ผู้หญิงเข้ากุโบร์ได้หรือไม่ ถ้าเขาตามเข้าไปมีความผิดเช่นใด?


14,703 ผู้ชม

เมื่อส่งมัยฮิต (ผู้ตาย) เข้ากุโบร์ (หลุมศพ)มุสลิมะฮฺที่เป็นญาติของมัสยิดจะตามเข้ากุโบร์ได้หรือไม่ ถ้าเขาตามเข้าไปถือว่ามีความผิดเช่นใด?...


ผู้หญิงเข้ากุโบร์ได้หรือไม่ ถ้าเขาตามเข้าไปถือว่ามีความผิดเช่นใด?

เมื่อส่งมัยฮิต (ผู้ตาย) เข้ากุโบร์ (หลุมศพ)มุสลิมะฮฺที่เป็นญาติของมัสยิดจะตามเข้ากุโบร์ได้หรือไม่ ถ้าเขาตามเข้าไปถือว่ามีความผิดเช่นใด?

หะดีษที่ 1 ท่านอับดุลลอฮฺ บุตรของอบู มุลัยกะฮฺเล่าว่า “วันหนึ่งท่านหญิงอาอิชะฮฺได้มุ่งหน้าไปยัง กบุรฺ ฉันจึงกล่าวถามนางว่า โอ้มารดาแห่งปวงผู้ศรัทธาจะมุ่งหน้าไปไหนหรือ? นางตอบว่า ฉันจะไปยังกุโบร์พี่ชายของฉันที่ชื่ออับดุลลอฮฺ บุตรของอบูบักร ฉันจึงกล่าวถามนางว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) มิได้ห้ามสตรีเยี่ยมกุบูรฺกระนั้นหรือ? นางกล่าวตอบว่า ถูกต้องแล้ว ปรากฏว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.)  เคยกล่าวห้ามไว้ แต่ภายหลังจากนั้นท่านรสูล (ซ.ล.) ก็อนุญาตให้สตรีเยี่ยมกุบูรได้”

(บันทึกโดยบัยหะกีย์ หะดีษที่ 7308 และท่านหากิม หะดีษที่ 1392)

หะดีษที่ 2 ท่านอนัส บุตรของมาลิก เล่าว่า “ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) เดินผ่านสตรีนางหนึ่งกำลังร้องไห้อยู่บริเวณกุโบร์หนึ่ง ท่านจึงกล่าวปลอบใจว่าเธอจงยำเกรงอัลลอฮฺและเธอจงอดทนเถิด! นางกล่าว ตอบว่า ท่านจงออกห่างไกลจากตัวฉันเถิด เพราะท่านมิได้ประสบเฉกเช่นฉันกำลังประสบอยู่ (นางกล่าวเช่นนั้นเนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นท่านรสูล (ซ.ล.)

จากนั้นมีผู้กล่าวแก่นางว่าชายผู้นั้นคือ ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ต่อมานางได้มาที่ประตูบ้านของท่านท่านรสูล (ซ.ล.)  ซึ่งนางไม่พอผู้ที่เฝ้าประตูบ้านของท่าน (เมื่อนางพบท่านรสูล(ซ.ล.) นางจึงกล่าวขอโทษท่านรสูล (ซ.ล.) ว่า ฉันไม่รู้ว่าท่านเป็นใคร (จึงแสดงอาการเสียมารยาทเช่นนั้น) ท่านรสูล (ซ.ล.)  กล่าวตอบว่า แท้จริงการอดทนจะ อยู่ในช่วงแรกเท่านั้น”

(บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 1194, มุสลิม หะดีษที่ 926, อบูดาวูด หะดีษที่ 312 อบูยุอฺลา หะดีษที่ 3504 และบัยหะกีย์ หะดีษที่ 7228

ผู้หญิงเข้ากุโบร์ได้หรือไม่ ถ้าเขาตามเข้าไปมีความผิดเช่นใด?

