วันสงกรานต์กับจุดยืนของมุสลิม วันสงกรานต์นั้นมิใช่ เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยเท่านั้น แต่ทว่ายังมีความเป็นตำนาน และความเชื่อที่สืบทอดกันมาจากพี่น้องชาวพุทธ และยังมีพิธีกรรม
วันสงกรานต์กับจุดยืนของมุสลิม
วันสงกรานต์นั้นมิใช่ เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยเท่านั้น แต่ทว่ายังมีความเป็นตำนาน และความเชื่อที่สืบทอดกันมาจากพี่น้องชาวพุทธ และยังมีพิธีกรรม ในรูปแบบที่เฉพาะอีกด้วย ซึ่งในเชิงหลักการของอิสลามถือว่า ไม่อนุญาตแก่มุสลิมให้มีความเชื่อและร่วมพิธีกรรมที่ไม่รากฐานมาจากอิสลาม
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า :
"ผู้ใดแสวงหาอื่นจากอิสลามมาเป็นศาสนา (ของตน) แน่นอน เขาจะไม่ถูกตอบรับ" (อาลิอิมรอน : 85)
ข้อความบ่งชี้ของโองการนี้ ได้สะท้อนให้เห็นเช่นกันว่า ผู้ใดนำสิ่งอื่นที่ เป็นหลักการอันนอกเหนือจากอิสลามและมิได้อยู่บนรากฐาน ใดรากฐานหนึ่งของอิสลามมาเป็นเรื่องของศาสนา เขาย่อมไม่ถูกตอบรับ และอิสลามไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ด้วย
ท่านร่อซูลุลลอฮ์(ซ.ล)ได้วจนะไว้ความว่า:
"ผู้ใดทำการเลียนแบบคล้ายกับชนกลุ่มหนึ่ง แน่นอนเขาย่อม เป็นส่วนหนึ่งจากพวกเขา"
วจนะนี้ ฉายให้เราเห็นว่า การงานใดที่ไม่มีหลักการหรือรากฐาน จากศาสนาอิสลาม แล้วมีเจตนาเลียนแบบหลักการของชนกลุ่มหนึ่ง หรือประเพณีของชนกลุ่มหนึ่งที่ขัดกับหลักการอิสลาม เขาก็ย่อมเป็นส่วนหนึ่ง จากผู้ที่กระทำตามแนวทางของพวกเขา
พี่น้องชาวพุทธอาจจะอ่านบทความนี้ และตั้งคำถามขึ้นว่า มุสลิมรังเกียจประเพณีของชาวพุทธหรือประเพณีของชาวไทยกระนั้นหรือ?
ทั้งที่เราเป็นคนไทยเหมือนกัน ขอเรียนดังนี้นะครับว่า การที่เรามิได้ร่วมพิธีกรรมหรือกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสงกรานต์นั้น มิใช่หมายถึงเรารังเกียจ แต่ทว่าหลักศาสนาได้ห้ามมิให้เรากระทำเท่านั้นเอง และการที่เรามิได้ร่วมพิธีกรรมหรือกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวกับสงกรานต์นั้น
มิได้หมายความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องมุสลิมและชาวพุทธจะต้องสั่นคลอนลงไป หรือห้ามมุสลิมปฏิบัติดีต่อพี่น้องชาวพุทธก็หาไม่ เพราะไม่ว่าจะเป็นวันสงกรานต์หรืออื่นจากวันสงกรานต์ อิสลามส่งเสริมให้มุสลิมปฏิบัติดี และแสดงความมีจรรยามารยาทที่ดีต่อพี่น้องต่างศาสนิก
อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า :
"อัลเลาะฮ์ไม่ห้ามพวกเขาที่จะกระทำดีและแสดงความยุติธรรม กับพวกที่ไม่รบราพวกเจ้าในศาสนาและไม่ขับไล่พวกเจ้าออก จากบ้านเมืองของพวกเจ้า แท้จริง อัลเลาะฮ์ทรงรักบรรดา ผู้แสดงความยุติธรรม" (อัลมุมตะฮินะฮ์ : 8)
ดังนั้น อิสลามเป็นศาสนาที่สอนให้มีจรรยามารยาทที่ดีงาม มี ความเมตตาปราณี ส่งเสริมให้มีความยุติธรรมและสันติภาพ นอกจากนั้น อิสลามยังพิทักษ์รักษาเสรีภาพ เกียรติยศ และความมีศักดิ์ศรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงคำขวัญแต่เป็นหลักการที่อิสลามยึดเหนี่ยวอยู่
ท่านศาสนทูต(ซล.)วจนะไว้ว่า :
"ท่านจงปฏิบัติดีต่อมวลมนุษย์ ด้วยจรรยาที่ดีงาม"
วจนะนี้ อยู่ในความหมายครอบคลุม ซึ่งรวมทั้งมุสลิมและไม่ ใช่มุสลิมที่เราต้องปฏิบัติด้วยจรรยามารยาทที่ดีงามและมีคุณธรรมตราบใดที่การปฏิบัติ ดังกล่าวไม่ขัดกับหลักศาสนา
และตราบใดที่ต่างฝ่ายก็มีกฎหมายหรือพันธะสัญญาร่วมกันว่าจะอยู่ กันอย่างสงบสุข นักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม
มีหลักนิติศาสตร์ความว่า "เราได้ถูกใช้ให้ทำการปล่อย (ให้เป็นอิสระกับ) พวกเขา และสิ่งที่พวกเขานับถือ"
หมายถึง เราต้องไม่ไปละเมิดหลักความเชื่อและสิ่งที่พวกเขานับถือ และหลักความเชื่อของพวกเขาต้องไม่สร้างความเดือดร้อนต่อมุสลิม
ดังกล่าวก็เพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
นั่นคือ พี่น้องมุสลิมต้องกำหนดบทบาทของตนเองอันถูกต้องที่เกี่ยวข้อง กับวันสงกรานต์ และมุ่งสร้างความเข้าใจอันดีเกี่ยว กับหลักการของอิสลามต่อเพื่อนต่างศาสนา ในขณะที่เพื่อนชาวพุทธต้องทำความเข้าใจ หลักการของอิสลาม เพื่อมิให้ความแตกต่างในหลักการของประเพณีและศาสนามาเป็นตัวกำหนดให้เกิดความแตกแยกของชนในชาติ