หลายคนสงสัย คนต่างศาสนิกกินเนื้อกุรบานได้ไหม?
คนต่างศาสนิกกินเนื้อกุรบานได้ไหม?
ตอบโดย: อ.อาลี เสือสมิง
ท่านอิหม่ามอัลบาญูรีย์ ได้กล่าวว่า
فَلاَ يَجُوْزُ إِعْطَاؤُهُمْ مِنْهَا شَيْأً كَمَا نَصَّ عَلَيْهِ الْبُوَيْطِيُّ...لأَنَّهَا ضِيَافَةُ اللهِ لِلْمُسْلِمِيْنَ
“ไม่อนุญาตมอบสิ่งใดจากกุรบานให้แก่คนกาเฟรตามที่ท่านอัลบุวัยฏีย์ได้ระบุเอาไว้...เพราะกุรบานเป็นเลี้ยงเป็นอาหารของอัลลอฮฺแก่บรรดามุสลิมีน” หาชียะฮ์อัลบาญูรีย์, เล่ม 2, หน้า 301.
ท่านอิมาม อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ และท่านอิมาม อัรร๊อมลีย์ วินิจฉัยไว้ว่า " ไม่อนุญาติให้กาเฟรทำการรับประทานเนื้อกุรบานที่เราเชือด และไม่อนุญาติให้คนจนหรือ(คนรวย)ที่ถูกมอบเนื้อกุรบานให้นั้น ทำการให้อาหารกับคนกาเฟรที่ปรุงมาจากเนื้อกุรบาน
เนื่องจาก จุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมาย ของการทำกุรบาน นั้น เพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อ เอื้ออาทร กับบรรดาคนมุสลิมีน เพราะว่ากุรบานนั้น ถือเป็นเป็นอิบาดะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์เพื่อเลี้ยงเป็นแขกรับประทานสำหรับมุสลิมีน เท่านั้น ดังนั้น จึงไม่อนุญาติให้ผู้เป็นกาเฟรทำการครอบครองเนื้อกุรบานดังกล่าว
และอิมามชาฟิอีย์ระบุเอาไว้ว่า ผู้ที่ทำกุรบานนั้น หากเขาได้เชือดกุรบาน หลังจากนั้นเขาได้ตกศาสนา(ตกมุรตัดเป็นกาเฟร) เขาก็ไม่สามารถรับประทานเนื้อกุรบานนั้นได้ (แม้กระทั้งเจ้าของกุรบานเองที่ตกมัรตัด ยังรับประทานไม่ได้ แล้วคนกาเฟรอื่นจะรับประทานได้อย่างไร?)”
ส่วนทัศนะที่บอกว่าได้นั้น อ้างหลักฐานว่า
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า
لَا يَنْهَاكُمُ اللَّهُ عَنِ الَّذِينَ لَمْ يُقَاتِلُوكُمْ فِي الدِّينِ وَلَمْ يُخْرِجُوكُم مِّن دِيَارِكُمْ أَن تَبَرُّوهُمْ وَتُقْسِطُوا إِلَيْهِمْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُقْسِطِينَ
“อัลลอฮ์มิได้ทรง ห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักผู้มีความยุติธรรม”
อายะฮ์นี้อนุญาตให้กระทำได้เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องอิบาดะฮ์ เช่น ใช้อาหารแก่คนกาเฟรและให้เนื้อธรรมดาแก่คนกาเฟรนั้น สามารถกระทำได้
และอิมาม อัล-ลัยษฺ ก็ถือว่ามักรูฮฺเช่นกัน แต่ท่านให้รายละเอียดว่า ถ้าเนื้อกุรบานนั้นถูกปรุงสุกแล้วก็ไม่เป็นอะไรที่ชาวอะฮฺลุซซิมมะฮฺจะร่วม รับประทานเนื้อกุรบานนั้นพร้อมกับชาวมุสลิม
