“การละหมาดญะนาซะห์” คืออะไร และวิธีการละหมาดญะนาซะห์ (ศพชาย-หญิง) : islamhouses


311 ผู้ชม

วิธีละหมาดมัยยิต (คนตาย) เริ่มต้นให้เราอาบน้ำนมาซจากนั้นมายืนนมาซต่อหน้ามัยยิต หากเราเป็นอิมามให้ยืนทางด้านศีรษะสำหรับมัยยิตที่เป็นชาย....


“การละหมาดญะนาซะห์” คืออะไร

การละหมาดญะนาซะห์ คือการละหมาดขอพรในพิธีฝังร่าง โดยอ้างอิงจาก The Islamic Foundation ได้อธิบายเกี่ยวกับการละหมาดญะนาซะห์ ระบุว่า 

“สำหรับละหมาดญะนาซะฮฺนั้น อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงกำหนดเพื่อให้เป็นการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ตาย ถือว่าเป็นดุอาฮฺของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ขอพรให้กับผู้ตาย ไม่เหมือนกับละหมาดฟัรฏู 5 เวลาและละหมาดซุนนะฮฺอื่นๆ ตรงที่ละหมาดฟัรฎูนั้นคนป่วย คนที่ไม่ละหมาดจะจ้างผู้อื่นให้ทำแทนกันไม่ได้ พ่อจะสั่งให้ลูกทำแทนไม่ได้ คนรวยที่มีทรัพย์สมบัติจะจ้างให้ผู้อื่นละหมาดแทนให้ไม่ได้ ไม่มีใครทำแทนได้ ทุกคนต้องละหมาดเอง แม้กระทั่งจะเจ็บป่วยล้มหมอนนอนเสื่อก็จะต้องละหมาด หากไม่สามารถยืนละหมาดได้ ก็ให้นั่งละหมาด หากไม่สามารถนั่งละหมาดได้ก็ให้นอนละหมาด” 

ถ้ามีคนตายอละมีผู้ไปละหมาดญะนาซะห์ได้ ก็ถือว่าใช้ได้ เป็นการเพียงพอแล้ว มิใช่ทุกคนต้องไปละหมาด หรือมีคนกลุ่มหนึ่งไปละหมาดให้ก็เพียงพอแล้ว ไม่ว่าจะมีผู้ไปละหมาดมากหรือน้อยแค่ไหน ก็ถือว่าใช้ได้ เพราะไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนตายตัวว่าต้องมีผู้ไปร่วมละหมาดจำนวนเท่าใด 

“ดังเช่น เมื่ออิมาม อิบนิ ฮัมบัล สิ้นชีวิตมีผู้ไปร่วมละหมาดถึง 300,000 คน ถ้าหากในกรณีมีผู้ละหมาดเพียงคนเดียว ก็สามารถละหมาดญะนาซะฮฺได้เช่นกัน เช่น บนเกาะหรือหมู่บ้านซึ่งมีมุสลิมอาศัยอยู่เพียง 2 คน ไม่มีมุสลิมอื่นอาศัยอยู่อีกแล้ว ถ้าหากคนหนึ่งคนใดเกิดตายไป ฉะนั้น คนที่เหลือจะต้องทำหน้าที่จัดการอาบน้ำศพ ห่อศพ ละหมาดให้ผู้ตาย และนำศพไปฝัง เพราะนี่เป็นสิทธิ์และหน้าที่ของมุสลิม” 

วิธีอาบน้ำมัยยิต

1. ควรวางมัยยิตไว้สถานที่สูง

2. เปลื้องผ้าของมัยยิต จากนั้นนำผ้ามาปิดเอาเราะฮของเขา

3. ผู้อาบน้ำให้มัยยิตจะต้องเนียตอาบน้ำให้มัยยิต

4. ให้รีดท้องมัยยิตเบาๆ เพื่อนำสิ่งที่ค้างอยู่ภายในออกมา และให้ขจัดนะญิสบนร่างกายของเขา

5. ให้ผู้อาบน้ำให้มัยยิตนำผ้ามาพันมือ (หรือถุงมือ) ขณะถูอวัยวะที่เป็นเอาเราะฮของผู้ตาย (เพราะการกระทบเอาเราะฮของผู้ตายถือว่าต้องห้าม)

