คนท้องกับเดือนรอมฎอน รูปแบบการถือศีลอดสำหรับสตรีที่กำลังให้นมบุตร รวมถึงสตรีที่มีครรภ์ อยู่ 2 รูปแบบดังนี้
คนท้องกับเดือนรอมฎอน รูปแบบการถือศีลอดสำหรับสตรีที่กำลังให้นมบุตร รวมถึงสตรีที่มีครรภ์ อยู่ 2 รูปแบบดังนี้
1. การถือศีลอดนั้น ถือเป็นข้อบังคับสำหรับนาง หากว่าการถือศีลอดนั้นไม่ทำให้เกิดความยากลำบากเกินไปสำหรับนาง และการถือศีลอดนั้นไม่ทำให้นางกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อบุตรของนาง ซึ่งในกรณีนี้ นางจะต้องทำการถือศีลอดและไม่อนุญาตให้นางงดเว้นจากการถือศีลอด
2. สำหรับกรณีที่การถือศีลอดนั้น ทำให้นางกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อบุตรของนาง และทำให้นางได้รับความยากลำบาก ในกรณีนี้ นางได้รับอนุญาตให้งดถือศีลอด แต่นางจำเป็นจะต้องถือศีลอดชดใช้ตามจำนวนวันที่นางขาดไป
ซึ่งในกรณีหลังนี้ เป็นการดีกว่าสำหรับนาง ที่จะละเว้นจากการถือศีลอดและเป็นการไม่เหมาะสมต่อนางที่จะทำการถือศีลอด เนื่องจากได้มีนักวิชาการบางท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า ในกรณีที่การถือศีลอด จะทำให้นางกังวลต่อผลกระทบที่จะมีต่อบุตรของนาง เป็นความจำเป็นที่นางจะต้องงดเว้นจากการถือศีลอด และไม่เป็นที่อนุญาตให้นางทำการถือศีลอด (Al-Mirdaawi กล่าวไว้ใน al-Insaaf (7/382))
- ตั้งครรภ์ 40 วัน สุดยอด การละหมาดเป็นประโยชน์ต่อผู้ตั้งครรภ์
- คนท้องกับการละหมาด ในท่าซุญูดและรู่กัวะ ฮิกมะฮฺที่วิเศษมาก!
- ผู้มีบุตรยาก อยากมีตัวเล็ก จงอ่านดุอาอฺนี้
นอกจากนี้ท่าน Ibn ‘Aqeel ได้กล่าวเอาไว้ว่า ถ้าสตรีที่มีครรภ์หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตร กลัวว่าการถือศีลอดจะส่งผลกระทบต่อบุตรของนาง ก็ไม่เป็นที่อนุญาตให้นางทำการถือศีลอด แต่ถ้าการถือศีลอด ไม่ได้ทำให้นางเกิดความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อบุตรของนางแล้ว ในกรณีนี้นางจำเป็นจะต้องทำการถือศีลอด
ท่านเชค อิบนฺ อุซัยมีน (ขอความเมตตาจากอัลลอฮฺ จงมีแด่ท่าน) ได้ถูกถาม ดังคำถามใน (Fataawa al-Siyaam หน้า 161) ดังนี้
ในกรณีที่สตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือเป็นผู้ที่กำลังให้นมบุตรอยู่นั้น เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีเหตุจำเป็นใด ๆ ซึ่งการถือศีลอดจะส่งผลกระทบต่อนางหรือบุตรของนาง นางจะต้องทำการถือศีลอดหรือไม่
ท่านได้ตอบว่า ไม่เป็นการอนุญาตให้สตรีที่ตั้งครรภ์และกำลังให้นมบุตร ในการละเว้นจากการถือศีลอด เว้นเสียแต่ว่านางจะมีเหตุจำเป็น ซึ่งเมื่อนางมีความจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถถือศีลอดได้ นางก็จะถือศีลอดชดใช้ตามจำนวนวันที่ได้ขาดไป ดังพระดำรัสใช้ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ซึ่งทรงตรัสถือผู้ที่เจ็บป่วย ดังอัลกุรอ่าน
“เดือนรอมฏอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกรุ-อานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น
และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมูพวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น
และผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า
และเพื่อที่พวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วน ซึ่งจำนวนวัน(ของเดือนรอมฏอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า
และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ” (อัล-บากาเราะฮฺ 2 : 185)
สตรีที่ตั้งครรภ์หรือเป็นผู้ที่กำลังให้นมบุตรอยู่นั้น จัดเป็นผู้เจ็บป่วย เมื่อนางกังวลว่าการถือศีลอดจะส่งผลกระทบต่อบุตรของนาง ก็ให้นางงดเว้นจากการถือศีลอดและทำการชดใช้ตามจำนวนวันที่ขาดไป
มีรายงานจากนักวิชาการบางท่าน กล่าวว่า ให้นางทำการชดใช้การถือศีลอด ด้วยกับการให้อาหารกับผู้ยากจน 1 คน ต่อวันที่ไม่ได้ถือศีลอด 1 วัน ซึ่งอาหารที่ให้นั้น จะเป็น ข้าวสาลี ข้าว อินทผลัม หรือ อาหารหลัก ที่คนในท้องถิ่นนั้นกินกัน
