ตามที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แพร่ระบาดไปเกือบทั่วประเทศไทย ทางสำนักจุฬาราชมนตรี
ช่วงโควิด-19 ละหมาดวันศุกร์ที่บ้านได้ไหม?
ตามที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แพร่ระบาดไปเกือบทั่วประเทศไทย ทางสำนักจุฬาราชมนตรี ออกประกาศให้งดการละหมาดวันศุกร์ (ญุมอะห์) ที่มัสยิด (อ่านเพิ่มเติม: จุฬาราชมนตรี ประกาศงดละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด ในพื้นที่เสี่ยงโควิด-19)
ทั้งนี้มีมุสลิมบางท่านสงสัย ช่วงโควิด-19 ละหมาดวันศุกร์ที่บ้านได้ไหม?
เบื้องต้นมารู้กฎเกณฑ์ของการละหมาดวันศุกร์กันก่อน
การละหมาดวันศุกร์ เป็นฟัรดูที่จำเป็นเฉพาะผู้ชายมุสลิมทุกคนที่เป็นอิสระ ไม่ใช่ทาส ซึ่งบรรลุนิติภาวะพร้อมทั้งสติสัมปชัญญะรู้สึกรับผิดชอบ ซึ่งไม่มีอุปสรรคจำเป็นใดๆ มาขัดขวาง เช่น การป่วยไข้ ฯลฯ
การละหมาดวันศุกร์ หรือ ละหมาดญุมอะห์ (ละหมาดรวม) นั้นมี 2 ร่อกาอัต ปฏิบัติในเวลาละหมาดดุฮฺริในวันศุกร์ โดยถือเอาสองคุตบะห์แทนสองร่อกะอัต
เวลาละหมาดวันศุกร์กี่โมง นับแต่เวลา พระอาทิตย์คล้อย จนถึงเงาของสิ่งหนึ่งเท่าตัวของมัน
กฎเกณฑ์ผู้วายิบละหมาดวันศุกร์ มีดังนี้
1. เป็นมุสลิม
2. บรรลุศาสนภาวะ
3. มีสติสัมปชัญญะ
4. มีอิสระ ไม่ใช่ทาส
5. เป็นชาย
6. เป็นผู้มีร่างกายปกติ ไม่เจ็บป่วย
7. เป็นบุคคลอยู่ประจำถิ่น ไม่ใช่คนเดินทาง
กฎเกณฑ์ของการสมบูรณ์ของการละหมาดวันศุกร์
1. ทำยุมอะฮฺในเมือง หรือ หมู่บ้าน
2. ต้องมีจำนวน 40 คน ที่เป็น "อัฮลียุมอะฮฺ" (หมายถึง ผู้มีคุณสมบัติพร้อมในการทำยุมอะฮฺ) ตั้งแต่เริ่มต้น "คุตบะฮฺ" (บทตักเตือน) จนเสร็จละหมาดโดยสมบูรณ์
3. การละหมาดยุมอะฮฺทั้งสิ้น (ตั้งแต่เริ่มจนจบ) และคุตบะฮฺยุมอะฮฺนั้น ต้องอยู่ในเวลา "ดุฮฺริ" ถ้าเวลาได้หมดลงในขณะละหมาดยุมอะฮฺ จะต้องแปรละหมาดนั้น ให้เป็น "ดุฮฺริ" (โดยไม่ต้องเหนียดอีก หรือถ้าแน่ใจว่าเวลานั้น ไม่พอที่จะทำละหมาดวันศุกร์ ก็ให้ทำละหมาดดุฮฺริ)
4. ต้องอ่าน 2 คุตบะฮฺ ก่อนละหมาด
5. รอกาอั้ตแรกของละหมาดยุมอะฮฺ ต้องกระทำในยะมาอะฮฺ
6. จะต้องไม่มียุมอะฮฺอื่นในท้องที่เดียวกัน ละหมาดยุมอะฮฺก่อน หรือละหมาดพร้อมกัน
(หมายเหตุ คำว่า "เมือง" (มิซริ) หมายถึง ถิ่นที่อยู่อาศัย อันประกอบด้วย ตลาด ที่ทำการต่างๆ ส่วนคำว่า "หมู่บ้าน" (ก็อรยะฮฺ) หมายถึง ถิ่นที่อยู่อาศัย ที่ไม่มีตามนั้น)
กฏเกณฑ์ของ"คุตบะฮฺ" ทั้งสอง
1. รูกน (หลักการ) ของคุตบะฮฺ ทั้งสอง ต้องอ่านเป็นภาษาอาหรับ
