อิสลามอนุญาตให้ซื้อขายทองแบบผ่อนได้หรือไม่? : islamhouses


35,473 ผู้ชม

เราไม่มีเงินก้อนจะซื้อทองแบบผ่อนเป็นที่อนุมัติในอิสลามหรือเปล่า


อิสลามอนุญาตให้ซื้อขายทองแบบผ่อนได้หรือไม่?

อิสลาม คือ ศาสนาที่ป้องกัน การขายทองแบบผ่อนเป็นสิ่งต้องห้ามโดดเด็ดขาด เพราะอะไร?

การขายทองแบบผ่อนได้หรือไม่?

คำตอบ การขายทองคำแบบผ่อนส่งนั้นศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้กระทำโดยเด็ดขาด ซึ่งเป็นทัศนะทั้ง 4 มัซฮับ หลักฐานคือ

نهى النبي صلى الله عليه وسلم عن الفضة بالفضة ، والذهب بالذهب ، إلا سواء بسواء

ความว่า "ท่านร่อซูลุลลอฮฺห้ามเงิน (แท้) แลกเงิน (แท้) และทองคำแลกทองคำยกเว้นจะต้องมีน้ำหนักเท่ากันเท่านั้น" (บันทึกโดยบุคอรีย์, หะดีษศอเฮี๊ยะฮฺ)

ท่านร่อซูลุลลอฮฺกล่าวว่า:

لا تبيعوا الذهب بالذهب إلا سواء بسواء ، والفضة بالفضة إلا سواء بسواء

ความว่า "พวกท่านอย่าขายทองคำด้วยทองคำยกเว้น (ทองคำ) จะมีน้ำหนักเท่ากัน และอย่าขายเงิน (แท้) ด้วยเงิน (แท้) ยกเว้น (เงิน) จะมีน้ำหนักเท่ากัน" (บันทึกโดยบุคอรีย์, หะดีษศอเฮี๊ยะฮฺ)

ท่านร่อซูลุลลอฮฺกล่าวว่า:

الذهب بالذهب . والفضة بالفضة . والبر بالبر . والملح بالملح . مثلا بمثل . يدا بيد . فمن زاد أو استزاد فقد أربى . الآخذ والمعطي سواء

ความว่า "ทองคำกับทองคำ, เงิน (แท้) กับเงิน (แท้) ข้าวสาลีกับข้าวสาลี เกลือกับเกลือ ด้วยปริมาณเท่ากัน และยื่นไปยื่นมาด้วยมือ ดังนั้นผู้ใดเพิ่มหรือขอเพิ่ม แน่นอนยิ่งนั่น คือ ดอกเบี้ย ผู้รับและผู้ให้มีความผิดเท่ากัน" (บันทึกโดยบุคอรีย์, หะดีษศอเฮี๊ยะฮฺ)

อิสลามอนุญาตให้ซื้อขายทองแบบผ่อนได้หรือไม่?

สาเหตุที่ห้ามขายทองคำ หรือเงิน (แท้) ที่เกินปริมาณ อาทิเช่น การขายทองคำแบบผ่อนส่ง นั้นเป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนทั้งหลาย ถ้าการค้าขายทองคำ หรือเงิน (แท้) สูงกว่าความเป็นจริงโดยไม่ใช่ราคาที่เป็นจริงเท่ากับน้ำหนักของทองคำ หรือน้ำหนักของเงิน (แท้) นั่นเอง

ฉะนั้น การซื้อขายทองคำ หรือเงิน (แท้) ด้วยการผ่อนส่ง ซึ่งนั่นเท่ากับว่าซื้อขายทองคำเกินจากราคาเท่ากับน้ำหนักทองคำ หรือเกินน้ำหนักเงิน (แท้) จึงเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) สำหรับมุสลิมนั่นเอง ( والله أعلم )

การซื้อทองผ่อน

การซื้อทองแบบผ่อนชำระเป็นงวดนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) เนื่องจากทองเป็นทรัพย์สินที่มีดอกเบี้ย เงิน หรือสิ่งที่ทดแทนเช่น เงิน ธนบัตร ก็เป็นทรัพย์ที่มีดอกเบี้ย ถึงแม้ว่าทองกับเงิน ธนบัตรจะเป็นคนละประเภทกัน แต่ก็มีเหตุของดอกเบี้ยเหมือนกัน ดังนั้นการซื้อขายทองด้วยเงิน ธนบัตรจำเป็นต้องมีเงื่อนไข 2 ประการ เพื่อให้ออกจากความหมายของดอกเบี้ย คือ

1. การกระทำข้อตกลงซื้อขายนั้นต้องเป็นไปโดยทันที กล่าวคือจะต้องไม่มีการระบุช่วงเวลาสำหรับการรับมอบสิ่งแลกเปลี่ยนอันหนึ่งอันใดของสิ่งที่แลกเปลี่ยนทั้งสองนั้น ไม่ว่าเวลาที่ถูกระบุนั้นจะสั้นเพียงใดก็ตาม

2. ต้องมีการครอบครอง (อัต-ตะกอบุฏ) เกิดขึ้นในสถานที่ของการทำข้อตกลง กล่าวคือ ผู้ซื้อก็รับทอง (สินค้า) ในทันที ผู้ขายก็รับเงิน (ธนบัตร-ราคาของสินค้า) ในทันทีเช่นกัน 

ดังนั้น การซื้อขายทองผ่อนถือว่าขาดเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการดังกล่าว จึงถือว่าเป็นการขายที่มีดอกเบี้ยเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) (อัล-ฟิกฮุลมันฮะญียฺ เล่มที่ 6 หน้า 72) 

และการซื้อทองผ่อนในวิธีการผ่อนชำระเป็นงวดนั้นมีลักษณะของริบา อัน-นะสีอะฮฺ และริบา อัล-ฟัฎล์ เกิดขึ้นจึงถือเป็นที่ต้องห้ามตามคำฟัตวาของอัล-ลัจญันะฮฺ อัด/ดาอิมะฮฺ ลิล บุหูษ อัล-อิลมียะฮฺ วัล-อิฟตาอฺ เลขที่ 2298 (เล่มที่ 13 หน้า 467-468)

ส่วนเมื่อซื้อทองแบบผ่อนมาแล้ว ก็ถือว่าทองที่ซื้อมาเป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากซื้อมาด้วยวิธีการที่มีดอกเบี้ย ให้นำทองที่ได้มานี้ไปขายเป็นเงินสดได้ราคามาในวงเงินเท่าก็ตาม ให้นำเงินทั้งหมดที่ได้จากการขายทองนี้ไปทำสาธารณประโยชน์ทั่วไป

ขอขอบคุณข้อมูล ซื้อทองผ่อน :  อาลี เสือสมิง

คลิป: Alhamdulillah Group

https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/19985

เรื่องที่น่าสนใจ