ละหมาดดุฮา คืออะไร เวลาของละหมาดุฮากี่โมง วิธีการละหมาดดุฮา การเหนียตละหมาดดุฮา
คำนิยามและเวลาของละหมาดุฮา
การละหมาดดุฮา เป็นชื่อของช่วงแรกของวัน คือช่วงเวลาสาย และการละหมาดุอายังเป็นซุนนะฮ์ที่สมควรกระทำไว้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจำนวนรอกะอัตน้อยสุด มี 2 รอกะอัต มาสุด 8 รอกะอัต บางทัศนะระบุว่า มี 12 รอกะอัต ส่วนเวลาละหมาดดุฮา เริ่มตั้งแต่ตะวันขึ้นสูงจนถึงตะวันคล้อย สำหรับเวลาที่ดีเยี่ยมนั้น ให้ละหมาดขณะที่เวลาผ่านพ้นไปหนึ่งในสี่(ช่วงแรก)ของเวลากลางวัน (อิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 1/405)
ความประเสริฐของละหมาดดุฮา
การละหมาดดุฮา มีความประเสริฐและเป็นคุณความดีอย่างยิ่ง
ท่านนางอุมมุฮานี ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา น้าสาวของท่านนบี ได้กล่าวว่า:
إِنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ دَخَلَ بَيْتَهَا يَوْمَ فَتْحِ مَكَّةَ فَاغْتَسَلَ وَصَلَّى ثَمَانِيَ رَكَعَاتٍ فَلَمْ أَرَ صَلَاةً قَطُّ أَخَفَّ مِنْهَا غَيْرَ أَنَّهُ يُتِمُّ الرُّكُوعَ وَالسُّجُودَ
"แท้จริงท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เข้าไปในบ้านของนาง ในวันพิชิตมักกะฮ์ ท่านได้ทำการอาบน้ำและละหมาด 8 รอกะอัต ซึ่งฉันไม่เคยเห็นละหมาดใดที่จะเร็วไปกว่าละหมาดนี้เลย แต่ว่าท่านได้ทำการรอกั๊วะและสุหยูดอย่างสมบูรณ์" รายงานโดยบุคอรีย์ (1105)
จากท่านอบูฮุร๊อยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า:
أَوْصَانِي خَلِيلِي صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِثَلَاثٍ بِصِيَامِ ثَلَاثَةِ أَيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ وَرَكْعَتَيْ الضُّحَى وَأَنْ أُوتِرَ قَبْلَ أَنْ أَرْقُدَ
"มิตรสนิทของฉัน ได้กำชับฉันสามประการ คือ ถือศีลอด 3 วันของทุกเดือน สองรอกะอัตละหมาดุฮา และให้ฉันละหมาดวิตร์ก่อนที่ฉันจะนอน" รายงานโดยมุสลิม (1182)
รายงานจากอบี ดัรดาอฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เขาได้กล่าวว่า:
أَوْصَانِي حَبِيبِي صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِثَلَاثٍ لَنْ أَدَعَهُنَّ مَا عِشْتُ بِصِيَامِ ثَلَاثَةِ أَيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ وَصَلَاةِ الضُّحَى وَبِأَنْ لَا أَنَامَ حَتَّى أُوتِرَ
"มิตรสหายรักของฉันได้กำชับฉัน 3 ประการ ซึ่งฉันไม่เคยทิ้งมันเลยตราบที่มีชีวิตอยู่ คือ ถือศีลอด 3 วันของทุกเดือน ละหมาดดุฮา และไม่นอนจนกว่าทำละหมาดวิติร" รายงานโดยมุสลิม (1183)
รายงานจากท่านซัยด์ บิน อัรก๊อม ว่า:
خَرَجَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى أَهْلِ قُبَاءَ وَهُمْ يُصَلُّونَ فَقَالَ صَلَاةُ الْأَوَّابِينَ إِذَا رَمِضَتْ الْفِصَالُ
"ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ออกมาจากชาวกุบาอฺ ขณะที่พวกเขากำลังละหมาดดุฮา ท่านได้กล่าวว่า การละหมาดของผู้ที่กลับตัวสู่อัลเลาะฮ์นั้นคือ ละหมาดขณะที่(กีบเท้าของ)ลูกอูฐรู้สึกร้อน(ในทะเลทรายคือขณะที่ตะวันสูงขึ้น)" รายงานโดยมุสลิม
รายงานจากท่านอบี ซัรร์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า:
