7 อารมณ์ของมนุษย์ นัฟซู วิธีต่อสู้กับนัฟซู มนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น 7 อารมณ์ ดังนี้
7 อารมณ์ของมนุษย์ นัฟซู วิธีต่อสู้กับนัฟซู
มนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น 7 อารมณ์ ดังนี้
1. นัฟซู อัมมาเราะฮฺ เป็นนัฟซูที่ชั่วช้าที่สุด เพราะเป็นนัฟซูของชัยตอน มีแต่เรื่องชั่วช้า หาดีไม่ได้ เรียกได้ว่า เป็นเจ้าแห่งความเลว
2. นัฟซู เลาวามะฮฺ เป็นนัฟซูของสัตว์ ไม่มีการพิจารณาใดๆ ไม่ว่าจะดีหรือเลว เอาแต่ "อารมณ์อยาก" ของตัวเองเป็นใหญ่
3. นัฟซู มุ้ลฮามะฮฺ นัฟซูที่ถูกแบ่งครึ่งระหว่างมนุษย์และสัตว์ แบ่งครึ่งระหว่างความดี กับความชั่วเท่าๆ กัน คือ หมายความว่า ความดีก็ทำ ความชั่วก็ไม่ทิ้ง
4. นัฟซู มุตมะอินนะฮฺ ใครมีนัฟซูนี้มาก นับว่าดีที่สุดของมนุษย์ทั่วไป เป็นนัฟซูแรกที่ถูกเชิญเข้าสวรรค์ของอัลลอฮฺ เพราะเป็นนัฟซูที่มีการยับยั้งชั่งใจ
5. นัฟซู รอดียะฮฺ เป็นนัฟซูที่สามารถตัดกิเลสได้ ทั้ง รัก โลภ โกรธ หลง แม้มีผู้ใดดำเนินตามนัฟซูนี้ เรียกว่า เป็นบุคคลซูฟีชั้นสูงเต็มขั้น
6. นัฟซู มัรดียะฮฺ เป็นนัฟซูที่อัลลอฮฺยอมให้ของระดับคน
"การอมัต" เหนือกว่าบุคคลที่มีระดับเป็นตำแหน่งของบรรดา "วลี" ทั่วไป บุคคลประเภท
นี้จึงมักจะพูดคำไหนคำนั้น เพราะเป็นบุคคลที่อัลลอฮฺทรงอนุญาตยอมให้เป็นบุคคลที่ละแล้วซึ่งทางโลก
ดังนั้น การที่จะเป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ได้นั้น จะต้องประกอบหรือปะปนกันอยู่ทั้ง
ภาพจากอินเทอร์เน็ต
6 นัฟซูที่กล่าวมา จึงเรียกได้ว่า "คน" ได้ เมื่อเป็นมนุษย์สมบูรณ์แล้ว คือ มีทั้งฝ่ายอารมณ์ดีและอารมณ์ร้ายอยู่ในตัวมนุษย์แล้ว ความสมบูรณ์ตัวนี้แหล่ะ เขาเรียกว่า " นัฟซูที่ 7 เรียกว่านัฟซู กามิลียะห์ เป็นตัวตัดสินว่านี่คือ "คน" เพราะในคำว่า คน นั้นจะต้องปะปนกันทั้งความดีและความชั่ว
การต่อสู้นัฟซูมี 6 เงื่อนไข
พระองค์อัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวไว้ว่า “บุคคลใดก็ตามที่ต่อสู้ในหนทางของเราอย่างแท้จริง แน่นอนอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) จะชี้ทางนำให้แก่เขา แท้จริงอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) นั้นอยู่กับคนที่ทำคุณงามความดี”
เนื่องจากนัฟซูเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของมนุษย์มันเป็นหนทางให้กับซัยตอน เพื่อที่จะทำการหลอกลวงมนุษย์ให้หลงผิด ถ้าหากเราต่อสู้กับนัฟซูแต่เรากลับพ่ายแพ้ต่อมันก็เท่ากับว่าเราพ่ายแพ้ต่อการอบรมตัวเราให้เป็นคนดี แล้วเราจะไปอบรมผู้อื่นได้อย่างไร ?
