เรื่องการตออัตของภรรยา ระหว่างพ่อเเม่ กับสามี ภรรยาต้องตออัตต่อใคร?
ระหว่างสามีกับพ่อเเม่ ภรรยาต้องตออัตต่อใคร?
คำถาม: เรื่องการตออัตของภรรยา ระหว่างพ่อเเม่ กับสามี ภรรยาต้องตออัตต่อใคร?
- ดุอาอฺทำให้สามีภรรยารักกันมากขึ้นทุกวัน
- ภรรยามีชู้ในอิสลาม บาปไหม?
- ภรรยาไม่ตออัตต่อสามี จะไม่ได้กลิ่นอายสวรรค์
การฏออะฮฺ (เชื่อฟังและปฏิบัติตาม) ต่อบิดามารดาในสิ่งที่เป็นความดี ตามหลักการของศาสนา ถือเป็นสิ่งจำเป็นเหนือบุตรทั้งชายและหญิง ทั้งที่ยังโสดหรืออกเรือนแล้ว นี่คือหลักเดิมที่อัลกุรอานและสุนนะฮฺ ได้ระบุเอาไว้
ครั้นต่อมาเมื่อฝ่ายหญิงได้ออกเรือน มีครอบครัวกับสามีของนาง หน้าที่ของฝ่ายหญิงในฐานะภรรยาก็คือต้องฏออะฮฺเชื่อฟัง และปฏิบัติตามสามีในสิ่งที่เป็นความดีตามหลักการของศาสนา โดยถือเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) และเป็นสิทธิโดยชอบของสามี
จะเห็นได้ว่า การฏออะฮฺต่อสามีเป็นหน้าที่ซึ่งเพิ่มเข้ามาสำหรับฝ่ายหญิงเมื่อนางเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นภรรยา และสิทธิหน้าที่นี้เป็นผลมาจากการสมรส (นิกาหฺ) ดังนั้นเมื่อสามีสั่งใช้ให้ภรรยาทำตามความประสงค์ของตน ซึ่งไม่ได้ขัดกับหลักการของศาสนา ก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) ที่ภรรยาต้องปฏิบัติตาม ห
ากภรรยากระด้างกระเดื่องไม่เชื่อฟังสามีก็ย่อมถือว่า นางบกพร่องในหน้าที่ซึ่งศาสนากำหนดเอาไว้ และมีโทษ (คือเป็นบาป) เราจะเห็นว่าการฏออะฮฺต่อบิดามารดาก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเหนือภรรยาอยู่เช่นเดิมในฐานะบุตรี และการฏออะฮฺต่อสามีก็ถือเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกันในฐานะที่ตนเป็นภรรยาที่อยู่ในปกครองของสามี
ดังนั้น เมื่อภรรยาออกเรือนมาอยู่กับสามีของนางแล้วเป็นครอบครัวใหม่ภายในบ้านของสามี การฏออะฮฺต่อสามีภายในบ้านหรือครอบครัวใหม่นี้จึงเน้นไปที่ตัวสามีเป็นหลัก โดยปกติแล้วบิดามารดาของฝ่ายหญิง จะไม่เข้ามาก้าวก่ายเรื่องภายในครอบครัวใหม่นี้ แต่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสามี (บุตรเขย) ในการปกครองและชี้นำครอบครัวของเขา เหตุนี้การฏออะฮฺเชื่อฟังสามีจึงถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิงที่เป็นภรรยาและมีน้ำหนักมากที่สุด เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับการฏออะฮฺต่อบิดามารดาซึ่งเฝ้าดูอยู่ห่างๆ ต่อเมื่อมีการขัดกันระหว่างสามีกับบิดามารดาของฝ่ายหญิงซึ่งเป็นภรรยา การให้น้ำหนักแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนั้นก็ต้องคำนึงถึงหลักความถูกต้องในศาสนาเป็นเกณฑ์
กล่าวคือ สามีเห็นอย่างหนึ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัวของตนซึ่งไม่ขัดต่อหลักการของศาสนาและเป็นสิทธิของสามีในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งและไม่เกี่ยวกับข้อชี้ขาดทั้งศาสนา กรณีนี้ภรรยาจำต้องฏออะฮฺต่อสามีและไม่ถือว่าภรรยาไม่ฏออะฮฺต่อบิดามารดาของนางแต่อย่างใด เพราะน้ำหนักตกอยู่ที่การฏออะฮฺต่อสามี เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน ถ้าหากสามีมีความเห็นอย่างหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยหลักการของศาสนา หรือฝ่ายบิดามารดาของภรรยามีความเห็นอย่างหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยหลักการของศาสนา ในกรณีภรรยาไม่ต้องฏออะฮฺเชื่อฟังทั้งสองฝ่ายและถือว่าเป็นต้องห้ามในการที่นางจะกระทำตามนั้นเพราะขัดด้วยหลักการศาสนาที่ระบุว่า
إنَّمَا الطَّاعَة فِي المَعْرُوْفِ إِذْ لا طَاعَةَ لِمخْلُوقٍ في مَعْصِيَةِ الخَالِقِ
“ อันที่จริง การฏออะฮฺเชื่อฟังนั้นเฉพาะในสิ่งที่ชอบธรรมตามบัญญัติศาสนา กล่าวคือ ไม่มีการฏออะฮฺเชื่อฟังต่อสิ่งที่ถูกสร้าง (มนุษย์ ) ในการฝ่าฝืน (คำสั่ง ) ของพระผู้ทรงสร้าง ”
ที่มา: alisuasaming.org