يُصْبِحُ عَلَى كُلِّ سُلَامَى مِنْ أَحَدِكُمْ صَدَقَةٌ فَكُلُّ تَسْبِيحَةٍ صَدَقَةٌ وَكُلُّ تَحْمِيدَةٍ صَدَقَةٌ وَكُلُّ تَهْلِيلَةٍ صَدَقَةٌ وَكُلُّ تَكْبِيرَةٍ صَدَقَةٌ وَأَمْرٌ بِالْمَعْرُوفِ صَدَقَةٌ وَنَهْيٌ عَنْ الْمُنْكَرِ صَدَقَةٌ وَيُجْزِئُ مِنْ ذَلِكَ رَكْعَتَانِ يَرْكَعُهُمَا مِنْ الضُّحَى
"ทุก ๆ อวัยวะข้อกระดูกของคนหนึ่งจากพวกท่าน เป็นซอดะเกาะฮ์ ดังนั้น ทุกการตัสบีห์ ย่อมเป็นซอดาเกาะฮ์ ทุกการกล่าวอัลฮัมดุลิลลาฮ์เป็นซอดาเกาะฮ์ ทุกการกล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์เป็นซอดาเกาะฮ์ ทุกการตักบีรเป็นซอดาเกาะฮ์ การกำชับให้ทำความดีเป็นซอดาเกาะฮ์ การห้ามจากสิ่งต้องห้ามเป็นซอดาเกาะฮ์ และถือว่าเพียงพอจากสิ่งดังกล่าวโดยการละหมาด 2 รอกะอัต ที่เขาได้ละหมาดมันจากเวลาดุฮา(เวลาสาย)" รายงานโดยมุสลิม (1181)
วิธีการละหมาดดุฮา
ตามทัศนะของ ท่านอิมามอันนะวาวีย์และนักปราชญ์ส่วนมาก กล่าวว่า การละหมาดุฮานั้นน้อยสุดมี 2 รอกะอัต มากสุดมี 8 รอกะอัต ดังนั้นจึงห้ามละหมาดเพิ่มเกิน 8 รอกะอัตด้วยการเหนียตละหมาดดุฮา ซึ่ง 8 รอกะอัตถือว่าดีเลิศกว่า
สำหรับทัศนะของอิมามอัรรอฟิอีย์นั้น กล่าวว่า อนุญาตให้เพิ่มละหมาดดุฮาถึง 12 รอกะอัต ซึ่งเป็นทัศนะที่ยึดถือโดยชัยคุลอิสลาม ซะการียา อัลอันซอรีย์ และท่าน อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมี เพราะมีฮะดิษจากท่านอะนัส บิน มาลิก ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ صَلَّى الضُّحَى ثِنْتَيْ عَشْرَةَ رَكْعَةً بَنَى اللَّهُ لَهُ قَصْرًا مِنْ ذَهَبٍ فِي الْجَنَّةِ
"ผู้ใดละหมาดดุฮา 12 รอกะอัต อัลเลาะฮ์จะทรงปราสาทหลังหนึ่งที่ทำมาจากทองในสรวงสวรรค์" รายงานโดยติรมีซีย์ (435) ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ หะญัร กล่าวว่า ฮะดิษนี้ แข็งแรง(ด้วยการถูกสนับสนุนยกระดับ)
สุนัตให้ทำการให้สลามทุก ๆ สองรอกะอัต แต่ถ้าหากทำ 8 รอกะอัต หรือ 12 รอกะอัต ด้วยการตักบีร่อตุลอิห์รอมเพียงครั้งเดียวและสลามครั้งเดียวนั้น ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้
หากคุณความดีในการล่าช้าละหมาดดุฮาให้อยู่ในช่วงเวลาหนึ่งในสี่ของวันกับคุณความดีในการละหมาดดุฮาในมัสยิดโดยไม่ทำการล่าช้าการละหมาดช่วงเวลาที่ดีเยี่ยมได้ประจบพร้อมในขณะเดียวกัน ดังนั้นที่ดีเลิศยิ่งกว่า ก็คือให้ล่าช้าละหมาดดุฮาให้อยู่ในช่วงหนึ่งในสี่ของวัน หากแม้นว่าจะพลาดการละหมาดในมัสยิดด้วยการล่าช้าก็ตาม เพราะคุณความดีงามที่ผูกพันเกี่ยวกับเวลาย่อมดีกว่าการรักษาคุณความดีงามที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ (อิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 1/406 - 408)
เมื่ออ่านอัลฟาติหะฮ์แล้ว สุนัตให้อ่านซูเราะฮ์ อัชชัมซฺ (ซูเราะฮ์ที่ 91) และซูเราะฮ์อัดดุฮา (ซูเราะฮ์ที่ 93) หรืออ่านซูเราะฮ์ อัลกาฟิรูน (ซูเราะฮ์ที่ 109) และซูเราะฮ์ อัลอิลาศ (ซูเราะฮ์ที่ 112) แต่การอ่านซูเราะฮ์อัลกาฟิรูนและซูเราะฮ์อัลอิคลาศ ย่อมประเสริฐกว่า (บุรออัลกะรีม 1/115)
ฮิกมะฮ์การละหมาดุฮา
ฮิกมะฮ์การละหมาดุฮา ก็เพื่อมิให้ช่วงยามสายว่างเว้นในการละหมาดและทำอิบาดะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา
การละหมาดดุฮาและอิชร๊อก
