“ดุอาอ์” คือ อิบาดะห์ คือ ความรักจากอัลลอฮ์


838 ผู้ชม

“ดุอาอ์” คือมุ่งหวังยังอัลลอฮ์เจ้าให้ประทานในสิ่งที่ปรารถนา และให้รอดพ้นและปลอดภัยจากสิ่งที่น่ารังเกียรติและเลวร้าย


اَلْحَمْدُ ِللهِ نَحْمَدُهُ وَنَسْتَعِيْنُهُ وَنَسْتَغْفِرُهُ وَنَتُوْبُ إِلَيْهِ وَنَعُوْذُ بِاللهِ مِنْ شُرُوْرِ أَنْفُسِنَا . وَمِنْ سَيِّئَاتِ أَعْمَالِنَا . مَنْ يَهْدِ هِ اللهُ فَلاَ مُضِلَّ لَهُ . وَمَنْ يُضْلِلْهُ فَلاَ هَادِيَ لَهُ . أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَشَرِيْكَ لَهُ . لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ يُحْيِيْ وَيُمِيْتُ وَهُوَعَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيْرٌ . وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ أَعْرَفُ النَّاسِ بِرَبِّهِ وَأَصْدَقُهُمْ تَمَسُّكًا بِتَعَالِيْمِهِ . اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى مُحَمَّدٍوَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ . وَمَنْ تَبِعَ سُنَّتَهُ وَاهْتَدَى بِهَدْيِهِ إِلَى يَوْمِ الدِّيْنِ .

أَمَّا بَعْدُ فَيَا أَيُّهَا النَّاسُ . أُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ أَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهِ . فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِيْ اْلقُرْآنِ الْكَرِيْمِ . أَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ . وَاْلعَصْرِ إِنَّ اْلإِنْسَانَ لَفِيْ خُسْرٍ إِلاَّ الَّذِيْنَ آمَنُوْا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ وَتَوَاصَوْا بِالْحَقِّ وَتَوَاصَوْا بِالصَّبْرِ . صَدَقَ اللهُ اْلعَظِيْمُ

นิยามของคำว่า اَلدُّعَاءُ อัดดุอาอ์ ตามหลักภาษาคือ การแสวงหา และนิยามตามหลักชะเราะอ์ คือ ความมุ่งหวังยังอัลลอฮ์เจ้าให้ประทานในสิ่งที่ปรารถนา และให้รอดพ้นและปลอดภัยจากสิ่งที่น่ารังเกียรติและเลวร้าย

การขอดุอาอ์ เป็นอิบาดะห์ที่ประเสริฐ เพราะ

1. เป็นการภักดีต่ออัลลอฮ์

2. แสดงถึงความอิคลาส إِخْلاَصُ ของบ่าว

บทความที่น่าสนใจ

3. ปกป้องบ่าวให้พ้นจากบาลาอ์

4. การขอดุอาอ์เป็นประจำจะนำมาซึ่งการตอบรับ และความรักจากอัลลอฮ์

5. การขอดุอาอ์ คือการรำลึกยังอัลลอฮ์ กล่าวคือเป็นการซิกรุลเลาะห์

ดังนั้น ข้อชี้ขาดของฮุ่ก่มในการของดุอาอ์ คือ เป็นการสมควรยิ่ง ณ บรรดานักวิชาการฟิกฮ์ นักรายงานหะดีษ และบรรดาอุละมาอ์ส่วนใหญ่จากชนสลัฟและค่อลัฟ

อัลลอฮ์ตรัสว่า

وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ إِنَّ الَّذِينَ يَسْتَكْبِرُونَ عَنْ عِبَادَتِي سَيَدْخُلُونَ جَهَنَّمَ دَاخِرِينَ : سورة غافر : الآية 60

ความว่า “และพระเจ้าของพวกเจ้าตรัสว่า จงวิงวอนขอต่อข้า ข้าจะตอบรับแก่พวกเจ้า ส่วนบรรดาผู้โอหังต่อการเคารพภักดีแก่ข้านั้น จะเข้าไปอยู่ในนรก สภาพที่ต่ำต้อย”

และมีรายงานจากท่าน อันนัวะอ์มาน บุตรบะชีร (ร.ฎ.) ว่า

عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَّيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : إِنَّ الدُّعَاءَ هُوَ الْعِبَادَةُ : رواه الاربعة

