กุรบาน เป็นการเชือดสัตว์พลีเพื่ออัลลอฮฺ การทํากุรบานในอิสลาม มีที่มาจากนบีอิบรอฮีม บรรพบุรุษทางสายเลือดและความศรัทธาของชาวยิว ชาวคริสเตียนและมุสลิม
การทํากุรบาน อิสลาม อายุวัวทำกุรบาน ลักษณะวัวทำกุรบาน
กุรบาน เป็นการเชือดสัตว์พลีเพื่ออัลลอฮฺ การทํากุรบานในอิสลาม มีที่มาจากนบีอิบรอฮีม บรรพบุรุษทางสายเลือดและความศรัทธาของชาวยิว ชาวคริสเตียนและมุสลิม
คัมภีร์กุรอานเล่าว่า เมื่ออัลลอฮฺต้องการจะทดสอบว่า นบีอิบรอฮีมมีความศรัทธาและเสียสละเพื่อพระองค์มากน้อยเพียงใด คืนหนึ่ง พระองค์ได้บัญชานบีอิบรอฮีมในความฝันว่าให้เขาเชือดอิสมาอีลบุตรคนแรกพลีถวายต่อพระองค์ แต่นบีอิบรอฮีมยังคงลังเลไม่บอกเรื่องนี้แก่ลูกของตัวเอง เมื่อฝันต่อเนื่องกันสามคืน นบีอิบรอฮีมจึงได้เล่าความฝันของเขาให้อิสมาอีลฟัง
- การทำกุรบานเป็นการรำลึกถึงความเสียสละของนบีท่านใด?
- ผู้ที่จะทำกุรบาน ห้ามตัดเล็บวันไหน? การเตรียมตัวทำกุรบาน
- ขั้นตอนการทำกุรบานทำอย่างไรบ้าง?
เมื่ออิสมาอีลได้ยินพ่อบอกเช่นนั้น แทนที่เขาจะตกใจหรือหวาดกลัว เขากลับบอกนบีอิบรอฮีมผู้เป็นพ่อว่า “หากเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าแล้ว พ่อจงปฏิบัติตามเถิดและพ่อจะพบว่าฉันเป็นผู้หนึ่งในบรรดาผู้อดทน” เมื่ออิสมาอีลเข้าใจและยอมถูกเชือดพลี นบีอิบรอฮีมจึงทำตามคำบัญชาของพระเจ้าด้วยการพาอิสมาอีลไปยังแท่นเชือด แต่ระหว่างทาง นบีอิบรอฮีมถูกซาตานมารร้ายคอยดักล่อลวงมิให้เขาทำตามประสงค์ของพระเจ้า เขาจึงเอาหินขว้างมัน แต่ซาตานไม่ละความพยายาม มันกลับมาอีกสองครั้งด้วยคำล่อลวงเดิมๆ แต่มันก็ถูกนบีอิบรอฮีมเอาหินขว้างจนมันไม่กลับมาอีก
ต่อมาในสมัยของนบีมุฮัมมัด การขว้างหินสามแห่งได้ถูกนบีมุฮัมมัดจัดให้เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งสำหรับผู้ทำพิธีฮัจญ์ต้องปฏิบัติเพื่อระลึกถึงการต่อสู้กับมารร้ายของนบีอิบรอฮีม
เมื่อมาถึงแท่นเชือด อิสมาอีลได้บอกนบีอิบรอฮีมว่า “พ่อจงมัดฉันให้แน่นและให้ฉันก้มหน้าและเชือดฉัน” ทั้งนี้เพื่อที่พ่อจะได้ไม่ลังเลเมื่อสบตาลูกผู้เป็นที่รัก เมื่อนบีอิบรอฮีมเงื้อมีดจะเชือดลูกรัก อัลลอฮฺทรงเห็นถึงความศรัทธาและความเสียสละของนบีอิบรอฮีม ดังนั้น พระองค์จึงมีบัญชาให้นบีอิบรอฮีมนำแพะหรือแกะมาเชือดแทนอิสมาอีล
- จุดกำเนิดของ กุรบาน (การเชือดสัตว์พลี)
- ยืมเงินมาทำกุรบานในวันอีด ได้หรือไม่ ?
- เนื้อกุรบานวันอีด ศาสนาอื่นกินได้ไหม ขายได้ไหม?