ละหมาดดุฮากับละหมาดอิชร๊อก นั้น นักปราชญ์ฟิกห์ มีความเห็นที่แตกต่างกัน 2 ทัศนะ
ทัศนะแรก คือละหมาดดุฮานั้น ไม่ใช่ละหมาดอิชร๊อก ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของอิมามฆอซะลีย์ , อิมามอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ และท่านอื่น ๆ ( ดู หนังสือ ตั๊วะหฺฟะตุลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 231 , อิอานะฮ์ อัตตอลิบีน เล่ม 1 หน้า 408 ดารุลฟิกร์ )
เวลาของละหมาดสุนัตอิชร๊อก ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนเวลาละหมาดดุฮาเล็กน้อย หมายถึงให้พ้นจากเวลามักโระฮ์ในขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังขึ้นสูงยังไม่พ้นขอบฟ้า โดยมีหลักฐานดังนี้
ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
من صلى الغداة في جماعة، ثم قعد يذكر الله حتى تطلع الشمس، ثم صلى ركعتين كانت له كأجر حجة وعمرة تامة، تامة، تامة
"ผู้ใดที่ทำละหมาดญะมาอะฮ์ซุบฮ์ หลังจากนั้น เขาได้นั่งซิกรุลเลาะฮ์ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นสูง แล้วเขาก็ทำการละหมาดสองร่อกะอัต แน่นอน เขาจะได้ผลตอบแทนเหมือนกับทำฮัจญ์และอุมเราะฮ์ อย่างสมบูรณ์ สมบูรณ์ สมบูรณ์" รายงาน โดย อัตติรมีซีย์ ท่านนูรุดดีน อัลฮัยตะมี กล่าวว่า หะดิษนี้ ดี (ดู หนังสือ มัจญฺมะอฺ อัซซะวาอิด เล่ม 10 หน้า 104
ทัศนะที่สอง การละหมาดสุนัตดุฮาและสุนัตอิชร๊อกนั้น เป็นละหมาดเดียวกัน ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของอิมาม รอมลีย์ , อิมามอัซซิยาดีย์ และท่านอื่น ๆ (ดู หนังสือ นิฮายะฮ์อัลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 116 , หนังสือ ก๊อลยูบีย์ วะอุมัยเราะฮ์ เล่ม 1 หน้า 245)
โดยมีหลักฐานดังนี้
يُسَبِّحْنَ بِالْعَشِيِّ وَالْإِشْرَاقِ
"และภูเขาต่าง ๆ ได้ทำการตัสบีหฺ(สะดุดีต่อพระองค์) ทั้งในยามเย็นและยามเช้า(พร้อมกับดาวูด)" ซ๊อด 17
ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า "นี้(ละหมาดดุฮา) คือละหมาดอิชร๊อก" ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย์กล่าวว่า "มันเป็นหะดิษเมากูฟ(เป็นคำกล่าวของซอฮาบะฮ์ที่ชัดเจนยิ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้)" ดู หนังสือ อัชชาฟ ฟีตัครีจญฺ อะหาดิษ อัลกัชชาฟ ตีพิมพ์ผนวจท้าย ตัฟซีร อัลกัชชาฟ ของท่าน อัซซะมัคชะซีย์ เล่ม 4 หน้า 75 และ ดู อิอานะฮ์ อัตตอลิบีน เล่ม 1 หน้า 406 ดารุลฟิกร์
ดังนั้น ทั้งสองทัศนะถือว่าดีทั้งหมด แต่ทัศนะที่ผมเลือกนั้น คือ ทัศนะที่สอง วัลลอฮุอะลัม แต่หากเลือกทัศนะที่หนึ่ง คือ ต้องการละหมาดอิชร๊อกด้วย ก็ให้ละหมาดตามเวลาที่ผมได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หลังจากนั้น ก็ละหมาดดุฮา 2 - 8 ร่อกะอัต ตามสะดวก
และสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่ต้องสับสนนะครับ คือดังนี้ครับ หากละหมาดอิชร๊อกตามเวลาที่ผมกล่าวมาเสร็จเรียบร้อย ก็ให้ละหมาดดุฮาถัดจากนั้น แต่ถ้าละหมาดดุฮาแล้ว ก็ไม่ต้องละหมาดอิชร๊อก เพราะละหมาดอิชร๊อกอยู่ก่อนละหมาดดุฮา และหากจะละหมาดอิชร๊อกอย่างเดียวโดยไม่ละหมาดดุฮา ก็ย่อมกระทำได้ หรือจะละหมาดดุฮาอย่างเดียว ก็ย่อมกระทำได้ เนื่องจากทั้งสองเป็นละหมาดสุนัต และท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ว่า "ผลตอบแทนของเธอ เท่าขนาดที่เธอทุ่มเทอุตสาหะ"
