หากว่าเราละหมาดไปแล้ว แล้วมารู้ว่าละหมาดผิดทิศกิบลัต เพิ่งมารู้หลังจากละหมาดเสร็จแล้ว เช่นนี้ละหมาดใช้ได้หรือไม่ แล้วต้องกลับไปละหมาดใหม่หรือไม่
ละหมาดผิดทิศกิบลัต ต้องละหมาดใหม่หรือไม่?
ละหมาดหันไปทางทิศ วาญิบสำหรับมุสลิมให้ละหมาดโดยหันหน้าไปทางทิศกิบลัตที่ตั้งของ (บัยตุลลอฮฺ มักกะฮฺ) อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า
ความว่า: “และจากที่ใดก็ตามที่เจ้าออกไป ก็จงผินหน้าของเจ้าไปทางอัล-มัสยิดิลฮะรอม และที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าปรากฏอยู่ ก็จงผินหน้าของพวกเจ้าไปทางนั้น”
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า
ความว่า: "เมื่อท่านลุกขึ้นเพื่อที่จะละหมาด จงอาบน้ำละหมาดอย่างดี และจงผินหน้าไปทางทิศกิบละฮฺ เริ่มด้วยการกล่าวตักบีร อัลลอฮุอักบัร"
จากบรรดาปวงปราช์มีความเห็นตรงกันว่า การหันหน้าไปทางทิศกิบละฮฺนั้น ถือว่า เป็นเงื่อนไขของการละหมาด โดยเป็นมติเอกฉันท์ อิบนุ อับดุลบัร อิหม่าม กุรตุบีย์
- วิธีหาทิศกิบลัตกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์
- หินดำ คือ? กะบะฮ์ คือ? ต่างกันอย่างไร มีคำตอบ
- ทิศละหมาด กิบลัต เงื่อนไขหนึ่งของ การละหมาดที่ถูกต้อง
คำถาม: หากว่าเราละหมาดไปแล้ว แล้วมารู้ว่าละหมาดผิดทิศกิบลัต เพิ่งมารู้หลังจากละหมาดเสร็จแล้ว เช่นนี้ละหมาดใช้ได้หรือไม่ แล้วต้องกลับไปละหมาดใหม่หรือไม่ อีกกรณีหนึ่งคือถ้าหากเราออกจากบ้าน แล้วไปแวะละหมาดตามสถานที่ต่างๆ แต่ว่าไม่รู้กิบลัตอยู่ทางใหนจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้รู้ว่าต้องหัน หน้าไปทางใหน บางทีลืมพกเข็มทิศไป ช่วยแนะนำหน่อย?
ตอบโดย: อาลี เสือสมิง
หากละหมาดไปแล้ว และมารู้ทีหลังว่าละหมาดผิดทิศกิบลัต โดยมั่นใจว่าหันไปผิดทิศแน่
ในทัศนะของอัศฮาบุชชาฟิอียะฮฺ ถือว่าจำเป็น (วาญิบ) ต้องกลับมาละหมาดใหม่ (อิอาดะฮฺ) ส่วนกรณีที่ไม่มั่นใจในการหันผิดทิศกิบละฮฺหรือไม่ แต่เพียงคาดการณ์ (ซ็อนฺ) ก็ไม่วาญิบต้องกลับมาละหมาดใหม่ตามมัซฮับ (กิตาบ อัลมัจญมูอฺ ซัรฮุ้ลมุฮัซซับ เล่มที่ 3/207)
ส่วนกรณีออกนอกบ้านไปแวะละหมาดตามสถานที่ต่างๆ แต่ไม่รู้ว่ากิบละฮฺอยู่ทางไหนก็ให้ใช้วิจารณญาณ (อิจติฮาด) ด้วยการพิจารณาตำแหน่งของดวงอาทิตย์ อาทิเช่น เวลาซุฮฺริ – อัศริ ดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศใด ทิศนั้นคือทิศตะวันตกอันเป็นทิศกิบละฮฺของบ้านเรา หรือให้ใช้ไม้หรือปากกาวัดดูเงาของแสงแดดว่าตกกระทบกับพื้นทางทิศใด ทิศตรงข้ามกับเงาแดดที่ตกกระทบพื้น (คือจุดที่วางไม้หรือปากกา) คือทิศกิบละฮฺเป็นต้น หรือให้สังเกตตำแหน่งของดวงจันทร์หรือตำแหน่งของดาวฤกษฺเช่น ดาวประจำเมือง เป็นต้น หรือให้พิจารณาเส้นทางหลักของถนนสายหลักว่ามุ่งหน้าขึ้นสู่ทิศใด เป็นต้น เมื่อพิจารณาถี่ถ้วนแล้วก็ให้ละหมาดหันหน้าไปทางทิศนั้น