แต่หลังจากสมัยของนบีอิบรอฮีม ชาวอาหรับผู้เป็นลูกหลานของท่านได้หลงลืมการปฏิบัติของนบีอิบรอฮีมผู้เป็นบรรพบุรุษของตน ในเทศกาลฮัจญ์ ชาวอาหรับจะเชือดสัตว์พลีถวายเทวรูป รอบก๊ะอฺบ๊ะฮฺและเอาเลือดของสัตว์สาดไปบนกำแพงกะบะห์
ในสมัยของนบีมุฮัมมัด การเชือดสัตว์ เช่น แพะ แกะ วัวหรืออูฐ ยังคงเป็นที่ปฏิบัติสำหรับมุสลิมที่มีความสามารถพอเพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมแห่งความศรัทธาและความเสียสละของนบีอิบ รอฮีมกับบุตรชาย แต่มีข้อกำหนดว่าสัตว์ที่จะนำมาเชือดต้องเป็นสัตว์ที่สมบูรณ์ไม่มีตำหนิหรือพิการ อายุต้องครบ การเชือดต้องมีเจตนาว่าเป็นการพลีถวายให้พระเจ้า และเนื้อของสัตว์จะถูกนำมาแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งของผู้เชือด อีกส่วนหนึ่งแจกจ่ายแก่ญาติสนิทมิตรสหายและอีกส่วนหนึ่งสำหรับคนยากจน
อายุวัวทำกุรบาน ลักษณะวัวทำกุรบาน สัตว์ที่ใช้ทํากุรบาน คือ อูฐ วัว ควาย แพะ แกะ
-อูฐ ต้องมีอายุ 5 ปีบริบูรณ์ ใช้ทํากุรบานได้ 7 ส่วน ดังนั้น จึงรวมกันทํา 7 คน ต่ออฐตัวเดียวก็ได้ หรือจะทําคนเดียวก็ยิ่งดี
-วัว ควาย ต้องมีอายุ 2 ปีบริบูรณ์ ทํากุรบานได้ 7 ส่วน
-แพะ ต้องมีอายุ 2 ปี บริบูรณ์ ทํากุรบานได้ 1 ส่วน
-แกะ ต้องมีอายุ 1 ปีบริบูรณ์ หรือเปลี่ยนฟันแล้ว ทํากุรบานได้ 1 ส่วน
สัตว์ที่จะทํากุรบานต้องอ้วนสมบูรณ์ปราศจากสิ่งตําหนิ หรือโรค ควรมีลักษณะสวยงามสง่า
สัตว์ที่ห้ามทํากุรบาน ได้แก่ สัตว์ที่เป็นโรค หรือพิการ หรือไม่สมประกอบ เช่น ตาบอด หูแหว่ง เขาหัก ไม่มีพื้น แคระแกร็น มีท้อง
วิธีการเชือดกุรบาน
วิธีการเชือดกุรบาน หรือ อุฎหิยะฮฺนั้น มี 2 วิธีใหญ่ๆ
1. ทำด้วยตัวเอง ต้องหาสัตว์ที่มีคุณลักษณะที่ทำกุรบานแล้วใช้ได้ และดำเนินการเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่ซื้อหาสัตว์ที่จะทำกุรบาน เชือดเอง และชำแหละแจกจ่ายเนื้อเอง
2. ทำกับมัสญิด หรือองค์กรที่มีโครงการจัดทำกุรบาน วิธีนี้สะดวก เพียงแค่มีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อส่วนในการทำกุรบาน ที่เหลือทางมัสญิด หรือองค์กรดังกล่าว จะรับดำเนินการให้ทั้งหมด
ส่วนการตั้งเจตนา (การเหนียต) ในการทำกุรบานนั้น ถือเป็นเงื่อนไขในการเศาะหฺ (ใช้ได้) สำหรับการทำกุรบาน หากไม่มีเนียต (เจตนา) ในการทำกุรบาน จะเป็นเพียงการเชือดสัตว์ธรรมดา ที่ไม่ใช่กุรบาน หรืออุฎหิยะฮฺ และการตั้งเจตนา (นียะฮฺ) ในการทำกุรบานนั้น อยู่ที่ใจ การกล่าวคำตั้งเจตนานั้น จะกล่าวก็ได้ แต่มิใช่เงื่อนไข เช่น
ถ้าหากตั้งใจว่า จะทำกุรบานกับมัสญิดที่มีโครงการ ขณะที่เรามอบเงินค่าส่วนของสัตว์ที่จะทำกุรบานแก่อิมาม หรือคณะกรรมการมัสญิด เราก็ตั้งเจตนาว่า
“ข้าพเจ้าตั้งเจตนาทำกุรบาน 1 ส่วน เพื่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.)”
ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว ถึงแม้ว่าการตั้งเจตนา (นียะฮฺ) ดังกล่าวจะเกิดขึ้นก่อนหน้าการเชือดกุรบานจริงๆ ตามประเด็นที่ถูกต้องที่สุดใน 2 ประเด็น ตามมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺ (กิตาบอัล-มัจญ์มูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ ; อัน-นะวาวียฺ เล่มที่ 8 หน้า 381)
ในกรณีที่เจ้าของส่วน (คือผู้ทำกุรบาน) ไม่เป็นผู้เชือดสัตว์กุรบานนั้นเอง ก็อนุญาตให้มุสลิมคนหนึ่ง ทำหน้าที่เชือดสัตว์นั้นแทนได้ ด้วยการมอบหมาย (เตากีล) – อ้างแล้ว 8/382 –
ดังนั้น หากผู้เป็นเจ้าของมอบหมายให้มุสลิมคนหนึ่งเป็นผู้เชือด แล้วเจ้าของส่วนก็มีการตั้งเจตนาขณะที่ผู้ถูกมอบหมายทำการเชือดสัตว์กุรบานนั้น ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว โดยไม่ต้องการการตั้งเจตนาของผู้ที่ถูกมอบหมายให้เชือด และถึงแม้ว่าผู้ที่ทำหน้าที่เชือดสัตว์แทน จะไม่รู้ว่าผู้ที่มอบหมาย (เจ้าของส่วน) เป็นผู้ทำกุรบานก็ตาม ถือว่าไม่ส่งผลเสียแต่อย่างใด
แต่ถ้าหากผู้เป็นเจ้าของส่วน มีการตั้งเจตนาการทำกุรบานขณะที่มอบหมายหน้าที่การเชือดให้แก่ผู้นั้นเท่านั้น ก็ถือว่าอนุญาตและใช้ได้ตามประเด็นที่ถูกต้องที่สุด (อะเศาะหฺ อัล-วัจญ์ฮัยนฺ) ในเรื่องการตั้งเจตนาที่เกิดขึ้นก่อนการเชือดจริงๆ
และการมอบการตั้งเจตนาให้แก่ผู้ที่รับมอบหมาย (วะกีล) ในการเชือดซึ่งเป็นมุสลิมก็เป็นที่อนุญาตเช่นกัน (อ้างแล้ว 8/381) โดยผู้ทำหน้าที่เชือดแทนก็ตั้งเจตนา (นียะฮฺ) ขณะทำการเชือดหรือก่อนหน้าลงมือเชือดว่า ข้าพเจ้าเจตนาเชือดกุรบานนี้แทนนาย ก. นาย ข. เป็นต้น
และการมาดูและอยู่ร่วมของผู้ทำกุรบาน ขณะทำการเชือดสัตว์กุรบานนั้น เป็นสิ่งที่ถูกส่งเสริม (มุสตะหับ) ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น ดังมีหลักฐานปรากฏว่า ท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้ใช้ให้ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (ร.ฎ.) ลุกขึ้นไปยังสัตว์กุรบาน และอยู่ร่วมในขณะนั้น (อ้างแล้ว 8/380 , อัล-ฟิกฮุลมันฮะญียฺ 1/236)
ทั้งนี้ เมื่อผู้ทำกุรบานทั้ง 7 คนนั้น ได้มีเจตนาการทำกุรบาน และมอบหมายการเชือดเรียบร้อยแล้ว ส่วนดุอาอฺที่ส่งเสริมให้กล่าวขณะทำการเชือดกุรบานก็คือ
أللهُمَّ مِنْكَ وَلَكَ فَتَقَبَّلْ مِنِّىْ
คำอ่าน : “อัลลอฮุมม่า มิงก้า ว่าละก้า ฟะตะก็อบบัลฺมินนียฺ”
ความหมาย : “โอ้ อัลลอฮฺ จากพระองค์และเพื่อพระองค์ ดังนั้น ขอทรงตอบรับจากข้าพระองค์” (อ้างแล้ว 8/390)