบยิ่งขึ้นและ อันเนื่องมาจากในสมัยท่านนบียังมีคนน้อยอยู่การละหมาด ของใครของมันจึงไม่วุ่นวายแต่ในยุคสมัยท่านอุมัรมี ประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณการทำละหมาดตะรอเวียฮฺของใครของมันนั้นจึงเป็น อะไรที่วุ่นวายท่านอุมัรจึงออกความคิดเห็นให้มาละหมาดรวมกันที่ มัสยิด ในเหตุการณ์ดังกล่าวบางท่านอาจจะนึกว่า ท่านอุมัรทำบิดอะฮฺ โดยการให้มาละหมาดตะรอเวียฮฺรวม ทั้งที่ท่าน นบีทำที่มัสยิดแค่สามวัน แต่ตามที่จริงท่านนบีสนับสนุนให้ละหมาดรวมกันโดยมีฮะดีษ รายงานว่าฮะดีสของท่านหญิงอาอิชะฮฺ ที่แจ้งว่า
“แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺ ได้ออกไปคืนหนึ่งในกลางดึกแล้วท่านได้ละหมาดในมัสยิด และได้มีผู้คนมาร่วมละหมาดกับท่านนะบี ในวันรุ่งขึ้นผู้คนได้พูดถึงกันและได้รวมตัวกันมากขึ้น แล้วท่านได้ละหมาด (ในคืนที่สอง) ผู้คนก็ได้มาร่วมละหมาดกับท่าน ต่อมาในวันรุ่งขึ้นก็ได้มีการกล่าวถึงกันอีก ผู้คนได้มารวมตัวกันในมัสยิดมากยิ่งขึ้นในคืนที่สาม ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ก็ได้ออกมาทำการละหมาดเช่นเคย ต่อมาในคืนที่สี่มัสยิดเนืองแน่นไปด้วยผู้คน จนกระทั่งท่านนะบีได้ออกไปละหมาดศุบฮฺ เมื่อท่านละหมาดเสร็จแล้วท่านได้หันหน้าไปยังผู้ที่มาร่วมละหมาดแล้วได้ กล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ และกล่าวชะฮาดะฮฺ แล้วกล่าวว่า
“พึงทราบเถิดสถานภาพของพวกท่านเป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ฉันแล้ว แต่ฉันกลัวว่าการละหมาดนี้จะถูกบัญญัติให้เป็นฟัรฎูแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านก็ไม่สามารถจะกระทำได้ ต่อมาท่านร่อซูลุลลอฮฺได้ถึงอะญัลของอัลลอฮฺ การละหมาดตะรอเวี๊ยะฮฺก็คงสภาพอยู่เช่นนั้น” บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์ และมุสลิม
และ นั้นก็คือประวัติความเป็นมาของการละหมาดตะรอเวียฮฺ โดยสังเขป ซึ่งการละหมาดตะรอเวียฮฺนั้น มีความสำคัญมาก แต่ใครหลายๆคนกลับมองว่าเป็นแค่ซุนนัต จะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ ทั้งนี้ความสำคัญของการละหมาดตะรอเวียฮฺนั้น มีหะดิษยืนยันอยู่ว่า รายงานจากอบี ฮุรอยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่าท่านรอซูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)กล่าวว่า "ผู้ใดที่ละหมาดในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธา (ต่อคำสั่งและสัญญาของอัลลอฮฺ)รวมทั้งคาดหวังผลตอบแทนจากพระองค์ แน่แท้พระองค์จะทรงอภัยโทษต่อบาปต่างๆ ที่ผ่านมา" (มุตตะฟะกุน อะลัยห์ : บุคอรี 2/252 และมุสลิม 1/523)
ครั้งหนึ่งผมเคยได้ยิน คำฟัตวา(ชี้ขาด) ของอีหมามจากต่างประเทศว่า “ใครก็ตามที่ถือศีลอดในตอนกลางวัน แต่ไม่ยอมละหมาดตะรอเวียฮฺใน ยามค่ำคืนการถือศีลอดของเขาก็เท่ากับเหมือนไม่มีความหมาย” ลองคิดสิครับ ถือศีลอดมาตั้งแต่เช้าถึงเย็น แต่กลับไม่ได้อะไรเลย เพราะไม่ยอมละหมาดตะรอเวียฮฺ มันน่าเสียดายขนาดไหน
- คนท้องกับเดือนรอมฎอน
- วิธีการถือศีลอด ข้อห้าม การถือศีลอด
- โทษของผู้ที่ไม่ถือศีลอด ในเดือนรอมฎอน
- ประโยชน์ของการถือศีลอด มุสลิม ที่ท่านนบีได้กล่าวไว้
- เวลาถือศีลอดที่ดีที่สุด คือช่วงใด
ที่มา: www.thaimuslim.com