เราเน้นทำซุนนะห์ที่นบีกระทำมาเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่บอกว่าทำตามซุนนะห์แบบอยู่เฉย ๆ เพียงแค่อ้างว่าสิ่งที่นบีไม่ได้ทำถือว่าตามซุนนะห์
การละหมาดดุฮาและอิชร๊อก
ละหมาดดุฮากับละหมาดอิชร๊อก นั้น นักปราชญ์ฟิกห์ มีความเห็นที่แตกต่างกัน 2 ทัศนะ
ทัศนะแรก คือละหมาดดุฮานั้น ไม่ใช่ละหมาดอิชร๊อก ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของอิมามฆอซะลีย์ , อิมามอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ และท่านอื่น ๆ ( ดู หนังสือ ตั๊วะหฺฟะตุลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 231 , อิอานะฮ์ อัตตอลิบีน เล่ม 1 หน้า 408 ดารุลฟิกร์ )
เวลาของละหมาดสุนัตอิชร๊อก ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนเวลาละหมาดดุฮาเล็กน้อย หมายถึงให้พ้นจากเวลามักโระฮ์ในขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังขึ้นสูงยังไม่พ้นขอบฟ้า โดยมีหลักฐานดังนี้
ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
من صلى الغداة في جماعة، ثم قعد يذكر الله حتى تطلع الشمس، ثم صلى ركعتين كانت له كأجر حجة وعمرة تامة، تامة، تامة
"ผู้ใดที่ทำละหมาดญะมาอะฮ์ซุบฮ์ หลังจากนั้น เขาได้นั่งซิกรุลเลาะฮ์ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นสูง แล้วเขาก็ทำการละหมาดสองร่อกะอัต แน่นอน เขาจะได้ผลตอบแทนเหมือนกับทำฮัจญ์และอุมเราะฮ์ อย่างสมบูรณ์ สมบูรณ์ สมบูรณ์" รายงาน โดย อัตติรมีซีย์ ท่านนูรุดดีน อัลฮัยตะมี กล่าวว่า หะดิษนี้ ดี (ดู หนังสือ มัจญฺมะอฺ อัซซะวาอิด เล่ม 10 หน้า 104
ทัศนะที่สอง การละหมาดสุนัตดุฮาและสุนัตอิชร๊อกนั้น เป็นละหมาดเดียวกัน ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของอิมาม รอมลีย์ , อิมามอัซซิยาดีย์ และท่านอื่น ๆ (ดู หนังสือ นิฮายะฮ์อัลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 116 , หนังสือ ก๊อลยูบีย์ วะอุมัยเราะฮ์ เล่ม 1 หน้า 245)
โดยมีหลักฐานดังนี้
يُسَبِّحْنَ بِالْعَشِيِّ وَالْإِشْرَاقِ
"และภูเขาต่าง ๆ ได้ทำการตัสบีหฺ(สะดุดีต่อพระองค์) ทั้งในยามเย็นและยามเช้า(พร้อมกับดาวูด)" ซ๊อด 17
ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า "นี้(ละหมาดดุฮา) คือละหมาดอิชร๊อก" ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย์กล่าวว่า "มันเป็นหะดิษเมากูฟ(เป็นคำกล่าวของซอฮาบะฮ์ที่ชัดเจนยิ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้)" ดู หนังสือ อัชชาฟ ฟีตัครีจญฺ อะหาดิษ อัลกัชชาฟ ตีพิมพ์ผนวจท้าย ตัฟซีร อัลกัชชาฟ ของท่าน อัซซะมัคชะซีย์ เล่ม 4 หน้า 75 และ ดู อิอานะฮ์ อัตตอลิบีน เล่ม 1 หน้า 406 ดารุลฟิกร์
ดังนั้น ทั้งสองทัศนะถือว่าดีทั้งหมด แต่ทัศนะที่ผมเลือกนั้น คือ ทัศนะที่สอง วัลลอฮุอะลัม แต่หากเลือกทัศนะที่หนึ่ง คือ ต้องการละหมาดอิชร๊อกด้วย ก็ให้ละหมาดตามเวลาที่ผมได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หลังจากนั้น ก็ละหมาดดุฮา 2 - 8 ร่อกะอัต ตามสะดวก
ที่มา: http://www.sunnahstudent.com
http://islamhouse.muslimthaipost.com