ทำไม อิสลามห้ามเป่าอาหาร พ่นลมหายใจลงในภาชนะอาหาร : islamhouses


130,265 ผู้ชม

การดำรงชีวิตในแต่ละวันย่อมมีการรับประทานอาหารเป็นเรื่องธรรมดา หากแต่บางครั้งเมื่อเรามีความหิวไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทานอาหารหรือดื่มก็ตาม เรามักจะให้ได้ทานอย่างรวดเร็วเพื่อท้องได้รู้สึกอิ่ม ซึ่งแน่นอนบางครอบครัวอาจจะเคยได้ยินคำสอนจากพ่อแม่ว่า


ทำไม อิสลามห้ามเป่าอาหาร พ่นลมหายใจลงในภาชนะอาหาร

เหตุผล…อิสลามไม่สนับสนุนให้เป่าอาหารที่ร้อนหรือหายใจขณะดื่ม

การดำรงชีวิตในแต่ละวันย่อมมีการรับประทานอาหารเป็นเรื่องธรรมดา หากแต่บางครั้งเมื่อเรามีความหิวไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทานอาหารหรือดื่มก็ตาม เรามักจะให้ได้ทานอย่างรวดเร็วเพื่อท้องได้รู้สึกอิ่ม ซึ่งแน่นอนบางครอบครัวอาจจะเคยได้ยินคำสอนจากพ่อแม่ว่า “ห้ามหายใจขณะดื่มน้ำนะลูก” หรือ “ห้ามเป่าอาหารร้อนๆนะลูก” เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ดี"

ซึ่งคำสอนแบบนี้มักจะทำให้เราสงสัยว่าทำไมถึงทำไม่ได้? ถ้าไม่เป่าอาหารขณะร้อนแล้วจะให้ทำอย่างไรละ? หากแต่รู้ไหมว่าคำสอนเหล่านั้นแอบแฝงไปด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น จากฮาดิษของ Ibnu Abbas บอกว่า ท่านรอซูลลูลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าว โดยให้ความว่า “ท่านรอซูลได้ห้ามเป่าอาหารและหายใจในเครื่องดื่ม” รายงานโดย (HR Ahmad – 3194) :

ทำไม อิสลามห้ามเป่าอาหาร พ่นลมหายใจลงในภาชนะอาหาร

จากฮาดิษดังกล่าว ได้สอดคล้องกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่า

“เมื่อเราหายใจออกซึ่งเป็นการนำกาซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ออก เมื่อสารเหล่านี้ผสมกับน้ำ H2O ก็จะกลายเป็น H2CO3 ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ น้ำส้มสายชูและสามารถทำให้เครื่องดื่มเป็นกรดได้ในที่สุด

ในขณะเดียวกับกับการเป่าอาหารขณะที่ร้อน จะทำให้ไอน้ำจากอาหารที่ร้อนนั้นออกมา ซึ่งจะมีปฏิกิริยาหรือการก่อตัวของกรดคาร์บอนเนต H2CO3 และเรียกได้ว่าก่อให้เกิดโรคชนิดหนึ่งซึ่งไม่เป็นผลเสียต่อร่างกายแต่อย่างใด เพียงแต่อาหารนั้นจะไม่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งสอดคล้องกับอิสลามที่สนับสนุนกินอาหารที่ฮาลาลและมีประโยชน์

จะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่อิสลามไม่สนับสนุนในเรื่องนี้เพราะเป็นสิ่งที่มักรุฮฺ (หลีกเลี่ยงได้บุญ, ทำไม่เป็นไรแต่จะไม่ได้บุญ) ซึ่งไม่ได้บาปแต่อย่างใด เพียงแค่ไม่สนับสนุนให้ทำเพราะจะทำให้อาหารหรือเครื่องดื่มนั้นไม่มีคุณค่าทางโภชนาการแม้เราจะรับประทานเข้าไปจะรู้สึกอิ่มก็ตาม หากแต่ไม่มีคุณประโยชน์อิสลามก็ไม่สนับสนุน ด้วยเหตุนี้เป็นที่มาว่าอิสลามให้กินอาหารที่ฮาลาลและมีประโยชน์