6. ให้ผู้อาบน้ำมัยยิตอาบน้ำนมาซให้แก่มัยยิต

7. เสร็จแล้วให้อาบน้ำให้มัยยิต 3 ครั้งด้วยน้ำและสบู่ (หากเห็นว่าไม่สะอาดจะทำให้มัยยิต 5, 7 ครั้งก็ได้)

8. เมื่ออาบเสร็จแล้วให้นำผ้าสะอาดมาซับร่างกายมัยยิตให้แห้ง (เพื่อมิให้ผ้ากะฝั่งเปียก)

9. ขั้นตอนสุดท้ายให้พรมน้ำหอมตามร่างกายมัยยิต ภาคผนวก ไม่พบหลักฐานให้ตัดเล็บ ขลิบหนวด โกนขนรักแร้,ถอนขนในร่มผ้าของผู้ตาย แต่ควรหวีผมและสางเคราผู้ตายให้เรียบร้อย อนุญาตให้สามีอาบน้ำมัยยิตให้แก่ภรรยา (หรือภรรยาอาบน้ำให้แก่สามีได้) ส่งเสริมให้ผู้อาบน้ำมัยยิตอาบน้ำเสมือนการอาบน้ำญะนาบะฮ

4. การแก้ไขในเรื่องของการทำบุญให้แก่ผู้ตายนั้นค่อนข้างกระทำยาก แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นสำหรับเราที่เห็นสิ่งซึ่งไม่ถูกต้องจะต้องบอกกล่าวให้เขารู้ เช่นเมื่อเราเห็นเพื่อนบ้าน หรือญาติของเราทำบุญบ้านคนตาย เราก็ต้องไปแนะนำเขาว่า สิ่งที่ทำอยู่นี้ไม่เคยปรากฏในสมัยของท่านรสูลุลลอฮฺ เมื่อไม่มีแบบอย่าง หน้าที่ของเราจำเป็นจะต้องละทิ้ง หากพูดแล้วเขารับฟัง วันหลังเราเจอเขาอีกเราก็ให้ความรู้เพิ่มแก่เขาอีก อินชาอัลลอฮฺ

หวังว่าเขาจะเลิกกระทำในอนาคต, แต่ถ้าเขาไม่ฟังเรา หากวันหลังเจอเขาอีกให้เราสลามแก่เขาและหากมีโอกาสก็พยายามให้ความรู้แก่เขานะครับ ประเด็นแก้ไขคือให้ความรู้แก่พวกเขาให้มากๆ และหมั่นขอดุอาอให้พวกเขาได้เข้าใจในแก่นแท้ของศาสนาด้วย

ส่วนเรื่องพิธีกรรมในการทำบุญบ้านคนตายเราต้องขอมะอัฟเขานะครับว่าเราไปร่วมงานไม่ได้จริงๆ หากเราไปร่วมเท่ากับเราส่งเสริมการทำอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) ในศาสนานั่นเอง 

“การละหมาดญะนาซะห์” คืออะไร และวิธีการละหมาดญะนาซะห์ (ศพชาย-หญิง)

วิธีการละหมาดญะนาซะห์ (ศพชาย - หญิง)

  1. ยืนตรง หันหน้าไปทางกิบละห์
  1. เหนียตพร้อมตักบีร่อตุ้ลเอี๊ยะรอม และสุนัตให้อ่านคำนำก่อนเหนียต ดังนี้
  • ถ้าศพนั้นเป็นชาย สุนัตให้อ่าน

أُصَلِّي عَلَى هَذَا اْلمَيِّتِ أَرْبَعَ تَكْبِيْرَاتٍ فَرْضَ كِفَايَةِ للهِ تَعَالَى  

ให้เหนียตดังนี้  “ข้าพเจ้าละหมาดบนศพชายนี้สี่ตักบีร ฟัรดูกีฟายะห์ เพื่ออัลลอฮฺ ตาอาลา”

  • ถ้าศพนั้นเป็นหญิง สุนัตให้อ่าน

أُصَلِّي عَلَى هَذِهِ اْلمَيْتَةِ أَرْبَعَ تَكْبِيْرَاتٍ فَرْضَ كِفَايَةِ للهِ تَعَالَى

ให้เหนียตดังนี้  “ข้าพเจ้าละหมาดบนศพหญิงนี้สี่ตักบีร ฟัรดูกีฟายะห์ เพื่ออัลลอฮฺ ตาอาลา”

