แนะนำวิธีละหมาดให้ คู่ชั๊วะ ได้อย่างไร? : islamhouses


1,611 ผู้ชม

วิธีการละหมาด 5 เวลา วิธีการละหมาดของอิสลาม เวลาในการละหมาด ขั้นตอนการละหมาดฟัรดู


แนะนำวิธีละหมาดให้ คู่ชั๊วะ ได้อย่างไร ?

วิธีการละหมาด 5 เวลา วิธีการละหมาดของอิสลาม เวลาในการละหมาด ขั้นตอนการละหมาดฟัรดู

การละหมาด หรือ สวด (นมาซ หรือ นมัสการ) การละหมาดหรือการนมัสการพระเจ้าคือการแสดงความเคารพต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า การสำรวมจิตระลึกถึงพระเจ้า

การละหมาดเป็นการขัดเกลาจิตให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพลังให้แข้มแข็ง การสำรวมจิตหรือการทำสมาธิเพื่อมิให้จิตใจวอกแวกไปในเรื่องต่างๆ เป็นภาวะที่จิตใจได้เข้าไปสัมผัสกับความเป็นเอกภาพกับพระเจ้า ทำให้จิตสงบ ตั้งมั่น อดทน ผู้ที่มีความทุกข์และประสบปัญหาชีวิตในด้านต่างๆ

แนะนำวิธีละหมาดให้ คู่ชั๊วะ ได้อย่างไร?

การละหมาดเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด ทั้งยังฝึกตนเองให้ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ให้อยู่ในระเบียบวินัย รักษาความสะอาด และยังเป็นการบริหารร่างกายอย่างดียิ่ง หากเป็นการละหมาดรวมยังเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีพร้อมเพรียง ความเสมอภาค และภราดรภาพอีกด้วยการทำละหมาด เป็นกิจที่ต้องทำเป็นประจำในหลายวาระ คือ   

1. รอบวัน ผู้เป็นมุสลิมจะต้องทำละหมาดวันละ 5 เวลา คือ          

1.1 เวลาย่ำรุ่ง เรียกว่า ละหมาดซุบหฺ ปฏิบัติ 2 ร็อกอะฮ์           

1.2 เวลากลางวัน เรียกว่า ละหมาดดุฮฺริอฺ ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์           

1.3 เวลาเย็น เรียกว่า ละหมาดอัศริ ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์            

1.4 เวลาพลบค่ำ เรียกว่า ละหมาดมัฆริบ ปฏิบัติ 3 ร็อกอะฮ์      

1.5 เวลากลางคืน เรียกว่า ละหมาดอิชาอ์ ปฏิบัติ 4 ร็อกอะฮ์  

2. รอบสัปดาห์ ให้รวมทำกันในวันศุกร์ ณ มัสยิดสถาน จำนวน 2 ร็อกอะฮ์      

3. รอบปี ในรอบปีหนึ่งให้ทุกคนมาปฏิบัติการละหมาด ณ มัสยิดหรือสถานชุมนุมซึ่งมี 2 ครั้ง คือ         

3.1 ละหมาดเมื่อสิ้นเดือนถือศีลอด (อีดุลพิฏร์) ซึ่งเรียกว่า "วันออกบวช" จำนวน 2 ร็อกอะฮ์               

3.2  ละหมาดในวันเชือดสัตว์พลีทาน เนื่องในเทศกาลฮัจญ์ (อีดุลอัฏฮา) ซึ่งเรียกว่า "วันออกฮัจญ์"จำนวน 2 ร็อกอะฮ์            

4. ตามเหตุการณ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์บางประการให้ละหมาดด้วย เช่น  

4.1 ทำละหมาดขอพรแก่ผู้ตายก่อนนำไปฝัง เรียกว่า "ละหมาดญะนาซะฮ์"        

4.2 ทำละหมาดขอฝน ในยามแห้งแล้ง เรียกว่า "ละหมาดอิสติสกออ์"         

4.3 ทำละหมาดในกลางคืนของเดือนถือศีลอดจำนวน 20 ร็อกอะฮ์ เรียกว่า "ละหมาดตะรอวีห์"     

4.4 ทำละหมาดระลึกถึงพระเจ้า เมื่อเกิดผิดปกติทางธรรมชาติ คือ 

     4.4.1 เมื่อเกิดจันทรุปราคา เรียกว่า "คูซูฟุลกอมัน" จำนวน 2 ร็อกอะฮ์       

     4.4.2 เมื่อเกิดสุริยุปราคา เรียกว่า  "กุซูฟุซซัมซิ"  จำนวน 2 ร็อกอะฮ์        

4.5 ทำละหมาดขอต่อพระเจ้า ให้ชี้ทางเลือกในการประกอบการงานที่ตัวเอง ตัดสินใจไม่ได้ เรียกว่า ละหมาด "อิสติคงเราะย์" จำนวน 2 ร็อกอะฮ์