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับบริบทว่าจะเป็นมักรุฮฺหรือไม่แล้วเเต่บริบทของผู้กระทำเช่นกันเพราะจะมีบางทัศนคติจากฮาดิษ *ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Mtty Ibnu Fatim Hammady "หากจำเป็นต้องทานเลยเพราะอาหาร้อน รอไม่ไหว ก็สามารถเป่าได้โดยที่ไม่มักรุฮฺแต่อย่างใด คำกล่าวของบางอุลามะ เช่น คำกล่าวของท่าน อัรมัรดาวีย์ อ้างอิงคำพูดของท่าน อัลอะมาดีย์ ในตำรา อับอิศอฟ เล่มที่ 8 หน้าที่ 328 

قال العلامة المرداوي الحنبلي في "الإنصاف" (8/328) : " قال الآمدي : لا يكره النفخ في الطعام إذا كان حاراً . قلت (المرداوي) وهو  الصواب ، إن كان ثَمَّ حاجة إلى الأكل حينئذ

ทั้งหมดทั้งมวลเหตุผลของ อิสลามจะสอนวิธีการดำรงชีวิตอย่างถูกต้อง ไม่เพียงแค่เรื่องนี้อย่างเดียวแต่รวมไปถึงทางด้านอื่นๆอีกด้วยเช่นกัน เพราะคำสอนจะสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันซึ่งไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด ในทางกลับกับ “สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจอิสลามต่างหากที่จะรู้สึกว่าทำไมอิสลามถึงได้ห้ามโน่นห้ามนี่” หากเมื่อได้รู้เหตุผลแล้วจะรู้ว่าสอดคล้องกับความเป็นจริงเสมอ เพราะสิ่งที่ห้ามจะเป็นการป้องกันจากสิ่งที่ไม่ดีและสิ่งที่ให้ทำจะเป็นการดีต่อชีวิต อินชาอัลลอฮฺมาเข้าใจอิสลามกันเถิด…

เรียบเรียงโดย Fateemoh 
ขอบคุณข้อมูลโดย: beritamuslimmag.com

ทำไม อิสลามห้ามเป่าอาหาร พ่นลมหายใจลงในภาชนะอาหาร

มารยาทในการรับประทานอาหาร

มารยาทในการรับประทานอาหาร ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1. การกล่าว “บิสมิลลาฮฺ” ก่อนรับประทานอาหาร และการดื่ม 

มีรายงานจากอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม จากหะดีษของ อัมร์ บิน สะละมะฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ได้กล่าวกับอัมร์ว่า:

«يَا غُلامُ ، سَمِّ اللهَ وَكُلْ بِيَمِيْنِكَ ، وَكُلْ مِمَّا يَلِيْكَ»

โอ้เด็กน้อยเอ๋ย จงกล่าวนามของอัลลอฮฺ และจงรับประทาน ด้วยมือขวา และรับประทานอาหาร ที่อยู่ถัดจากท่าน (อัล-บุคอรีย์: 5376 และมุสลิม: 2022)

หากว่าลืมกล่าว “บิสมิลลาฮฺ” ก่อนเริ่มรับประทานอาหาร ก็ให้กล่าวเมื่อนึกขึ้นได้ มีรายงานจากอัต-ติรมิซีย์ จากหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«إِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ فَلْيَذْكُرِ اسْمَ اللهِ تَعَالى ، فَإِنْ نَسِيَ أَنْ يَذْكُرَ اسْمَ اللهِ تَعالى فِي أَوَّلِهِ ،   فَلْيَقُلْ : بِاسْمِ اللهِ أَوَّلُهُ وَآخِرُهُ»

“เมื่อคนใดคนหนึ่ง ในหมู่พวกท่าน ได้รับประทานอาหาร ก็จงกล่าวนามของอัลลอฮเถิด ถ้าหากว่า เขาลืมกล่าวก่อนทาน หากเขานึกขึ้นได้ ก็จงกล่าวว่า “บิสมิลลาฮิ เอาวะลุฮู วะอาคิรุฮู” (ความว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ทั้งในตอนเริ่ม และตอนสุดท้าย-ผู้แปล)” (อัต-ติรมิซีย์: 3767)

2. รับประทานและดื่ม ด้วยมือขวา

ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้มุสลิมรับประทาน หรือดื่ม ด้วยมือซ้าย มีรายงานจากมุสลิม จากหะดีษของสะละมะฮฺ บิน อัลอักวะอฺ ว่า:

أنَّ رَجُلا أَكَلَ عِنْدَ النَّبيَّ صَلى اللهُ عَليهِ وَسلم بِشِمَالِهِ ، فَقَال النبيُ صَلى اللهُ عليه وسلَمَ  «كُلْ بِيَمِيْنِكَ» ، فقال : لا أَسْتَطِيْعُ ، قال : «لا اسْتَطَعْتَ»، مَا مَنَعَهُ إلا الكِبْرُ ، قال: فَمَا رَفَعَهَا إلى فِيْه.

