มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน จากตำหนักท้องพระโรงสู่มัสยิด : islamhouses


2,651 ผู้ชม

เปิดประวัติ มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน จากตำหนักท้องพระโรงสู่มัสยิด...


มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน จากตำหนักท้องพระโรงสู่มัสยิด

การสร้างมัสยิดในวัฒนธรรมมลายูโดยรวมแล้ว เป็นการสร้างโดยความร่วมมือของคนในชุมชน ทั้งในการระดมเงินทุนและการร่วมลงแรงในการก่อสร้าง กรณีของ “มัสยิดกือดามูลง” รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เป็นกรณีที่ต่างออกไปจนเรียกได้ว่า เป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะเกิดจากการที่ชาวบ้านในชุมชนกือดามูลงที่ต้องการมีมัสยิดในชุมชนสักหลังหนึ่งได้ขอบริจาคอาคารไม้เก่าแก่หลังนี้จากเชื้อสายเจ้าเมืองกลันตันมาเป็นอาคารมัสยิด โดยที่ชาวบ้านที่เป็นแกนนำในชุมชนได้บริจาคที่ดินอุทิศให้เป็นทรัพย์สินของมัสยิดหลังนี้

มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน จากตำหนักท้องพระโรงสู่มัสยิด

Masjid kedai Mulong Kelantan มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน

อาคารไม้หลังนี้เดิมเป็น Balairung(บาไลรง) หรือ ตำหนักท้องพระโรงของ Tengku Zainal Abidin หรือเป็นที่รู้จักในนาม Raja Dewa ผู้ซึ่งเป็นอนุชาของ Sultan Muhammad IV เจ้าเมืองกลันตันที่ปกครองกลันตันในช่วงปี ค.ศ.1900-1920 และดำรงตำแหน่งราญามุดา(อุปราช)ในสมัยการปกครองของ Sultan Muhammad IV ด้วย Sultan Muhammad IV เป็นสุลต่านที่ปกครองเมืองกลันตันในช่วงที่มีการทำสนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ.2452 (Anglo-Siamese Treaty of 1909)

ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ทำให้สยามต้องยกสิทธิการปกครองและบังคับบัญชาเหนือเมืองไทรบุรี กลันตัน ตรังกานูและเปอร์ลิสรวมทั้งเกาะใกล้เคียงให้แก่อังกฤษ

มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน จากตำหนักท้องพระโรงสู่มัสยิด

Masjid kedai Mulong Kelantan มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน

อาคารไม้หลังนี้เดิมตั้งอยู่บริเวณพระราชวังเก่าของเมืองโกตาบารู(กลันตัน) ไม่ห่างจาก Istana Jahar ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกลันตันในปัจจุบันมากนัก ในขณะที่ทำการเคลื่อนย้ายตำหนักหลังนี้มาเป็นมัสยิดที่กือดามูลงนั้น ตัวตำหนักอยู่ในสภาพที่ผนังและพื้นเสียหายไม่สมบูรณ์แล้ว และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านมรดกแห่งชาติภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรมของประเทศมาเลเซีย Jabatan Warisan Negara, Kementerian Pelancongan, Seni dan Budaya Malaysia เข้ามาบูรณะและจดทะเบียนอนุรักษ์ในปี ค.ศ.2009

อาคารหลังนี้มีลักษณะเป็นอาคารไม้ยกพื้นสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาจั่วซ้อนกันสองชั้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ผนังเป็นผนังไม้แบบฝาปะกนตามแบบสกุลช่างกลันตันที่มีเอกลักษณ์เฉพาะคือการทำลูกฟักแนวนอนแทรกในลูกฟักแนวตั้งเป็นระยะ มีช่องลมฉลุลายโดยรอบอาคาร

มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน จากตำหนักท้องพระโรงสู่มัสยิด

Masjid kedai Mulong Kelantan มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน

ภายในอาคารส่วนที่เป็นผนังเดิมยังปรากฏร่องรอยการลงสีเขียนลวดลายประดับที่หลงเหลือจากตำหนักท้องพระโรงเก่าอยู่บ้าง แต่ก็เลือนลางไปมาก ผนังสกัดด้านตะวันตกที่ปกติในมัสยิดทั่วไปจะสร้างเป็นมุขมิฮ์รอบ(Mihrab) สำหรับอีหม่ามนำละหมาดนั้นไม่ปรากฏในมัสยิดหลังนี้เนื่องด้วยการสร้างอาคารหลังนี้ในครั้งแรกนั้นถูกสร้างเพื่อเป็นท้องพระโรงนั่นเอง

ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าอาคารหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อใด มีข้อมูลแต่เพียงว่าเคยเป็นตำหนักท้องพระโรงของราญาเดวาราญามุดาเมืองกลันตันซึ่งตรงกับช่วงสมัย รัชกาลที่ 5 ของสยามเท่านั้น

อาคารหลังนี้มีคุณค่าในการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมลายูกลันตัน-ปตานี โดยเฉพาะตำหนักท้องพระโรง ซึ่งมีตัวอย่างให้ศึกษาไม่มากนัก ปัจจุบันถูกบูรณะและใช้งานเป็นมัสยิดชื่อ มัสยิดอัรเราะห์มาน กือดามูลง เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน จากตำหนักท้องพระโรงสู่มัสยิด

Masjid kedai Mulong Kelantan มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน

มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน จากตำหนักท้องพระโรงสู่มัสยิด

Masjid kedai Mulong Kelantan มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน

มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน จากตำหนักท้องพระโรงสู่มัสยิด

Masjid kedai Mulong Kelantan มัสยิดกือดัยมูลงกลันตัน

ที่มา: pataninotes.com

เรื่องที่น่าสนใจ