การจุดเทียน (ที่ไม่ได้มุ่งหมายเอาแสงสว่างจากแสงเทียน) โดยมากเป็นเรื่องของชนต่างศาสนิกที่มีคติความเชื่อทางศาสนาสอดแทรกอยู่และมักจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของการบูชาในพิธีกรรมของชนต่างศาสนิก เช่น จุดเทียนถวายหรือบูชาพระรัตนตรัย หรือถวายดอกไม้ธูปเทียนแก่พระสงฆ์ เป็นต้น
มุสลิมหลายคนสงสัย ถามเข้ามาจาก LINE @ https://line.me/R/ti/p/%40muslimthaipost ว่า มุสลิมสาารถจุดเทียนชัยถวายพระพรได้หรือไม่?
มุสลิมจุดเทียนชัยถวายพระพรได้หรือไม่?
ตอบโดย: อาจารย์อาลี เสือสมิง
การจุดเทียน (ที่ไม่ได้มุ่งหมายเอาแสงสว่างจากแสงเทียน) โดยมากเป็นเรื่องของชนต่างศาสนิกที่มีคติความเชื่อทางศาสนาสอดแทรกอยู่และมักจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของการบูชาในพิธีกรรมของชนต่างศาสนิก เช่น จุดเทียนถวายหรือบูชาพระรัตนตรัย หรือถวายดอกไม้ธูปเทียนแก่พระสงฆ์ เป็นต้น
หากการจุดเทียนชัยถวายพระพรมีคติความเชื่ออันเกี่ยวเนื่องด้วยลัทธิทางศาสนา มุสลิมไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ เพราะเป็นเรื่องของพิธีกรรมในศาสนาอื่น แต่ถ้าไม่มีคติความเชื่ออันเกี่ยวเนื่องด้วยลัทธิทางศาสนา มุสลิมควรหลีกเลี่ยงในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นการกระทำเลียนแบบชนต่างศาสนิก และอาจจะเป็นที่ครหาจากผู้ที่ไม่เห็นด้วยทำให้เกิดการวิพากษ์วิจาณ์
ดังนั้น ในกรณีที่มุสลิมเลี่ยงไม่ได้ เช่น ข้าราชการมุสลิมที่ถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมในการถวายพระพรในหลวงให้เข้าร่วมถวายพระพร โดยไม่ต้องจุดเทียนหรือถือโคมประทีป เพราะการถวายพระพร ไม่จำเป็นต้องจุดเทียนหรือถือโคมประทีปและโดยข้อเท็จจริงแล้วผู้บังคับบัญชาที่เข้าใจเรื่องนี้ก็จะไม่บังคับให้กระทำสิ่งดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นมุสลิม ยกเว้นกรณีที่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นมุสลิมไปสมยอมเอง
ฉะนั้น ขอให้มุสลิมที่เกี่ยวข้องชี้แจงให้ผู้บังคับบัญชาเข้าใจว่าอะไรที่มุสลิมทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ จะได้ไม่เกิดปัญหา และจุดยืนของมุสลิมจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันในเรื่องนี้ มิใช่คนหนึ่งว่าทำได้ อีกคนหนึ่งว่าทำไม่ได้ ผู้บังคับบัญชาก็จะสับสนได้ว่ามุสลิมไม่มีจุดยืน
และการไม่จุดเทียนถวายพระพรหรือถือโคมประทีปของชาวมุสลิมก็มิได้หมายความว่า มุสลิมไม่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงหรือสถาบัน เพราะเรื่องของพิธีกรรมเป็นเรื่องหนึ่ง และพฤติกรรมกับสำนึกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จึงจำเป็นต้องแยกให้ชัดเจนระหว่าง 2 เรื่องนี้