ชายคนหนึ่ง ได้รับประทานอาหาร ด้วยมือซ้าย ต่อหน้าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านนบีได้กล่าว แก่ชายคนนั้นว่า จงทานด้วยมือขวาของท่าน” ชายคนนั้นได้ตอบว่า “ฉันทำไม่ได้” ท่านนบีจึงได้กล่าวว่า แล้วท่านจะทำไม่ได้อีกต่อไป!” ที่ทำไม่ได้นั้น ก็เพราะความยะโสโอหัง ต่างหาก ท่านสะละมะฮฺกล่าวว่า: แล้วชายคนนั้น ก็ไม่สามารถทานด้วยมือซ้ายอีก (มุสลิม: 2021)

และมีรายงานจากมุสลิม จากหะดีษของอิบนุ อุมัร ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«إذَا أَكَلَ أَحَدُكُم فَلْيَأْكُلْ بِيَمِيْنِهِ ، وَإذَا شَرِبَ فَلْيَشْرَبْ بَيَمِيْنِهِ ، فَإِنَّ الشَيْطانَ يَأْكُلُ بِشِمَالِهِ، وَيَشْرَبُ بِشِمَالِهِ»

“เมื่อคนหนึ่งจากพวกท่าน จะรับประทาน จงรับประทานด้วยมือขวา ของเขาเถิด และเมื่อเขาจะดื่ม ก็จงดื่มด้วยมือขวา ของเขาเถิด แท้จริงเหล่ามารร้าย (ชัยฏอน) นั้น จะกินด้วยมือซ้าย และดื่มด้วยมือซ้าย” (มุสลิม: 2020)

3. รับประทานโดยใช้เพียงสามนิ้ว

มีรายงานจากมุสลิม จากหะดีษ กะอับ บินมาลิก กล่าวว่า

أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلى الله عليه وَسلَم كَانَ يَأْكُلُ بِثَلاثِ أَصَابِع ، فَإذَا فَرغَ لَعقَها

ท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้รับประทานอาหาร โดยใช้เพียงสามนิ้ว เมื่อท่านทานเสร็จ ท่านก็จะเลียนิ้วของท่าน”  (มุสลิม: 2032)

4. เลียนิ้วและจานอาหาร

เมื่อเราทานอาหารเสร็จ และมีร่องรอยอาหาร หลงเหลืออยู่ และสามารถทานได้ โดยไม่เป็นอันตราย หรือเหลือเศษอาหารติดที่จาน มีซุนนะฮฺให้เลีย (ทาน) สิ่งที่ติดอยู่ที่จานให้หมด เหตุผลก็เพราะว่า มนุษย์นั้นไม่สามารถรู้ได้ว่า อาหารส่วนไหน มีความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ) และเช่นกัน มีซุนนะฮฺให้เลียอาหาร ที่ติดที่นิ้วด้วย มีรายงานจากมุสลิม จากหนังสือเศาะฮีหฺมุสลิม จากหะดีษกะอับ บิน มาลิก กล่าวว่า:

كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلى اللهُ عَليهِ وَسلَم يَأْكُلُ بِثَلاثِ أَصَابِع ، فَإذَا فَرغَ لَعقَها

ท่านเราะสูลุลลอฮฺนั้น ท่านทานอาหารโดยใช้สามนิ้ว และเมื่อท่านอิ่ม ท่านก็จะเลียนิ้วของท่าน” (มุสลิม: 2032)

และ รายงานจากมุสลิม จากหนังสือเศาะฮีหฺมุสลิม จากหะดีษญาบิร ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งให้เลียนิ้ว และจาน ท่านกล่าวว่า:

