เงื่อนไขของการจัดฟันนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
เงื่อนไขของการจัดฟัน ว่ามีอย่างไรบ้าง
เงื่อนไขของการจัดฟันนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
1. การจัดฟันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสวยงาม ในกรณีนี้จะไม่เป็นที่อนุมัติให้กระทำและไม่อนุญาตให้กระทำด้วย เนื่องจากท่านนบีมุฮัมมัด ได้ทรงสาปแช่งสตรีที่จัดฟันเพื่อความสวยงามและสาปแช่งผู้ที่เปลี่ยนแปลงการสร้างของอัลลอฮฺ ถึงแม้ว่าสตรีนั้น เป็นเพศที่ถูกสร้างขึ้นมาให้มีความรักความสวยงามและเป็นผู้ที่ชอบการตกแต่งประดับประดา แต่ในกรณีดังกล่าวนี้ไม่เป็นที่อนุมัติและยังเป็นข้อห้ามอย่างยิ่งด้วยสำหรับผู้ชายอีกด้วย
2. สำหรับผู้ที่ฟันมีความบกพร่อง ในกรณีนี้การจัดฟันเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ ตัวอย่างเช่นในกรณีของคนที่มี ฟันยื่น ไม่ว่าจะเป็นฟันเขี้ยวหรือฟันซี่อื่นๆ ที่ยื่นออกมา ในกรณีนี้การจัดฟันเพื่อรักษาฟันที่ผิดปกตินี้เป็นสิ่งที่กระทำได้ เพราะเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นมาและไม่ได้เป็นการกระทำไปเพื่อเพิ่มความสวยงาม
การเปลี่ยนแปลงข้อบกพร่องนั้นเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสวยงาม
สรุป จากซูเราะฮฺอัตตีน อายะที่ 4 ความหมายของอายะฮฺนี้ ไม่ได้มีความหมายถึง การห้ามจัดฟัน สำหรับบุคคลที่ฟันมีปัญหา แต่มีเงื่อนไขว่า การจัดฟันนั้นกระทำไปเพื่อแก้ไขส่วนที่บกพร่องหรือมีความผิดปกติออกไป
การดัดฟัน เป็นประเด็นร่วมสมัย ซึ่งอิมามชาฟิอีย์และนักปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ไม่ได้กล่าวระบุฮุกุ่มเจาะจงเอาไว้ แต่ประเด็นที่ได้กล่าวเอาไว้คือเรื่องของการถูตัดฟันและการถ่างช่องระหว่างฟัน ซึ่งเป็นสิ่งที่หะรอม โดยความเห็นพร้องจากบรรดานักปราชญ์มัซฮับทั้งสี่ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานมาและท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามไว้
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า
وَلَآمُرَنَّهُمْ فَلَيُغَيِّرُنَّ خَلْقَ اللَّهِ
"แล้วแน่นอนพวกเขาก็จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสร้าง" อันนิซาอ์ 119
ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงแช่งสตรีต่อไปนี้
والمتفلجات للحسن المغيراتِ خلقَ الله
"บรรดาสตรีที่ทำการถ่างช่องระหว่างฟัร เพื่อความสวยงาม คือผู้ที่ทำการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้าง" รายงานโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
ดังนั้น การถ่างช่องระหว่างฟันเพื่อความสวยงาม ย่อมเป็นสิ่งที่หะรอม เนื่องจากนำไปสู่การอำพราง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยชรา ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม และยิ่งกว่านั้น ยังเป็นการอำพรางโดยทำให้คิดว่ามีความอ่อนวัยที่จะนำไปสู่การหลอกลวง ซึ่งเป็นสิ่งที่หะรอมตามหลักของศาสนา (ดู หนังสือ ก่อฏอยา อัลมุอาซิเราะฮ์ โดย คณาอาจารย์คณะนิติศาสตร์อิสลามเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัย อัล-อัซฮัร เล่ม 1 หน้า 392)
ดังนั้น หากจะถามว่า การดัดฟันเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้างมาหรือไม่นั้น ขอตอบว่า การดัดฟันเพื่อเสริมความสวยงามอยู่ในหลักการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้างมา แต่ถ้าหากฟันมีรูปลักษณ์ที่น่าเกลียดและเป็นข้อตำหนิ , ทำให้มีความยากลำบากในการกิน , หรือทำให้พูดและอ่านอัลกุรอานไม่ชัด ก็อนุญาตให้ทำการดัดฟันได้ เนื่องจากมีความจำเป็น ตามที่กฏแห่งนิติศาสตร์อิสลามได้ระบุว่า
الضرر يزال
"การเกิดโทษนั้น ต้องถูกขจัดไป"
เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لاَ ضَرَرَ وَلاَ ضِرَارَ
"ย่อมไม่มีโทษแก่ตนเองและไม่มีโทษซึ่งกันและกัน" รายงานโดย ท่านอะหฺมัด , ท่านอิบนุมาญะฮ์ และท่านอัลหากิม อิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า หะดิษนี้ หะซัน
คลิก อิสลามห้ามสัก ดัดฟัน ถอนขนที่ใบหน้า จริงหรือ กับ ข้อห้าม 12 ประการ