บทความที่น่าสนใจ

คู่ชั๊วะ คือ ความสงบที่ก่อเกิดจากความเคารพ สงบทั้งกิริยา วาจา และจิตใจ เป็นการวิปัสสนาด้วยหัวใจ ในสภาพที่กิริยาเคลื่อนย้าย เพื่อแสดงความเคารพสักการะต่ออัลลอฮ์ เป็นการฝึกฝนการมีสมาธิในสภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดประโยชน์จริงในสภาพของความเป็นจริง ถือเป็นสมาธิที่ล้ำลึกมากกว่าการมีสมาธิที่ฝึกฝนหรือกำหนดขึ้นในสภาพนั่ง นอนหรือยืนอย่างหนึ่งอย่างใด แต่เพียงประการเดียว เพราะอิสลามต้องการให้เอาสมาธิไปใช้ในชีวิตจริง ไม่เพียงแต่มานั่งขัดสมาธิเท่านั้น เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่า การนั่งสมาธิอย่างเดียวจะทำให้อิริยาบถอื่นๆ ไม่มีสมาธิ

คู่ชั๊วะ เป็นงานของหัวใจ หัวใจเป็นนายหรือเป็นผู้บริหาร ผู้นำของอวัยวะทั้งหมดภายในร่างกาย คือหัวใจที่กำกับหัวใจดวงที่เป็นก้อนเนื้อนี้ มิใช่หัวใจที่คือก้อนเนื้อก้อนนี้

ท่านรอซูล เห็นคนๆ หนึ่งละหมาดด้วยท่าทีที่ไม่สงบ ท่านกล่าวว่า หากหัวใจของเราสงบ ร่างกายก็จะสงบด้วย อัลลอฮ์ ได้กล่าวไว้ในกุรอาน

قَدْ أَفْلَحَ الْمُؤْمِنُوْنَ اَلَّذِيْنَ هُمْ فِيْ صَلاَتِهِمْ خَاشِعُوْنَ المؤمنون 1-2

“บรรดาศรัทธาชน ย่อมได้รับชัยชนะ ศรัทธาชนนั้นคือผู้ที่การละหมาดของพวกเขามีคู่ชั๊วะ(สงบ)”

อนึ่งในเรื่องผลตอบแทนของการละหมาดนี้ บางโองการกล่าวว่า

فَوَيْلٌ لِلْمُصَلِّيْنَ اَلَّذِيْنَ هُمْ عَنْ صَلاَتِهِمْ سَاهُوْنَ الماعون 4-5

“เหวในขุมนรกจะประสพแก่บรรดาผู้ละหมาด ที่การละหมาดของพวกเขา พวกเขาเลินเล่อ”

จึงสรุปได้ว่า บางคนละหมาดแล้ว แต่ยังไม่เรียกว่าเขาละหมาด การละหมาดจึงต้องกระทำด้วยสมอง และหัวใจ มิใช่ด้วยเรือนร่าง หรือการแสดงออกด้วยพฤติกรรมแต่เพียงอย่างเดียว

ละหมาด คือ ความสุข ความสุขที่ไม่มีความสุขใดๆ เทียบเท่า ท่านนะบี กล่าวแก่บิล้าลว่า

يَابِلاَلُ أَرِحْنَا بِالصَّلاَةِ “โอ้บิล้าล จงทำให้เรามีความสุข ด้วยการละหมาด”

ด้วยกับความสุขของการละหมาด ชาวสะลัฟยืนละหมาดจนนกกาเข้าใจว่า เป็นตอไม้ สำหรับท่านอิหม่ามชาฟีอี ท่านละหมาดสุนัตหลังละหมาดอีชาสองรอกาอัตทุกคืน ด้วยการอ่านกุรอานหนึ่งจบ นั่นก็เพราะความสุขที่ได้รับจากการละหมาด ซึ่งท่านนะบี กล่าวว่า

حُبِّبَ اِلَىَّ دُنْيَاكُمْ ثَلاَثٌ اَلطِّيْبُ وَالنِّسَاءُ وَقُرَّةُ عَيْنِيْ فِى الصَّلاَةِ