«إِنَّكُمْ لا تَدْرُونَ فِي أَيِّهِ البَرَكَةُ»

“แท้จริงพวกท่าน ไม่รู้หรอกว่า อาหารส่วนไหน มีความจำเริญ” (มุสลิม: 2032)

5. ให้ทานอาหารที่หล่นออกนอกจาน

มีรายงานจากมุสลิม ในหนังสือเศาะฮีหฺมุสลิม จากหะดีษญาบิร บิน อับดุลลอฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«إِذَا وَقَعَتْ لُقْمَةُ أَحَدِكُمْ فَلْيَأْخُذْهَا ، فَلْيُمط ما كانَ بِها مِنْ أَذى ، وَلْيَأْكُلْها ، وَلا يَدَعها للشيطانِ ، وَلا يَمْسَح يَدَهُ بِالمنْدِيل حَتَّى يَلْعقَ أصابِعَهُ ، فَإنه لا يدري في أَيِّ طَعامهِ البركة»

เมื่ออาหารคำหนึ่งของพวกท่าน ได้ตกลง จงหยิบมันขึ้นมา และจงขจัดส่วนที่เปื้อนสกปรกออก และจงกินอาหารนั้น อย่าปล่อยทิ้งไว้ ให้ชัยฏอนมารร้าย และอย่าเช็ดมือด้วยผ้า จนกว่าเขาจะได้เลียนิ้ว เสียก่อน เพราะแท้จริงเขาไม่รู้ได้ว่า อาหารส่วนไหนมีความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ)” (มุสลิม: 2032)

6. ร่วมวงทานอาหารกับภรรยา หรือ ลูกๆ หรือ บุคคลอื่น

รายงานจากอบูดาวูด ในหนังสือ สุนันอะบีดาวูด จากหะดีษ วะฮฺชี บิน หัรบ์ จากพ่อของเขา จากปู่ของเขา  เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม กล่าวว่า

أَنَّ أَصْحَابَ النبيُ صلى الله عليه وسلَمَ قَالوا : يارَسُولَ اللهِ إِنَّا نَأْكُلُ وَلا نَشْبَعُ ، قال: «فَلَعَلَّكُمْ تَفْتَرِقُونَ؟ » قَالوا : نَعَم . قال : «فَاجْتَمِعُوا عَلى طَعَامِكُم ، وَاذْكرُوُا اسمَ اللهِ عَليهِ يُبَارِكْ لَكُم فِيهِ»

บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า  โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ แท้จริงเราได้ทานอาหาร แต่เราไม่รู้สึกอิ่ม” ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า พวกท่านได้แยกกันทาน ต่างคนต่างทาน กระนั้นหรือ?” บรรดาเศาะหาบะฮฺตอบว่า ใช่ครับ” ท่านเราะสูลได้กล่าวว่า จงร่วมวงกันทานอาหารเถิด และจงกล่าวนามของอัลลอฮ และพระองค์จะประทานความจำเริญ แก่พวกท่าน จากอาหารนั้น” (อบูดาวูด: 3764)

7. ห้ามพ่นลมหายใจลงในภาชนะอาหาร

รายงานจากอัล-บุคอรีย์ ในหนังสือเศาะฮีหฺอัล-บุคอรีย์ จากหะดีษ อบู เกาะตาดะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบีได้กล่าวว่า:

«إِذَا شَرِبَ أَحَدُكُمْ فَلا يَتَنَفَّس فِي الإِناءِ »

เมื่อคนใดคนหนึ่ง จากพวกเจ้า ได้ดื่ม จงอย่าพ่นลมหายใจ ลงในภาชนะนั้น” (อัล-บุคอรีย์: 153)

เช่นเดียวกัน การเป่าอาหาร หรือเครื่องดื่ม ก็ถูกห้าม รายงานจากอบูดาวูด ในหนังสือ สุนัน อบีดาวูด จากหะดีษ อบู สะอีด อัล-คุดรีย์ กล่าวว่า

نَهَى النَبِيُّ صَلى اللهُ عليهِ وَسَلَم أَنْ يُتَنَفَّسَ فِي  الإناءِ أَوْ يُنْفَخَ فِيهِ

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการหายใจ ลงในภาชนะอาหาร หรือเป่าอาหาร” (อบูดาวูด: 3728)

