พ่อแม่ อย่าได้เสียใจน้อยใจไป หากลูกของคุณมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ดื้อ หรือ ไม่เชื่อฟัง มีดุอาอฺมาแนะนำ
ลูกดื้อมาก ไม่เชื่อฟัง แนะนำดุอาอฺบทนี้
ความดื้อ คือพัฒนาการตามวัยของเด็กอย่างหนึ่ง การที่เด็กเล็กวัย 0-6 ปี แสดงอาการต่อต้านพ่อแม่ เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตและพัฒนาการของเขา
ลูกดื้อ คือ การที่ลูกกำลังทดสอบกรอบที่พ่อแม่วางไว้ เพื่อดูว่าตัวเองอยู่ในภาวะที่เข้มงวดแค่ไหน
ลูกดื้อ ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้าย เป็นการแสดงออกถึงการเติบโตทางจิตใจว่า ลูกของคุณกำลังคิดด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะใช้เหตุผล และตัดสินใจเลือก
ในฐานะพ่อแม่คุณควรรู้ให้ทันพัฒนาการของลูกน้อย และเตรียมตัวเตรียมใจรับมือให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยนั้นๆ
ทำไมลูกร้องไห้เอาแต่ใจ ธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาล้วนต้องการความสุขสมหวัง เด็กเล็กๆ ก็เช่นกัน แต่ธรรมดาของโลกอีกเช่นกันที่ไม่มีใครสามารถสุขสมหวังได้ตลอดเวลา เมื่อเด็กไม่ได้ดั่งใจขึ้นมาก็เกิดความคับข้องใจ เขาจึงต้องบรรเทาอาการคับข้องใจนั้นและขอด้วยอาวุธที่ติดตัวมาแต่เกิด คือการร้องไห้โวยวาย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราต้องให้ลูกบรรเทาด้วยวิธีนี้ตลอดเวลา เพราะเมื่อเราช่วยลูกควบคุมอารมณ์ร้องไห้เอาแต่ใจเป็น ระดับความอึดหรือความอดทนต่อความคับข้องใจของลูกก็จะสูงขึ้น หรือพูดง่ายๆ ว่า ลูกจะรู้จักผิดหวัง อดทน และรู้จักตัดใจเก่งยิ่งขึ้น
หากพ่อแม่ชัดเจนว่าต้องการอะไรจากลูก เด็กจะปรับตัวได้ง่ายและเร็ว ไม่ร้องไห้นาน นั่นคือพ่อแม่ต้องมีกฎในใจตนเองแล้วบังคับใช้ให้เป็น แต่สำหรับพ่อแม่บางคนยังไม่ค่อยแน่ใจเลยว่าเรื่องนี้จะเอาจริงดีไหม เช่น ลูกไม่แปรงฟันได้ไหม หรือบางคนชัดเจนว่ามีกฎ แต่ตอนบังคับใช้กลับไม่จริงจัง หากพ่อแม่เบลอๆ เอาแน่เอานอนไม่ได้ ลูกก็จะมึนงงไปด้วย การปรับตัวสร้างสมดุลให้ตนเองของลูกระหว่างเชื่อตนเองกับเชื่อพ่อแม่ก็จะยากและกินเวลานาน บางคนร้องไห้เอาแต่ใจไปจนถึง 7-8 ขวบก็มี
อย่าลืมว่า การทำให้เด็กสร้างสมดุลระหว่างการเป็นตัวของตัวเองกับการเชื่อฟังพ่อแม่นั้นไม่ใช่เกมแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เมื่อพ่อแม่เห็นพฤติกรรมร้องไห้เอาแต่ใจขอให้ใช้ “เทคนิคเพิกเฉย” ทันที เทคนิคนี้สามารถทำได้เมื่อลูกอายุประมาณ 1 ขวบขึ้นไป
ลูกดื้อมาก ไม่เชื่อฟัง แนะนำดุอาอฺบทนี้
พ่อแม่ อย่าได้เสียใจน้อยใจไป หากลูกของคุณมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ดื้อ หรือ ไม่เชื่อฟัง มีดุอาอฺมาแนะนำ จะขอเวลาใด สถานที่ใดก็ได้ตามสะดวก อินชาอัลลอฮฺ
اللَّهُ لَطِيفٌ بِعِبَادِهِ يَرْزُقُ مَن يَشَاءُ وَهُوَ الْقَوِيُّ الْعَزِيزُ
คำอ่าน: อัลลอฮุ ล่าตีฟุน บิอิบาดิฮี ยัรซุกู้ มันย่าชาอู้ ว่าฮุวัลก่อวียุล อ้าซีซ
ความว่า: อัลลอฮฺทรงเอ็นดูต่อปวงบ่าวของพระองค์ ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงอำนาจ (ซูเราะฮฺ อัซซูรอ : 19)
ส่วนหนึ่งจากดุอาอฺที่ขอให้ลูก
رَبِّ اجْعَلْنِي مُقِيمَ الصَّلاةِ وَمِنْ ذُرِّيَّتِي رَبَّنَا وَتَقَبَّلْ دُعَاءِ
ความว่า: ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดให้ข้าพระองค์และลูกหลานของข้าพระองค์ เป็นผู้ดำรงการละหมาด โอ้พระผู้เป็นเจ้าของเรา ขอพระองค์โปรดทรงตอบรับการวิงวอนด้วยเถิด
رَبَّنَا وَاجْعَلْنَا مُسْلِمَيْنِ لَكَ وَمِنْ ذُرِّيَّتِنَا أُمَّةً مُسْلِمَةً لَكَ
ความว่า: พระผู้อภิบาลของเรา ขอพระองค์โปรดทรงทำให้เราทั้งสองเป็นผู้นอบน้อมต่อพระองค์ และโปรดทรงทำให้ลูกหลานของเราเป็นชนชาติที่นอบน้อมต่อพระองค์ด้วยเถิด
ข้อมูลบางส่วนจาก: www.samitivejhospitals.com