การทําฮัจญ์แบบอิฟรอด (ฮัจญ์ก่อนอุมเราะห์) : islamhouses


11,534 ผู้ชม

การทําฮัจญ์แบบอิฟรอดซึ่งถือว่า เป็นแบบที่ดีเยี่ยม ตามมัซฮับชาฟีอี คือ ทําพิธีฮัจญ์ก่อนทําอุมเราะห์


รูปแบบการทําฮัจญ์มี 3 รูปแบบ คือ

การทําฮัจญ์รูปแบบที่ 2 ในกรณีเลือกการทําฮัจญ์แบบอิฟรอด

ถ้าหากพี่น้องเห็นว่าช่วงเวลาระหว่างที่พํานักในมักกะห์ กับการออกไปวกฟที่อะรอฟะห์นั้นมีเวลาไม่นาน หรือมีเวลานานหลายวัน แต่พี่น้องสามารถที่จะครองเอียะห์รอม โดยไม่ละเมิดข้อห้ามขณะเอียะฮ์รอมได้ ก็ตัดสินใจ การทําฮัจญ์แบบอิฟรอดซึ่งถือว่า เป็นแบบที่ดีเยี่ยม ตามมัซฮับชาฟีอี คือ ทําพิธีฮัจญ์ก่อนทําอุมเราะห์

และต่อไปนี้จะอธิบายถึงวิธีการทําฮัจญ์แบบอิฟรอด โดยพี่น้องจะต้องทราบถึงรุก่นของฮัจญ์ และวาญิบฮัจญ์เสียก่อน เพื่อพี่น้องมุสลิมจะปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์

การทําฮัจญ์แบบอิฟรอด (ฮัจญ์ก่อนอุมเราะห์)

รุก่น (คือองค์ประกอบสําคัญ) ของฮัจญ์มี 6 ประการ

1. เอียะห์รอม คือ เนียตตั้งใจทําฮัจญ์ ในสถานที่ที่กําหนดไว้

2. วุกฟ คือ การชุมนุมใหญ่ที่ทุ่งอะรอฟะห์ เข้าเวลาตั้งแต่ตะวัน คล้อยของวันที่ 9 ซุ้ลฮิจญะห์ จนถึงแสงอรุณขึ้นของวันที่ 10 ซุ้ลฮิจญะห์

3. ตอวาฟ คือ เดินเวียบรอบบัยตุ้ลเลาะห์ 7 รอบ

4. เดินสะแอระหว่างภูเขาซอฟาและมัรวะห์ 7 เที่ยว

5. ตัดหรือโกนผมศีรษะ

6. เรียบเรียงตามลําดับ

หากขาดรุก่นซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญของพิธีฮัจญ์ ประการใดประการหนึ่ง พิธีฮัจญ์ใช้ไม่ได้

การทําฮัจญ์แบบอิฟรอด (ฮัจญ์ก่อนอุมเราะห์)

ส่วนวาญิบฮัจญ์ (คือ สิ่งที่จําเป็นต้องปฏิบัติในพิธีฮัจญ์) มี 5 ประการ

1. เอียะห์รอมในสถานที่ และในเวลาที่กําหนดไว้

หากอยู่ที่มะดีนะห์หรือเดินทางผ่านมะดีนะห์ สถานที่ที่ถูกกําหนดให้เอียะห์รอม คือ ซุ้ลฮฺลัยฟะห์ หรืออับยารอะลี หรือปัจจุบัน เรียกว่า มัสยิดมีกอต หากเดินทางผ่านยะมัน (เยเมน) สถานที่ที่ถูก กําหนดให้เอียะห์รอม คือ ยะลัมลัม

ส่วนเวลาของการทําฮัจญ์ที่กําหนดไว้ คือ ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนเชาวาล จนถึงวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะห์ มีเวลาประมาณ 70 วัน

2. การพักค้างคืนที่ “มุซดะลิฟะห์” ภายหลังเที่ยงคืนของวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะห์

3. การพักค้างคืนที่ “มินา” ของคืนวันที่ 11, 12, และคืนวันที่ 13 เดือนซุลฮิจญะห์

4. ตอวาฟอําลา (ตอวาฟวะดาอ) เมื่อจะออกจากมักกะห์ กลับสู่ภูมิลําเนา

5. การขว้างก้อนหินตามลําดับดังนี้ คือ ขว้างก้อนหิน ที่เสาหินญัมร่อตุลอะกอบะห์ เพียงต้นเดียวในวันที่ 10 ซัลฮิจญะห์ ด้วยหิน 7 ก้อน โดยขว้างครั้งละหนึ่งก้อนพร้อมกล่าว "บิสมิ้ลลาฮิ วัลลอฮุอักบักร" ทุกครั้ง