8.  ห้ามทานอาหาร จากส่วนบน ของจานอาหาร หรือตรงกลางจาน

ดังกล่าวนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่หนึ่ง

อาหารประเภทเดียว หมายความว่า อาหารในจานนั้น เป็นอาหารชนิดเดียว มีประเภทเดียว มีซุนนะฮฺให้ทาน ส่วนที่อยู่ใกล้กับเราก่อน ดังหะดีษที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่า:

«وَكُلْ مِمَّا يَلِيْكَ»

และจงทานอาหาร ส่วนที่อยู่ถัดจากท่าน” (อัล-บุคอรีย์: 5376 และมุสลิม: 2022)

และอีกหะดีษหนึ่ง ที่รายงานโดย อัต-ติรมิซีย์ ในหนังสือ สุนันอัต-ติรมิซีย์ จากหะดีษของอิบนุอับบาส กล่าวว่า:

«البَرَكَةُ تنزلُ في وَسَطِ الطَعَامِ ، فَكُلُوا مِنْ حَافَتَيْهِ ، وَلا تَأكُلُوا مِنْ وَسَطِهِ»

ความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ) จะถูกประทานลงมา ที่อาหารส่วนที่อยู่ตรงกลาง ดังนั้น จงเริ่มทาน จากส่วนขอบก่อน อย่าเริ่มทาน จากตรงกลางของอาหาร” (อัต-ติรมิซีย์: 1805)

ประเภทที่สอง

อาหารมีหลากหลายประเภท ดังนั้น ถือว่าไม่เป็นไร ถ้าจะเริ่มทาน จากส่วนบนของอาหาร หรือส่วนขอบของอาหารก่อน หลักฐานที่มายืนยัน ในเรื่องดังกล่าว ก็คือ หะดีษที่รายงาน จากอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม จากหะดีษของอะนัสบินมาลิก กล่าวว่า:

رَأَيْتُ النَبِيَّ صَلى اللهُ عليهِ وسلَمَ يَتَتَبَّعُ الدباءَ مِن حَوَالي الصَحْفَةِ

ฉันเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เลือกหามะระในจานอาหาร” (อัล-บุคอรีย์: 2092 และมุสลิม: 2041)

9. ห้ามดื่มน้ำในขณะที่ยืนอยู่

         จากคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในหะดีษที่รายงานโดยมุสลิม ในหนังสือเศาะฮีหฺมุสลิม จากหะดีษอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าท่านนบี ได้กล่าวว่า

«لا يَشْرَبَنَّ أَحَدٌ مِنْكُمْ قَائِماً ، فَمَنْ نَسِيَ فَلْيَسْتَقِئْ »

คนหนึ่งในพวกท่าน จงอย่าดื่มน้ำ ในขณะที่ยืนอยู่ หากใครลืม ก็จงบ้วนออกมา” (มุสลิม: 2026)

10. มีความพอดีในการรับประทานอาหาร

รายงานจากอัต-ติรมิซีย์ จากหะดีษ อัล-มิกดาม บิน มะอฺดี กัรบฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

«مَا مَلأَ آدَمِيُ وِعاءً شَراً مِنْ بَطْنٍ ، بَحسْبِ ابْنِ آدمَ أَكلاتٌ يُقِمْنَ صلْبَهُ، فَإِنْ كانَ لا محالةَ، فَثُلُثٌ لِطَعَامِهِ ، وَثُلُثٌ لِشَرَابِهِ ، وَثُلُثٌ لِنَفَسِهِ»

ไม่มีภาชนะใด ที่เมื่อลูกหลานอาดัม บรรจุจนเต็มแล้ว จะแย่ยิ่งไปกว่าท้อง การที่เขาทานแต่น้อย แค่พอให้ร่างกาย มีชีวิตอยู่ได้ ก็เป็นการเพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้ทาน เพียงหนึ่งส่วนสามของท้อง ดื่มน้ำอีกหนึ่งส่วนสาม และอีกหนึ่งส่วนสาม เผื่อไว้ให้ได้หายใจ” (อัต-ติรมิซีย์: 2380)


والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين

แปลโดย : ณัจญวา บุญมาเลิศ

Islam House.com

เรื่องที่น่าสนใจ