วิธีการซื้อบ้านของคนมุสลิม ที่บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน : islamhouses


3,474 ผู้ชม

วิธีการซื้อบ้านของคนอิสลาม ในหลักศาสนาอิสลามว่าด้วยระบบกฎหมายและระบบเศรษฐกิจ


วิธีการซื้อบ้านของคนอิสลาม ในหลักศาสนาอิสลามว่าด้วยระบบกฎหมายและระบบเศรษฐกิจ ที่บัญญัติไว้ใน "คัมภีร์อัลกุรอ่าน" กล่าวไว้ว่า ห้ามประกอบกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยแล้วเคยมีใครสงสัยหรือไม่ว่าถ้าเป็นเช่นนั้นคนอิสลามจะซื้อที่อยู่อาศัยในระบบผ่อนซื้อที่ต้องจ่ายสินเชื่อได้อย่างไร ในต่างประเทศ

โดยเฉพาะประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก จะมีธนาคารอิสลาม หรือสถาบันการเงินที่มีระบบการเงินตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อให้การประกอบกิจการต่าง ๆ ไม่ขัดกับหลักศาสนา ทั้งในแง่ของการฝากเงิน และการกู้เงิน การประกอบธุรกรรมทางการเงินนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินการก็คือ "ทุน" หากนำทุนไปใช้เพื่อการช่วยเหลือ คือให้กู้โดยไม่หวังผลตอบแทน ส่วนนี้ถือว่าไม่ผิดหลักศาสนาอิสลาม แต่หากนำทุนไปใช้หาประโยชน์ โดยการปล่อยกู้แล้วได้ผลตอบแทน ที่เข้าใจกันง่าย ๆ ว่า "ดอกเบี้ย" ส่วนนี้ถือว่าผิด

ทุนส่วนใหญ่ในระบบสถาบันการเงินคือ เงินฝากธนาคารทุกแห่งจำเป็นต้องกันเงินฝากจำนวนหนึ่งไว้เป็นเงินสำรองตามที่กฎหมายกำหนด เช่น หากรัฐบาลกำหนดให้ต้องกันเงินสำรองไว้ร้อยละ 10 ก็หมายความว่า หากธนาคารมีเงินฝาก 1,000,000 บาท ธนาคารก็สามารถจะปล่อยกู้ได้สูงสุดในวงเงิน 900,000 บาท และการได้ดอกเบี้ยจากการให้กู้เงินส่วนที่ผู้อื่นนำมาฝากนี่เอง ที่ในศาสนาอิสลามถือว่าผิดข้อบัญญัติเพราะผู้ฝากก็ย่อมได้ผลตอบแทนจากที่เงินฝากของตนไม่ก่อให้เกิดอกเบี้ย ฉะนั้น ในระบบธนาคารอิสลาม แม้จะมีการฝากเงินเหมือนกัน

แต่สถาบันการเงินนั้น เมื่อจะเอาไปปล่อยกู้ก็ต้องปล่อยเท่ากับจำนวนที่รับฝาก หมายความว่ารับฝากมา 1,000,000 บาท ก็ปล่อยกู้ได้ 1,000,000 บาท จะปล่อยกู้ 900,000 บาทไม่ได้เพราะถือว่าเป็นการให้กู้เพื่อการช่วยเหลือผู้อื่น ในขณะเดียวกันหากผู้กู้ได้ผลกำไรจากการกู้เงินที่นำไปประกอบกิจการ แล้วต้องการจ่ายกำไรคืนให้เจ้าของเงิน ส่วนนี้ผู้ให้กู้ก็สามารถรับได้ เพราะถือว่าไม่ได้ไปเรียกร้อง การซื้อที่อยู่อาศัยของคนอิสลามก็ต้องอยู่บนหลักการของระบบการเงินที่ไม่มีดอกเบี้ยเช่นกัน

กล่าวคือ คนอิสลามจะซื้อที่อยู่อาศัยในระบบผ่อนซื้อโดยวิธีการตกลงเงื่อนไขในการผ่อนชำระตั้งแต่ต้น หมายความว่า ผู้ให้กู้จะบวกดอกเบี้ยในสัญญาซื้อไว้ก็ได้ แต่ต้องเป็นสัญญาที่เป็นดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งเท่ากับได้มีการคำนวณต้นทุนไว้ตั้งแต่ต้น (ต้นทุนในที่นี้ก็คือต้นทุน+ดอกเบี้ย+ค่าดำเนินการ) แล้วค่อยนำต้นทุนนั้นมาหารเฉลี่ยตามจำนวนระยะเวลาในการผ่อนชำระ ซึ่งก็จะเป็นอัตราที่แน่นอนที่ผู้กู้จะผ่อนชำระในแต่ละเดือน

ปัจจะบันระบบการเงินในรูปแบบดังกล่าวได้มีการดำเนินการในประเทศไทยแล้ว 2 วิธี คือ

1. รูปแบบการบวกกำไรล่วงหน้า คำนวณเงินงวด Flat Rate โดยใช้สัญญาเงินกู้รองรับในระหว่างการใช้ทุน

2. รูปแบบการบวกกำไรล่วงหน้า คำนวณเงินงวดแบบ Constant Rate

โดยใช้สัญญาเช่าซื้อรองรับในระหว่างการใช้ทุน ส่วนในต่างประเทศได้มีรูปแบบที่แตกต่างจากที่กล่าวมาแล้วอีก 1 วิธี คือ รูปแบบหุ้นส่วนผสมกับค่าเช่า โดยใช้สัญญาหุ้นส่วนและสัญญาเช่ารองรับในระหว่างการใช้ทุน คนอิสลามจึงซื้อที่อยู่อาศัยได้ด้วยเหตุนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง:

เรื่องที่น่าสนใจ