วิธีเนียตละหมาดตะฮัจญุด หะดีษละหมาดตะฮัจญุด อ่านสั้นหรือยาวดีกว่ากัน? มาดูตำตอบกันเลย
วิธีเนียตละหมาดตะฮัจญุด หะดีษละหมาดตะฮัจญุด อ่านสั้นหรือยาวดีกว่ากัน?
การละหมาดตะฮัจญุด
การละหมาดตะฮัจญุด ทำหลังจากเวลา 12.00 กลางคืน โดย 2 รอกาอะฮ์หนึ่งสลาม รอกาอะฮ์ที่แท้จริงไม่ได้กำหนดไว้ ละหมาดนี้เต็มไปด้วยคุณค่ามากมายและที่พิเศษยิ่งคือการ
ถูกตอบรับดุอาจากอัลลอฮ์ พูดอะไรเป็นไปตามปาก หัวใจและความคิดมีความสงบนิ่ง ได้รับความง่ายดายในกิจการงาน ได้ริสกีง่าย คนให้เกรียติ ไม่เกิดการทำความเสียหายแก่มนุษย์ไปยังเขา (ส่วนหนึ่งของคุณค่าและอีมากมายที่ซ่อนเร้นไว้)และทีดีเลิศที่สุดคือการ กระทำหลังจากตื่นนอน และเวลาหลังจากเที่ยงคืน
วิธีเนียตละหมาดตะฮัจญุด
" أُصلّي سُنَّةَ الْتَهَجُّدِ رَكْعَتَيْنِ لِلّهِ تَعَالَى "
คำเนียตละหมาดตะฮัจญุด นึกในใจว่า: ข้าพเจ้าละหมาดตะฮัจญุด 2 รอกาอะห์เพื่ออัลลอฮ์
* รอกาอะห์ที่1 : หลังจากฟาติฮะห์ อ่านซูเราะห์กุลยา
* รอกาอะห์ที่2 : หลังจากฟาติฮะห์ อ่านซูเราะห์กุลฮู
นอกจากการเนียต และข้อกำหนด (ที่จำเป็นข้างต้นแล้ว) การปฏิบัติอย่างอื่นก็เหมือนกับการละหมาดตามปกตินั่นเอง
ละหมาดต้าฮัจญุด ต้องกระทำหลังจากละหมาดอีชา และจำเป็นต้องเข้านอนก่อน เวลาของการ ละหมาดต้าฮัจญุด คือ ระหว่างหลังละหมาดอีชา เรื่อยไปจนถึงรุ่งเช้าที่ดีที่สุด (เวลาที่ประเสริฐที่สุด) ให้กระทำหลังเที่ยงคืนไปแล้ว หรือหลังเที่ยงคืนในชั่วโมงสุดท้ายประมาณตีสาม
ประเด็นละหมาดตะฮัจญุด อ่านสั้นหรือยาวดีกว่ากัน? นักวิชาการมุสลิมมีความเห็นแตกต่างกัน
1. ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ยืนอ่านนานๆแม้จำนวนร็อกอัตจะน้อย ดีกว่าละหมาดหลายร็อกอัตโดยอ่านในแต่ละร็อกอัตให้สั้นลง หลักฐานหนึ่งของทัศนะนี้ก็คือหะดีษจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
“การละหมาดที่ประเสริฐที่สุดคือ การละหมาดที่ยืนนานๆ” (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่: 756)
2. อีกฝ่ายเห็นว่า จำนวนร็อกอัตที่มากกว่า ย่อมดีกว่า แม้ว่าในแต่ละร็อกอัตจะอ่านไม่ยาวมาก โดยหลักฐานชิ้นหนึ่งของทัศนะนี้คือ หะดีษที่เศาะหาบะฮฺถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงการงานที่จะช่วยให้ได้เข้าสวรรค์ แล้วท่านตอบว่า:
“ท่านจงสุญูดให้มากเถิด เพราะแท้จริงแล้ว ท่านจะไม่สุญูดเพื่ออัลลอฮฺครั้งหนึ่งครั้งใด เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงตอบแทนท่านด้วยผลบุญขั้นหนึ่งอันเนื่องจากการสุญูดนั้น และจะทรงลบล้างบาปความผิดให้อีกประการหนึ่ง” (หะดีษบันทึกโดยมุสลิม : 488)
ซึ่งการจะสุญูดให้มากได้นั้น แน่นอนว่าต้องละหมาดหลายร็อกอัต
– อีกทัศนะหนึ่งเห็นว่า ทั้งสองแบบที่กล่าวมามีความประเสริฐไม่ต่างกัน อิบนุตัยมิยะฮฺกล่าวว่า:
“ทั้งสองแบบนั้น โดยตัวของมันแล้ว การรูกูอฺและการสุญูด ประเสริฐกว่าการยืน ในขณะที่บทกล่าวในขณะยืน (อ่านอัลกุรอาน) ประเสริฐกว่าบทกล่าวในขณะรุกูอฺและสุญูด ทั้งสองแบบจึงไม่ต่างกัน”