มัสยิดดารุ้ลอาบีดีน ตรอกจันทร์ (ประวัติ)


5,710 ผู้ชม

มัสยิดดารุ้ลอาบิดีน มัสยิดที่แสดงพลังของสถาปนิกแห่งโลกมุสลิม เพราะตั้งอยู่บนถนนจันทน์ หรือที่คนสมัยก่อนเรียกกันว่าตรอกจันทน์


มัสยิดดารุ้ลอาบิดีน  ที่ตั้ง: บนถนนจันทน์ เกือบถึงแยกตรอกจันทน์ แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ

มัสยิดดารุ้ลอาบีดีน ตรอกจันทร์ (ประวัติ)

มัสยิดดารุ้ลอาบิดีน มัสยิดที่แสดงพลังของสถาปนิกแห่งโลกมุสลิม เพราะตั้งอยู่บนถนนจันทน์ หรือที่คนสมัยก่อนเรียกกันว่าตรอกจันทน์ เนื่องจากเคยเป็นซอยเล็กเพียง 2 เลน หลายคนจึงเรียกมัสยิดแห่งนี้ว่า ‘มัสยิดตรอกจันทน์’ มองไกลๆ จากริมถนนแล้วหน้าตาอาจคล้ายปราสาทขนาดเล็ก เพราะมีหออาซาน 4 ด้าน ถ้าลองสังเกตที่มุมภายในมัสยิด จะเห็นประตูลับซ่อนอยู่ 4 มุม เปิดเข้าไปเป็นบันไดวนเดินขึ้นสู่หอคอยได้ มีไว้สำหรับประกาศบอกเวลาละหมาด รวมถึงเป็นที่สังเกตการณ์เวลาไฟไหม้อีกด้วย

มัสยิดดารุ้ลอาบีดีน ตรอกจันทร์ (ประวัติ)

มัสยิดแห่งนี้ยังมีพื้นที่ด้านในโล่งกว้างเพราะไม่มีเสาเข็มแม้แต่ต้นเดียว แต่ตั้งอยู่บนดินเหนียวได้ด้วยการนำโอ่งใส่ทรายมาวางเรียงต่อกันแทนรากฐาน แล้วคำนวณให้ผนังอาคารรับน้ำหนักได้พอดี แม้มีรถวิ่งผ่านหรือเคยเกิดไฟไหม้ มัสยิดก็ไม่เคยพังหรือล้มเลยสักครั้ง

มัสยิดดารุ้ลอาบีดีน ตรอกจันทร์ (ประวัติ)

มัสยิดแห่งนี้สร้างใน พ.ศ. 2455 โดยสถาปนิกชื่อดัง รองอำมาตย์ตรี เอ็ม.เอ.กาเซ็ม หรือที่คนในชุมชนรู้จักกันในนาม กาเซ็ม-แปลน ส่วนคนไทยรู้จักในนาม เกษม อิทธิเกษม ส่วนโมเสกนั้นมาประดับทีหลังใน พ.ศ. 2529 คาดว่าเพื่อกันไม่ให้ปูนล่อน แต่โมเสกจะติดห่างกันเล็กน้อยเพื่อเว้นช่องว่างสำหรับระบายความร้อน มีรายละเอียดเก๋ไก๋คือลูกทับทิมกับพระนามอัลเลาะห์ ซึ่งประดับอยู่ด้านนอกอาคารบริเวณเหนือช่องหน้าต่าง ทับทิมเป็นผลไม้ที่ถูกกล่าวถึงในมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ในฐานะสัญลักษณ์แทนความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง

ความพิเศษอีกอย่างของมัสยิดแห่งตรอกจันทน์คือ ในรั้วมัสยิดมีที่อยู่อาศัยด้วย และยังมีคนใช้ชีวิตอยู่จริงๆ เรียกว่าเป็นศาสนสถานที่สนิทกับชุมชนในระดับใช้รั้วร่วมกันเลยทีเดียว

ที่มา:   readthecloud.co

อัพเดทล่าสุด