หะดีษที่ 3 ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า

“ฉันเคยถามท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ว่าฉันจะกล่าวอย่างไร โอ้ท่านรสูลของอัลลอฮฺ (ซ.ล.) (เมื่อฉันเยี่ยมกุบูรฺ) ท่านรสูล (ซ.ล.) กล่าวตอบว่า เธอจงกล่าวว่า

“อัสสลามุ อะลา อะฮฺลิดดิยารฺ มินัลมุอฺมินีน วัลมุสลิมีนวะยัรฺ หะมุลลอฮุล มุสตักดิมีน มินนา วัลมุสตะอฺคิรีน วะอินนา อินชาอัลลอฮฺ บิกุมลาหิกูน”

ความว่า ขอความสันติสุขจงมีแด่ชาวเคหะแห่งนี้ (ชาวกุบูรฺ) ทั้งที่เป็นบรรดามุอฺมินและบรรดามุสลิม และขอพระองค์ทรงโปรด เมตตาแก่บรรดาผู้ล่วงลับไปแล้ว และบรรดาผู้ที่อยู่รั้งหลังในหมู่พวกเรา และหากพระองค์อัลลอฮฺทรงประสงค์ เราจะติดตามไปหาพวกท่าน”

(บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 1619, นะสาอีย์ หะดีษที่ 2010 และอะหมัด หะดีษที่ 24671)

สรุปจากหะดีษทั้งสามข้างต้นได้ดังนี้

หะดีษแรกกล่าวถึงการห้ามสตรีมุสลิมเข้ากับกุบูรฺ เพราะช่วงแรก ของการเข้ารับอิสลามของบรรดาสตรีในยุคนั้นพวกนางยังคงปฏิบัติสิ่งที่เป็นญาฮิลียะฮฺอยู่ดังนั้นท่านนบี (ซ.ล.) จึงห้ามสตรีเข้ากุบูรในช่วงแรก ส่วนกรณีที่ภายหลังพวกนางได้เข้าใจอิสลามอย่างถ่องแท้แล้วท่านนบี (ซ.ล.) จึงอนุญาตให้พวกนางเข้ากุโบร์ได้

ดังหลักฐานของท่านหญิง อาอิชะฮฺในหะดีษบทแรก ส่วนหะดีษที่สอง ท่านรสูล (ซ.ล.) เห็นสตรีนางหนึ่งร้องไห้ที่กุบูรฺ ท่านรสูล (ซ.ล.) จึงกล่าวปลอบใจให้นางยำเกรง พระองค์อัลลอฮฺและอดทนต่อการสูญเสียดังกล่าว ซึ่งท่านนบี (ซ.ล.) มิได้ ตำหนิที่นางเป็นสตรีแล้วเข้ามานั่งในกุโบร์

ฉะนั้นจึงเป็นหลักฐานชี้ชัด ว่าอนุญาตให้สตรีเข้ากุบูรฺได้ส่วนหลักฐานสุดท้ายท่านหญิงอาอิชะฮฺ ถามท่านรสูล (ซ.ล.) เกี่ยวกับมารยาทในการเข้ากุบูรฺนั้น มีสำนวนการ ขอดุอาอฺว่าอย่างไร จากนั้นท่านรสูล (ซ.ล.) ก็สอนนางให้อ่านดุอาอฺเข้ากุโบร์ ซึ่งถ้าหากศาสนาห้ามสตรีเข้ากุบูรฺ ทำไมท่านรสูล (ซ.ล.) จึงไม่บอก ท่านหญิงอาอิชะฮฺในทำนองที่ว่า เธอไม่ต้องกล่าวอะไรเพราะอิสลามห้ามสตรีเข้ากุโบร์อยู่แล้ว

จากหลักฐานที่ยกมาข้างต้นทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า อิสลามอนุญาตให้สตรีมุสลิมเข้ากับกุโบร์ได้ ถึงแม้ว่านางจะมีประจำเดือนก็ตาม

อัพเดทล่าสุด