  1. อ่านซูเราะห์ฟาติฮะห์ 

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ (1) الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ (2) الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ (3) مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ (4) إِيَّاكَ نَعْبُدُ وَإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ (5) اهْدِنَا الصِّرَاطَ الْمُسْتَقِيمَ (6) صِرَاطَ الَّذِينَ أَنْعَمْتَ عَلَيْهِمْ غَيْرِ الْمَغْضُوبِ عَلَيْهِمْ وَلاَ الضَّالِّينَ (7) 

คำอ่าน “บิสมิ้ลลาฮิรฺร่อมานิรฺร่อฮีม , อัลฮัมดุลิ้ลลาฮี้ ร็อบบิ้ลอาล่ามีน , อัรฺร่อมานิรฺร่อฮีม , มาลี่กี้เยามิดดีน, อียาก้านะอฺบุดู้ ว่าอียาก้านัซต้าอีน, อิฮฺดี้นัศศิรอฏ็อลมุซต้ากีน , ศิรอฏ็อลล่าซีน่าอันอัมต้า อ้าลัยฮิม ฆ็อยริลมัฆดูบี้อ้าลัยฮิม ว่าลัฎฎอลลีน”

  1. ตักบีรครั้งที่ 2 และอ่านซอลาวาตนบี (ซ.ล.)

أَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى اَلِ مُحَمَّدٍ كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى اَلِ إِبْرَاهِيْمَ وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى اَلِ مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى اَلِ إِبْرَاهِيْمَ فِى الْعَالمَيْنَ إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ 

คำอ่าน :  “อัลลอฮุมม่าศ็อลลิอ้าลา มุฮัมหมัด ว่าอ้าลาอาลิ มุฮัมหมัด, ก้ามาศ็อลลัยต้า อ้าลาอิบรอฮีม ว่าอ้าลาอาลิอิบรอฮีม อินน่าก้าฮะมีดุมม่าญีด อัลลอฮุมม่าบาริก อ้าลามุฮัมหมัด ว่าอ้าลาอาลิมุฮัมหมัด ก้ามาบาร็อกต้า อ้าลาอิบรอฮีม ว่าอะลาอาลิอิบรอฮีม อินนะก้า ฮะมีดุมม่าญีด” 

  1. ตักบีรครั้งที่ 3 อ่านดุอาร์ให้แก่ศพชาย ดังนี้

« اللَّهُمَّ اغْفِرْ لَهُ وَارْحَمْهُ وَاعْفُ عَنْهُ وَعَافِهِ وَأَكْرِمْ نُزُلَهُ وَوَسِّعْ مُدْخَلَهُ وَاغْسِلْهُ بِالماَءِ وَالثَلْجِ وَالبَرَدِ وَنَقِّهِ مِنَ الْخَطَايَا كَمَا يُنَقَّى الثَّوْبُ الأَبْيَضُ مِنَ الدَّنَسِ وَأَبْدِلْهُ دَارًا خَيْرًا مِنْ دَارِهِ وَأَهْلاً خَيْرًا مِنْ أَهْلِهِ وَزَوْجًا خَيْرًا مِنْ زَوْجِهِ وَأَدْخِلْهُ الجَنَّةَ وَأَعِذْهُ مِنْ عَذَابِ القَبْرِ وَمِنْ عَذَابِ النَّار

คำอ่าน :  “อัลลอฮุม ตักบีรครั้งที่ 3 มัฆฟิรฺ ล่าฮู วัรฺฮัมฮุ วะอฺฟุ อันฮุ ว่าอาฟี้ฮี ว่าอั๊กริม นุซุล่าฮู ว่าวัซเซี๊ยะอฺ มุดค่อล่าฮู วัฆซิลฮุ บิ้ลมาอี้ วัซซัลยี่ วัลบ้าร่อดี้ ว่านักกี้ฮี มินัลค่อฏอยาย่า ก้ามา ยุนักก็อยเซาบุลอั๊บย่าฎุ มินัดด้านัซ ว่าอั๊บดิ้ลฮุ ดาร็อนค็อยรอน มิน ดารี่ฮี ว่าอะฮฺลัน ค็อยรอน มินอะหฺลี่ฮี ว่าเซายัน ค็อยรอน มิน เซายี่ฮี ว่าอัดคิลฮุลญันน่าต้า ว่าอ้าอิซฮุ มิน อ้าซาบิ้ลก็อบรี่ ว่ามินอ้าซาบินนารฺ” 