2. จะต้องให้ อัฮฺลียุมอะฮฺ ได้ยินรุกนต่างๆ ของคุตบะฮฺทั้งสอง
3. ผู้อ่านคุตบะฮฺ ต้องยืนอ่าน ในกรณีที่เขามีความสามารถจะยืนได้
4. ผู้อ่านคุตบะฮฺ จะต้องมีความสะอาด ตามความหมายที่ศาสนากำหนด ( คือ ปราศจากหะดัสเล็กและหะดัสใหญ่)
5. ร่างกาย เสื้อผ้า และ สถานที่ของผู้อ่าน จะต้องสะอาดจากนะยิส
6. ผู้อ่านคุตบะฮฺ้องปิดเอาเราะฮฺ (อวัยวะที่พึงปิดให้มิดชิด)
7. ผู้อ่าน ต้องนั่งใรระหว่างคุตบะฮฺทั้งสอง โดยมี "ตอมะนีนะฮฺ" เหมือนละหมาด
8. คุตบะฮฺที่อ่าน จะต้องเป็นคุตบะฮฺที่อ่านในยุมอะฮฺ และ ในสถานที่นั้นๆ (จะใช้เทปหรือถ่ายทอดทางวิทยุ และโทรทัศน์ไม่ได้)
9. ผู้อ่านต้องเป็นชาย
10. จะต้องอ่านคุตบะฮฺทั้งสองในเวลาดุฮริ
11. รูกนต่างๆ ของคุตบะฮฺทั้งสอง จะต้องมีความต่อเนื่องกัน โดยไม่นานเกินกว่าระยะเวลาละหมาดสองรอกาอั้ตเร็วๆ อนึ่ง การแทรกระหว่างรูกนด้วยคำตักเตือน ถึงแม้จะนานก็ไม่เป็นไร
12. ระหว่างคุตบะฮฺสุดท้ายกับเริ่มละหมาด จะต้องมีความต่อเนื่องกัน
สุนัตในวันศุกร์
สุนัต (สิ่งที่ควรทำ) ในวันศุกร์มีอยูมาก แต่จะกล่าว ณ ที่นี่เพียงบางประการ เช่น
1. อาบน้ำและชำระร่างกายให้สะอาด เฉพาะผู้ไปละหมาดวันศุกร์
2. ใช้เครื่องนุ่งห่มสีขาว เฉพาะผู้ไปละหมาดวันศุกร์
3. ตัดเล็บ
4. ใช้ของหอม
5. ตั้งใจสงบฟังในขณะที่อิหม่ามอ่านคุตบะฮฺ
6. อ่านซูเราะตุ้ลกะฮฺฟี ในวันศุกร์และคืนวันศุกร์ (หมายถึงวันพฤหัสบดีค่ำลง)
7. อ่านดุอาให้มาก ในวันศุกร์และคืนวันศุกร์ เพราะในวันศุกร์มีอยู่เวลาหนึ่ง ที่พระองค์อัลลอฮฺจะตอบรับการขอดุอา
8. ให้ทาน และ ทำความดีงามให้มาก ในวันศุกร์และคืนวันศุกร์
9. ให้อ่านซ่อลาหวาดแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด ช.ล.ให้มากๆ
10. ให้ไปมัสยิดเพื่อละหมาดวันศุกร์ ตั้งแต่ตอนเช้า
สรุป ช่วงโควิด-19 ละหมาดวันศุกร์ที่บ้านได้ไหม? คำตอบคือ หากละหมาดวันศุกร์ที่บ้านต้องเป็นการละหมาดฟัรฎูดุห์ริเท่านั้น คือ ละหมาดบ่าย 4 รอก้าอัตตามปกติ เพราะการละหมาดวันศุกร์ต้องมีจำนวน 40 คน
- วิธีละหมาดอีดฯ ที่บ้าน ห่างไกล COVID-19
- ละหมาดโอ้อวด ชอบไลฟ์สด ถือว่าเราตั้งภาคีด้วย!
- ผู้ดื้อดึง ย่อมได้รับความหายนะ นบีกล่าวถึง 3 ครั้ง
- กักตัวในบ้านเมื่อเกิดโรคระบาด ผลบุญเสมือนผู้ตายชะฮีด
- วิธีการทําตะยํามุม แทนอาบน้ำศพ ตายจากโควิด-19
- เมื่อเกิด โรคระบาด ในสมัยซอฮาบะห์
- อย่ากลัวโควิด-19 มากกว่ากลัวอัลลอฮฺ ตื่นเถิดมุสลิมทั้งหลาย!