นี่แหละคือ ความล้มเหลวของบรรดาผู้นำ บรรดาครู อาจารย์ พ่อแม่ หรือผู้ที่ทำการอบรมทั้งหลาย ปัญหาอยู่ที่ว่าพวกเขามัวแต่อบรมให้ผู้อื่นให้มีความถูกต้อง เป็นคนดี แต่ตัวเขาเองกลับล้มเหลวในการต่อสู้กับนัฟซู พวกเขาไม่อบรมตัวเองให้สำเร็จเสียก่อน ก่อนที่จะอบรมผู้อื่น ปัญหาในสังคมในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นคือการพ่ายแพ้นัฟซู ถ้าเราพ่ายแพ้นัฟซู เราจะถูกกระตุ้นให้ทำความชั่วอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เราจะต้องมีการอบรมนัฟซูของตัวเรา
แนวทางในการต่อสู้นัฟซู ดังนี้
1. ต้องเข้าใจศาสนา
เราไม่มีความรู้ด้านศาสนา เราก็ไม่รู้ว่านัฟซูคือศัตรูของเรา เราเลยตามใจมัน เราไม่รู้ถึงความต้องการของเรา ไม่รู้ว่าทำสิ่งใดได้สิ่งใดไม่ได้ สิ่งใดฮาลาลสิ่งใดฮารอม แล้วเราก็ไม่รู้จะอบรมนัฟซูอย่างไร
2. ยับยั้งสิ่งที่ไม่ดี
การยับยั้งไม่ให้กระทำสิ่งที่ไม่ดีมันช่างทรมานอย่างยิ่ง เช่นคนที่หัดสูบบุหรี่มาตั้งแต่เล็กๆ เมื่อมีอายุมากหรือแก่เฒ่า คิดจะเลิกสูบบุหรี่ ไม่ใช่ของง่าย มันยากเหลือเกินในการที่จะเลิกบุหรี่ เพราะมันซึมลึกเข้าไปในหัวใจของเราแล้ว
3. สนับสนุนความต้องการในทางบวก
คือสนับสนุนในการกระทำในสิ่งที่ดีของเรา ซึ่งก็ยากเหลือเกินในการที่เราจะทำความดี ดังนั้นเมื่อเราอยากทำดี เราจะต้องรีบให้การสนับสนุนในการทำดีนั้น เช่น การที่เราเห็นคนทุกข์ยากลำบาก เรามีความสงสารอยากจะช่วย เราจะต้องรีบเร่งสนับสนุนทันทีในความคิดนั้น และรีบปฏิบัติในทันที
ภาพจากอินเทอร์เน็ต
4. อิสตีกอมะห์ คือทำอย่างต่อเนื่อง
ในการที่เราจะทำการต่อสู้กับนัฟซู ต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ดี สิ่งนี้เรียกว่าการมูญาฮาดะห์ ในการมูญาฮาดะห์เราจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง เช่น ในการที่เราทำการละหมาดตะรอเวียะฮ์ เรารู้สึกง่วง เราต้องต่อสู้ฝืนมันจนละหมาดสำเร็จ นั่นแหละคือการมูญาฮาดะห์ แต่เราจะต้องทำการมูญาฮาดะห์อย่างต่อเนื่องไม่ใช่ทำเป็นฤดู คือวันไหนที่เราคิดจะต่อสู้เราก็ทำอย่างจริงๆ จังๆ แต่วันใดที่ขี้เกียจเราก็ทิ้ง เช่น วันไหนเราขยันอยากจะต่อสู้กับนัฟซูเราก็ตื่นละหมาดตะฮัจยุต ตั้งแต่ตี 3 ละหมาดจนถึงซูโบะห์ แต่วันใดที่เราขี้เกียจแม้แต่ละหมาดซูโบะห์เราก็ยังตื่นสาย อย่างนี้แน่นอนการต่อสู้ของเราย่อมพบกับความพ่ายแพ้
5. จำเป็นต้องมีครูมุรชิด (ครูทางจิตวิญญาณ)
เพื่อเป็นที่ปรึกษาในปัญหาต่างๆ คอยให้คำชี้แนะ ให้คำแนะนำในสิ่งที่เราผิดพลาดไป
6. ต้องปฏิบัติในชีวิตจริง
ในการฝึกฝนคนหนึ่งเพื่อทำการเรียนรู้ ท่องจำ ในตัวบทเกี่ยวกับการซอบัร อดทน แต่เราไม่ได้นำพาไปสู่ชีวิตจริง เมื่อเขาเข้าสู่สังคมเขาต้องเจอกับสังคมที่ไม่ดี เขาก็ซอบัรไม่ได้ เพราะในสังคมมีแต่ผู้คนที่คอยเอารัดเอาเปรียบ อิจฉาริษยา แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันอยู่ตลอดเวลา นี่คือสาเหตุที่นักศึกษาที่เรียนอยู่ในสถาบันศาสนาสูงๆ เขาใช้เวลาในการเล่าเรียนเป็นเวลานาน แต่ปรากฏว่าเมื่อเขาจบออกมาสู่สังคม เขาไม่สามารถปฏิบัติในสิ่งที่เขาร่ำเรียนมาได้ เขาต้องพ่ายแพ้กับมัน ทฤษฏีที่เขาเรียนมาหายหมด เขากลายเป็นทาสของสังคม สภาพของนักศึกษาเหล่านี้เหมือนกับทหารที่มีอาวุธมากมายแต่ไม่ได้เอามาฝึก หรือทดลองใช้มันเลย สักวันหนึ่งเกิดมีสงครามขึ้น แน่นอนพวกเขาต้องพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายศัตรูอย่างแน่นอน
ที่มา: แนวทางแห่งอิสลาม, ansor-ansunnah.tripod.com