นี่เป็นคำพูดของอิบ นุ อัล-มุนซิรที่ให้รายละเอียดไว้ แต่อิมาม อัน-นะวาวียฺระบุว่า ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นว่าบรรดานักวิชาการในมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺของเรามีคำกล่าว อันใดในเรื่องนี้ และตามข้อชี้ขาดของมัซฮับนั้น เป็นที่อนุญาตในการเลี้ยงอาหารพวกเขา (อะฮฺลุซซิมมะฮฺ) จากเนื้อกุรบานที่เป็นสุนนะฮฺ (อุฎหิยะฮฺ อัต-ตะเฏาะวฺวุอฺ) โดยเนื้อกุรบานที่เป็นวาญิบนั้นไม่อนุญาต วัลลอฮุตะอาลาอะอฺลัม (กิตาบ อัล-มัจญ์มูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ ; อัน-นะวาวียฺ เล่มที่ 8 หน้า 404)
แต่ ในตำรา หาชิยะฮฺ อัช-ชัยคฺ อิบรอฮีม อัล-บัยญูรียฺ เล่มที่ 2 หน้า 566 ระบุว่า :
ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้มอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากเนื้อกุรบานแก่พวกเขา (คือกลุ่มชนที่มิใช่ชาวมุสลิม) ตามที่ระบุเป็นตัวบทไว้ใน อัล-บุวัยฏียฺ และในอัล-มัจญ์มูอฺ นั้นปรากฏว่าอนุญาตให้เลี้ยงอาหารคนยากจนของอุฮฺลุซซิมมะฮฺจากเนื้อกุรบาน ที่เป็นสุนนะฮฺ โดยไม่อนุญาตจากเนื้อกุรบานที่เป็นวาญิบ ซึ่ง อัล-อัซเราะอียฺ ประหลาดใจจากคำกล่าวของอัน-นะวาวียฺในตำราอัล-มัจญมูอฺดังกล่าว
ฉะนั้น ที่ถูกต้องคือ ไม่อนุญาตให้เลี้ยงอาหารแก่คนซิมมียฺจากเนื้อกุรบานโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นการทำเศาะดะเกาะฮฺ (ทาน) ไม่ว่าจะเป็นการให้โดยฮะดียะฮฺก็ตาม... ทั้งนี้เพราะเนื้อกุรบานเป็นการเลี้ยงต้อนรับ (ฎิยาฟะฮฺ) แก่บรรดามุสลิมที่พระองค์อัลลอฮฺทรงจัดให้ดังที่ ชัยคฺ อัช-ชุบฺรอมุลฺสียฺกล่าวเอาไว้ อันถือเป็นคำกล่าวที่เป็นหลักสำคัญ (มุอฺตะมัด)”
สรุปก็คือ เรื่องการแจกจ่ายเนื้อกุรบานให้แก่คนต่างศาสนิกนี้ นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน ที่เป็นหลักคำสอน (มุอฺตะมัด) ในมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺ ถือว่าไม่อนุญาต เพราะเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับชาวมุสลิมที่ยากจนซึ่งมีสิทธิใน การได้รับเนื้อกุรบานนั้นก่อนบุคคลอื่น ส่วนชนต่างศาสนิกนั้นหากพวกเขามีความยากจนก็สามารถมอบเนื้อสัตว์ที่มิใช่กุ รบานเป็นทานให้แก่พวกเขาอยู่แล้ว ส่วนเนื้อกุรบานนั้นเป็นกรณีพิเศษที่สงวนเอาไว้สำหรับชาวมุสลิมที่ยากจนเท่า นั้น
และกรณีที่สงวนเอาไว้นี้ก็ไม่ได้หมายความว่า มุสลิมตระหนี่ถี่เหนียวไม่รู้จักเผื่อแผ่คนอื่นที่ไม่ใช่มุสลิมแต่อย่างใด เพราะสัตว์ที่ชนต่างศาสนิกที่มิใช่ชาวคัมภีร์ (อะฮฺลุลกิตาบ) เชือดนั้นมุสลิมก็ทานไม่ได้เช่นกัน สัตว์ที่ถูกเชือดเซ่นสังเวยตามความเชื่อในศาสนาอื่นนั้นมุสลิมก็ทานไม่ได้ โดยเด็ดขาด แล้วจะกล่าวว่ามุสลิมเห็นแก่ตัวได้อย่างไร