ถ้าศพนั้นเป็นหญิง ให้เปลี่ยนจาก ฮุ เป็น ฮา ให้อ่านดุอาร์ ดังนี้

 اَللهُمَ اغْفِرْلَهَا وَارْحَمْهَا وَعَافِهَا وَاعْفُ عَنْهَا وَاَكْرِمْ نُزُلَهَا وَوَسِعْ مَدْخَلَهَا وَاغْسِلْهَا بِالْمَاءِوَالثَلْجِ وَالْبَرَدِ وَنَقِهَا مِنَ الْخَطَايَا كَمَا يُنَقَ الثَوْبُ الاَبْيَضُ مِنَ الدَنَسِ وَاَبْدِلْهَا دَارًاخَيْرًامِنْ دَارِهَا وَاَهْلاًخَيْرًامِنْ اَهْلِهَا وَزَوْجًاخَيْرًا مِنْ زَوْجِهَا وَاَدْخِلْهَا الْجَنَةَ وَاَعِزْهَا مِنْ عَدَابِ الْقَبْرِوَفِتْنَتِهِ وَمِنْ عَدَابِ النَارِ   

คำอ่าน :  “อัลลอฮุมมัฆฟิรฺ ล่าฮา วัรฺฮัมฮา วะอฺฟุ อันฮา ว่าอาฟี้ฮา ว่าอั๊กริม นุซุล่าฮา ว่าวัซเซี๊ยะอฺ มุดค่อล่าฮา วัฆซิลฮา บิ้ลมาอี้ วัซซัลยี่ วัลบ้าร่อดี้ ว่านักกี้ฮา มินัลค่อฏอยาย่า ก้ามา ยุนักก็อยเซาบุลอั๊บย่าฎุ มินัดด้านัซ ว่าอั๊บดิ้ลฮา ดาร็อนค็อยรอน มิน ดารี่ฮา ว่าอะฮฺลัน ค็อยรอน มินอะหฺลี่ฮา ว่าเซายัน ค็อยรอน มิน เซายี่ฮา ว่าอัดคิลฮัลญันน่าต้า ว่าอ้าอิซฮุ มิน อ้าซาบิ้ลก็อบรี่ ว่ามินอ้าซาบินนารฺ” 

  1. ตักบีรครั้งที่  4 อ่านดุอาร์ ศพชาย ดังนี้

أَللَّهُمَّ لاَ تَحْرِمْنَا أَجْرَهُ وَلاَ تَفْتِنَّا بَعْدَهُ وَاغْفِرْلَنَا وَلَهُ وَلإِخْوَانِنَا الَّذِيْنَ سَبَقُوْنَا بِالإِيْمَانِ وَلاَ تَجْعَلْ فِى قُلُوْبِنَا غِلاَّ لِلَّذِيْنَ آمَنُوْا رَبَّنَا إِنَّكَ رَؤُوْفٌ رَحِيْمٌ 

ถ้าศพนั้นเป็นหญิง ให้อ่านดุอาร์ ดังนี้

اَللهُمَ لاَتَحْرِمْنَااَجْرَهَا وَلاَتَفْتِنَا بَعْدَهَا وَاغْفِرْلَنَاوَلَهَا وَلاِخْوَانِنَاالدِيْنَ سََبَقُوْنَا  بِالاِيَمَانِ وَلاَتَجْعَلْ فِيْ   قُلُوْبِنَاغِلاً لِلَدِيْنَ امَنُوْارَبَنَا اِنَكَ رَؤُوْفٌ رَحِيْمٌ  

  1. ให้กล่าวสลาม

السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ

คำอ่าน “อัซซ่าลามุอ้าลัยกุม ว่าเราะหฺม่าตุ้ลลอฮฺ” พร้อมหันหน้าไปทางขวาเพียงข้างเดียวเท่านั้น

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า : 

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم صَلَّى عَلَى جَنَازَةٍ فَكَبَّرَ عَلَيْهَا أَرْبَعًا وَسَلَّمَ تَسْلِيمَةً وَاحِدَةً

“แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺนมาซญะนาซะฮฺโดยตักบีรฺสี่ครั้ง และให้สลามเพียงครั้งเดียวเท่านั้น” 

  1. ข้างต้นถือว่า การละหมาดญะนาซะห์สมบูรณ์แล้ว

 (วัลลอฮุอะอฺลัมบิศเศาะวาบ) วัสสลาม

บทความที่น่าสนใจ

เรื่องที่น่าสนใจ