“ดุนยาของท่านทั้งหลาย ฉันรักมันอยู่ 3 อย่างคือ กลิ่นหอม สตรี และความสุขที่ได้รับจากการละหมาด (ชี้ให้เห็นว่า ละหมาดเป็นเรื่องดุนยา)”

เราจึงควรแสวงหาความสุขที่ได้รับจากการละหมาด เป็นความสุขที่สุขที่สุด อมตะที่สุด หาได้ตรงนี้ ตรงที่ ที่มีเรา หาได้โดยไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องเสียเงินเสียทอง หาได้ด้วยตัวเราเอง ที่ตัวเราเอง มันอยู่ที่ตรงนี้ อัลลอฮ์ ผู้ที่ด้วยสมองของเราคิด เราจักต้องรักมากกว่าสิ่งใดๆ พระองค์ให้โอกาสแก่เรา เพื่อให้เราได้อยู่กับพระองค์ ได้เข้าเฝ้าพระองค์ทุกวัน วันละ 5 ครั้ง รักเราพร้อมมอบความสุขให้แก่เรา แม้เราจะเป็นผู้ทรยศ ฟากฟ้าและแผ่นดินต่างตัสเบียะฮ์ แสดงความรักต่อพระองค์กันอยู่ตลอดเวลา มันต่างเจ็บใจที่มนุษย์บางคนเกลียดพระองค์ ไม่ปฏิบัติตามที่พระองค์สอนสั่ง ทรยศต่อพระองค์ มันเคยอาสาที่จะประชาทัณฑ์ผู้ทรยศต่อพระองค์ ทั้งนี้ก็ด้วยความรักของมันที่มีต่อพระองค์ พระองค์กลับไม่ยินดี ด้วยการบอกกับพวกมันว่า

لَوْ خَلَقْتُمُوْهُ لَرَحِمْتُمُوْهُ  “หากพวกท่านให้บังเกิด(สร้าง)มัน แน่นอนพวกท่านต้องรักมัน”

กี่วัน กี่เดือน กี่ปีมาแล้วที่อัลลอฮ์ ให้เวลาเพื่อการแก้ตัว บางคนมีอายุอยู่จนแก่ชรา แต่ก็ยังแก้ตัวไม่ได้ สงสารลูกหลานที่มีผู้เฒ่าอย่างนั้นจังเลย

มีฮะดีษกุดซีย์กล่าวว่า

لاَإِلهَ اِلاَّ أَنَا اِذَا رَضِيْتُ بَارَكْتُ وَبَرَكَتِيْ لَيْسَتْ لَهَا نِهَايَةٌ وَاِذَا غَضِبْتُ لَعَنْتُ وَلَعْنَتِيْ تَبْلُغُ السَّابِعَ مِنَ الْوَلَدِ

“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากฉัน เมื่อฉันยินดี ฉันก็จะเพิ่มพูน มอบบารอกัตให้ ซึ่งบารอกัตของฉันนั้นไม่มีจุดจบสิ้นและเมื่อฉันโกรธ ฉันก็กริ้ว ซึ่งความกริ้วของฉัน จะทอดไปถึงเจ็ดชั่วโคตร”

เป็นฮะดีษที่สะเทือนขวัญมาก เพราะเมื่อเราเลว ลูกหลานจะเลวไปถึงเจ็ดชั่วโคตรด้วยนั่นเอง ในทางกลับกัน หากเราเป็นคนดี ลูกหลานของเราก็จะดีตลอดกาล ไม่ว่าจะกี่ชั่วโคตรก็ตาม

ดุนยานี้แหละที่ทำลายคู่ชั๊วะ โดยเฉพาะอย่าลุ่มหลง อย่ารักมันด้วยหัวใจ เพราะสิ่งใดที่เรารักด้วยใจ เราจะกลายเป็นทาสของสิ่งนั้น ดังนั้นจงรักดุนยาด้วยอวัยวะส่วนใดก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ด้วยหัวใจ เพราะหัวใจมีไว้รักอัลลอฮ์ เป็นที่สถิตของอัลลอฮ์ ดังพระองค์ได้กล่าวไว้ในฮะดีษกุดซีย์ว่

أَفْرِغْ قَلْبَكَ لاَنَّ قَلْبَكَ بَيْتِيْ أَسْكُنُ فِيْهِ

“จงทำให้หัวใจของท่านว่าง เพราะหัวใจของท่านคือบ้านของฉัน ฉันพำนักอยู่ในนั้น”

สมาคมคุรุสัมพันธ์

เรื่องที่น่าสนใจ