และขว้างก้อนหินที่เสา 3 ต้น คือ ญัมร่อตุซซุฆรอ ญัมร่อตุ้ลวุสตอ และญัมร่อตุลอะกอบะห์ ตามลําดับในวันที่ 11,12 และวันที่ 13 ซุลฮิจยะห์ ภายหลังตะวันคล้อย คือหลั่งอะซานละหมาดดุห์ริของทุกวัน ต้นละ 7 ก้อน โดยขว้างครั้งละหนึ่งก้อนพร้อมกล่าว "บิสมิ้ลลาฮิ วัลลอฮุอักบักร" ทุกครั้ง

หากละเลยไม่กระทําสิ่งที่จําเป็นต้องปฏิบัติ ในพิธีฮัจญ์ (วาญิบฮัจญ์) ประการใดประการหนึ่ง ไม่เสียพิธีฮัจญ์ แต่ต้องชดเชยด้วยการจ่ายค่าปรับตามแต่กรณี 

การทําฮัจญ์แบบอิฟรอด (ฮัจญ์ก่อนอุมเราะห์)

ในกรณีเลือกทําฮัจญ์แบบอิฟรอด คือ การทําฮัจญ์ก่อนทําอุมเราะห์ มีขั้นตอนในการทําฮัจญ์ เรียบเรียงตามรุก่นและวาญิบฮัจญ์ มีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เอียะฮ์รอมฮัจญ์ (เป็นรุก่นฮัจย์) ในสถานที่ที่กําหนด (เป็นวาญิบฮัจย์) เพื่อความสะดวก พี่น้องอาบน้ำสุนัตเพื่อเอียะห์รอมฮัจญ์ในที่พักที่มะดีนะห์ สวมใส่ชุดเอียะฮ์รอม ผู้ชายนุ่งผืนห่มด้วยผ้าสีขาว ผู้หญิงสวมใส่ชุดที่ปกปิดเอาเราะห์มิดชิด แต่ให้เปิดหน้าและมือ

เดินทางไปยังสถานที่กําหนดให้เอียะห์รอมฮัจญ์ คือ ซุ้ลฮฺลัยฟะห์ การเอียะห์รอมที่นี่เป็นวาณิบฮัจญ์ พี่น้องเข้าไปในมัสยิดละหมาดสุนัตเพื่อเอียะห์รอม 2 รอกาอัต โดยเนียตว่า

"ข้าพเจ้าตั้งใจละหมาดสุนัตเอียะห์รอมฮัจญ์ 2 รอกาอัต เพื่ออัลลอฮ์ ตาอาลา"

เมื่อละหมาดเสร็จให้เนียตเอียะห์รอมฮัจญ์ โดยกล่าวว่า 

การทําฮัจญ์แบบอิฟรอด (ฮัจญ์ก่อนอุมเราะห์)

คำอ่าน : น่าวัยตุ้ลฮัจญ่า ว่าอะห์รอมตู้ บิฮีลิลลาฮิ ตาอาลา

ตั้งเจตนาในใจว่า : "ข้าพเจ้าตั้งใจทําฮัจญ์และเอียะห์รอมฮัจญ์ เพื่ออัลลอฮ์ ตาอาลา"

หลังจากเนียตแล้วให้กล่าว ตัลบียะห์มากๆ คือ กล่าววว่า

بَّيْكَ اللَّهُمَّ لَبَّيْكَ لَبَّيْكَ لَا شَرِيْكَ لَكَ لَبَّيْكَ إِنَّ الْحَمْدَ وَالنَّعْمَةَ لَكَ وَالمُلْكَ لاَ شَرِيْكَ لَكَ

คำอ่าน:  ลับบัยกัลลอฮุมมะลับบัยกฺ ลับบัยกะลาชะรีกะละกะลับบัยกฺ อินนั้ลฮำดะ วันนิอฺมะตะ ละกะวั้ลมุลกฺ ลาชะรีกะลัก

ความหมายของตัลบียะห์  "ข้าแต่อัลลอฮ์เจ้า ข้าพเจ้าน้อมรับ และพร้อมแล้วที่จะปฏิบัติตามคําบัญชาของท่าน ไม่มีผู้ใดเป็นภาคีของท่าน คําสรรเสริญ ความโปรดปรานและอํานาจเป็นของท่าน โดยไม่มีผู้ใดเป็นภาคีของท่าน"