แต่สำหรับนักวิชาการบางท่าน กล่าวว่า นางจำเป็นจะทำการถือศีลอดชดใช้เท่านั้น เนื่องจากไม่มีหลักฐานในอัลกุรอ่านหรือตามซุนนะฮฺ ว่าให้ชดใช้โดยการให้อาหาร ซึ่งเหตุผลข้อนี้ ท่านอบู ฮานีฟะ (ขอความเมตตาจากอัลลอฮฺ จงมีแด่ท่าน) ถือว่าจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ เนื่องจากในกรณีการให้อาหารชดใช้นั้น ไม่มีหลักฐานใดๆ ให้ปฏิบัติตาม
ท่านเชค อิบนฺ อุซัยมีน (ขอความเมตตาจากอัลลอฮฺ จงมีแด่ท่าน) ได้ถูกถาม ดังคำถามใน (Fataawa al-Siyaam หน้า 162) ดังนี้ มีกฎระเบียบอย่างไร สำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์และกลัวว่าการถือศีลอดนั้นจะเป็นอันตรายต่อตัวเธอหรือลูกของเธอ ทำให้นางงดเว้นจากการถือศีลอด
ท่านได้ตอบว่า คำตอบของเราในเรื่องการถือศีลอดสำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์นั้น มีได้ 2 รูปแบบดังนี้
กรณีที่หนึ่ง ถ้าร่างกายของเธอแข็งแรงดี และการถือศีลอดนั้นไม่เป็นการยากลำบากสำหรับเธอ และไม่ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ของเธอ ในกรณีนี้ นางจำเป็นจะต้องทำการถือศีลอด เพราะเธอไม่มีเหตุจำเป็นใด ๆ
กรณีที่สอง ถ้าสตรีที่ตั้งครรภ์นั้น ไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดได้ ไม่ว่าจะเหตุผลเพราะนางตั้งครรภ์แก่หรือเพราะร่างกายของนางอ่อนแอ หรือจะด้วยเหตุผลอื่น ๆ ในกรณีนี้ นางไม่ต้องทำการถือศีลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการถือศีลอดนั้นจะส่งอันตรายต่อทารกในครรภ์ของนาง ซึ่งจำเป็นที่นางจะต้องงดเว้นจากการถือศีลอด เช่นเดียวกันกับบุคคลอื่นที่ไม่ได้ทำการถือศีลอด เนื่องจากมีเหตุจำเป็น และนางจะต้องทำการถือศีลอดชดใช้เมื่อเหตุจำเป็นดังกล่าวได้หมดไป
และเมื่อนางได้ให้กำเนิดบุตรแล้ว นางจะต้องทำการถือศีลอดชดใช้ เมื่อนางสะอาดจากเลือดนิฟาส แต่ในบางกรณีผู้ที่ให้กำเนิดบุตรแล้ว ยังไม่สามารถจะทำการถือศีลอดชดใช้ได้ อาจเนื่องมาจากการที่นางจะต้องให้นมบุตร ซึ่งมารดาจำเป็นจะต้องทานอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูกาลที่กลางวันยาวนาน หรือฤดูร้อนที่อากาศร้อนจัด ซึ่งส่งผลให้นางไม่สามารถจะถือศีลอดได้ เพราะนางจำเป็นจะต้องทานอาหาร เพื่อเป็นแหล่งอาหารแก่น้ำนมในการให้นมบุตรของนาง กรณีนี้เช่นนี้นางยังไม่ต้องทำการถือศีลอด จนกว่าเหตุผลที่จะต้องให้นมบุตรหมดไป ก็ให้นางทำการถือศีลอดชดใช้เท่ากับจำนวนวันที่นางขาดไป
นอกจากนี้ท่านเชค อิบนฺ อับบาส ได้กล่าวเอาไว้ใน Majmoo’ al-Fataawa (15/224)เกี่ยวกับสตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร ตามหลักฐานในฮะดีษของ Anas ibn Maalik al-Ka’bi ซึ่งได้ถูกรายงานโดยอะหฺมัดและบรรดานักเขียนของ อัล-ซุนาน ซึ่งเป็น ฮะดีษ อิสนาน ว่า
"ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้อนุญาตให้พวกเราละเว้นจากการถือศีลอด เนื่องมาจากพวกเราอยู่ในการเดินทาง"
ซึ่งจากเนื้อหาข้างต้นนี้ บอกเราให้ทราบว่า ผู้ที่ตั้งครรภ์นั้น ไม่ต้องทำการถือศีลอดได้ แต่นางจะต้องทำการถือศีลอดชดใช้ ดังเช่นผู้ที่อยู่ในการเดินทาง
บรรดานักวิชาการได้กล่าวเอาไว้ว่า ผู้ที่ไม่ต้องทำการถือศีลอดนั้น คือผู้ที่การถือศีลอด จะเป็นการสร้างความยากลำบากให้กับพวกเขา เช่น กรณีของผู้ที่เจ็บป่วย หรือผู้ที่เกรงว่าจะมีอันตรายต่อบุตรของเขา และอัลลอฮฺ (ซ.บ.)คือผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง
มีเนื้อหาที่ได้ถูกกล่าวเอาไว้ใน Fataawa al-Lajnah al-Daa’imah (10/226) ว่า
สตรีที่ตั้งครรภ์นั้น นางจำเป็นจะต้องทำการถือศีลอด เว้นเสียแต่ว่า นางกลัวว่าการถือศีลอดนั้นจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ของนาง ในกรณีนี้ นางได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำการถือศีลอด และนางจะต้องทำการถือศีลอดชดใช้ หลังจากนางได้ให้กำเนิดบุตรแล้วและนางสะอาดจากเลือดนิฟาส
- วิธีการถือศีลอด ข้อห้าม การถือศีลอด
- โทษของผู้ที่ไม่ถือศีลอด ในเดือนรอมฎอน
- เนียตถือศีลอด ตลอดทั้งเดือนรอมฎอน เพียงครั้งเดียวได้หรือไม่?
- ดุอาอ์ คลอดง่าย ดุอาอะไรบ้างอ่านขณะตั้งครรภ์ ดุอาอ์คลอดลูก
ที่มา: www.islammore.com