ความว่า “จากท่านนบีกล่าวว่า แท้จริงการขอดุอาอ์คืออิบาดะห์”

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก”

การขอดุอาอ์ที่จะได้มาซึ่งผลของการขอนั้น จึงมี ( آدَابُ الدُّعَاءِ ) มารยาทหรือระเบียบ โดยท่านมุฮัมมัดเญาดะห์ เซาวาน (مُحَمَّدُ جَوْدَهُ صَوَّانُ) ได้เรียบเรียง และนำเสนอพร้อมตัวบทหลักฐานจากหะดีษ ในหนังสือชื่อว่า (اْلإِقْتِدَاءُ فِي الذِّكْرِ وَالدُّعَاءِ ) ซึ่งมีระเบียบดังกล่าวต่อไปนี้

1. إِسْتِقْبَالُ اْلقِبْلَةِ ผินหน้าไปทางทิศกิบลัต

2. رَفْعُ الْيَدَيْنِ ให้ยกฝ่ามือทั้งสองขึ้น

3. اَلْبَدْءُ بِحَمْدِ اللهِ เริ่มการขอดุอาอ์ด้วยการสรรเสริญอัลลอฮ์

4. اَلْبَدْءُ بِالصَّلاَةِ عَلَى النَّبِيّ صَلَّى اللهُ عَلَّيْهِ وَسَلَّمَ وَالْخَتْمُ بِهَا كَذَلِكَเริ่มและจบการขอดุอาอ์ด้วยการกล่าวซอลาหวาตท่านนบี

5. اَلْبَدْءُ بِالنَّفْسِ เริ่มขอดุอาอ์ให้แก่ตัวเองก่อนที่จะขอให้แก่ผู้อื่น

6. اَلْعَزْمُ فِي الطَّلْبِ จริงใจและเน้นหนักในการขอ

7. اَلإلْحَاحُ فِي الدُّعَاءِ มีความมุ่งมั่นในการขอดุอาอ์ เช่นกล่าวย้ำ 3 ครั้ง

8. َاْلإِيْقَانُ بِاْلإِجَابَةِ มีความมั่นใจว่าอัลลอฮ์จะทรงตอบสนองคำขอดุอาอ์

9. تَوْفِيْرُشُرُوْطِ قَبُوْلِ الدُّعَاءِ كَالْغِنَى وَالرِّضَا بِالْحَلاَلِ وَالْبُعْدِعَنِ الْحَرَامِ وَفِعْلِ الْوَاجِبَاتِ ให้ครบเงื่อนไขของการขอที่ถูกตอบรับ เช่น พอใจและพอเพียง ด้วยการงานที่หะล้าลและออกห่างไกลจากของหะรอม พร้อมปฏิบัติสิ่งที่เป็นวายิบ

10. اَلاَّ يَتَعَجَّلَ الدَّاعِيْ اَلْلإِجَابةَ ผู้ขอดุอาอ์ต้องไม่รีบเร่งในการตอบสนองคำขอดุอาอ์จากอัลลอฮ์

11. اَلاَّ يَدْعُوْ بِمَعْصِيَةٍ จะต้องไม่วิงวอนขอในสิ่งที่ละเมิดบัญญัติศาสนา

12. خَتْمُ الدُّعَاءِ بِالتَّاْمِيْنِ لِطَلَبِهِ وَالْحَمْدِ ِللهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ จบการขอดุอาอ์ด้วยการกล่าวอามีน และสรรเสริญต่ออัลลอฮ์ และเป็นที่สำคัญหลังจากระเบียบแล้ว เขาต้องระวังรักษาข้อสำคัญต่อไปนี้

คือ : ให้มีความสะอาดทั้งภายนอกและภายในใจ มีความละอายที่จะละทิ้งในสิ่งที่เป็นบัญญัติใช้ และมีความละอายที่จะปฏิบัติสิ่งที่เป็นบัญญัติห้าม ออกห่างไกลจากสิ่งต้องห้ามโดยรวมและห่างไกลจากการกินหรือดื่ม หรืออาภรณ์สวมใส่ที่มาจากของหะรอม

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ اْلعَظِيْمَ ِليْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَ اْلغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ

อัพเดทล่าสุด