ให้กล่าวคําตัลบียะห์นี้มากๆ ตลอดเวลาเท่าที่จะสามารถทําได้ แม้ขณะอยู่บนพาหนะเดินทาง และระหว่างอยู่ที่มักกะห์ และให้หยุดกล่าวตัลบียะห์ เมื่อเข้าสู่การขว้างก้อนหินที่ญัมร่อตุ้ลอะกอบะห์ในวันที่ 10 ซุ้ลฮิจญะห์

เมื่อเดินทางถึงมักกะห์ เข้าไปในมัสยิดฮารอม เพื่อตอวาฟสุนัตที่บัยตุ้ลเลาะห์ 7 รอบ เรียกว่า ตอวาฟกุดูม ให้เนียตขณะจะตอวาฟว่า :

“ข้าพเจ้าตั้งใจตอวาฟตอวาฟกุดูม 7 รอบเป็นสุนัต เพื่ออัลลอฮ์ ตาอาลา”

และการตอวาฟนี้ฮุจญาจทุกคนจําเป็นต้องมีน้ำละหมาด ตั้งแต่ต้นจนจบ

การทําฮัจญ์แบบอิฟรอด (ฮัจญ์ก่อนอุมเราะห์)

การตอวาฟ

การตอวาฟ ต้องเริ่มต้นและจบที่มุมฮะญะร้อลอัสวัด หรือมุมหินดํา ด้วยการหันข้างด้านซ้ายเข้าหาบัยตุ้ลเลาะห์ แล้วเดินไปข้างหน้า หากมีความสามารถให้จูบหินดํา หากไม่สามารถจูบได้ ให้ใช้มือลูบแล้วจูบที่มือ หรือใช้มือทําท่าลูบแล้วจูบมือ และให้สะพายเฉียงผ้าห่ม ด้วยการปิดไหล่ ด้วยเปิดไหล่ขวา และการสะพายเฉียงนี้ให้กระทําเฉพาะในขณะตอวาฟเท่านั้น ไม่มีสุนัตให้กระทําในช่วงเวลาอื่น และสุนัตให้ผู้ชายเดินเร็วๆใน สามรอบแรกถ้าหากสามารถทําได้ ส่วนผู้หญิงไม่มีสุนัตให้เดินเร็วในการตอวาฟ

เมื่อครบ 7 รอบแล้ว ให้ละหมาดสุนัตข้างหลังมะกอมอิบรอฮีม โดยเนียตว่า

 “ข้าพเจ้าตั้งใจละหมาดสุนัตตอวาฟ 2 รอกาอัต เพื่ออัลลอฮ์ ตาอาลา”

เสร็จจากละหมาดสุนัตให้ ดื่มน้ำซัมซัม และขอดุอาอฺตามที่ต้องการ

และถ้าหากผู้ทําพิธีฮัจญ์แบบอิฟรอด มีความประสงค์จะทําการสะแอที่เป็นรุก่นฮัจญ์เก็บไว้ก่อนก็สามารถกระทําได้ ด้วยการเดินระหว่างภูเขาซอฟากับมัรวะห์ 7 เที่ยว โดยไม่ต้องเนียต เพราะการเนียตทําฮัจญ์ ได้ครอบคลุมถึงการสะแอแล้ว

ให้เริ่มเดินสะแอที่ภูเขาซอฟาในเที่ยวที่หนึ่ง และสุดที่มัรวะห์ในเที่ยวที่เจ็ด สําหรับผู้ชายสุนัตให้วิ่งเหยาะๆ ช่วงระหว่างเสาเขียวสองต้นที่ เป็นสัญลักษณ์ข้างทางสะแอ ส่วนผู้หญิงไม่มีสุนัตให้วิ่งเหยาะๆ

เมื่อเสร็จจากการสะแอรุก่นฮัจญ์แล้ว ผู้ทําฮัจญ์แบบอิฟรอด จะต้องอยู่ในสภาพที่ครองเอียะฮ์รอมต่อไป และจะต้องระมัดระวังไม่กระทําข้อห้ามขณะเอียะฮ์รอม และรอเวลาที่จะทํารุก่นฮัจญ์ที่ยังเหลืออยู่ ต่อไปให้เสร็จ 

พรุ่งนี้เสนอเรื่องวิธีการทำฮัจญ์ เข้าใจง่ายๆ

จากหนังสือ ฮัจญ์มับรูร

โดย อ.อรุณ บุญชม

แหล่งข้อมูล สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์

https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/22530

เรื่องที่น่าสนใจ