รูปแบบของการการยุยงให้สามีภรรยาแตกแยกกัน ซึ่งมีหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม เช่น
โทษของการยุให้สามีภรรยาแตกแยกกัน (อิสลาม)
“การทำร้ายคนอื่น” ไม่ว่าจะศาสนาใดก็ตาม เป็นสิ่งต้องห้าม และไม่อณุญาติกระทำเด็ดขาด ซึ่งแน่นอน การยุยงที่เป็นต้นเหตุให้ครอบครัวผู้อื่นแตกแยก สำหรับมุมมองความเป็นอิสลามแล้ว จะต้องได้รับบทลงโทษอย่างสาสม เป็นอย่างไรบ้าง
จากฮาดิษรายงานโดย อาบี ฮูรัยเราะฮฺ รอดียัลลอฮฺฮูอันฮู กล่าวว่า ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) กล่าว มีความว่า “ ใครก็ตามที่หลอกลวง และ ทำลาย (ความสัมพันธ์) ทาสของเจ้านาย เขาผู้นั้นจะไม่ใช่กลุ่มของเรา และใครก็ตามที่ทำลาย (ความสัมพันธ์) ผู้หญิงจากสามีของเขา เขาผู้นั้นก็ไม่ใช่กลุ่มของเราเช่นกัน”
(ฮาดิษ ซอฮิฮฺ จาก อะห์หมัด, อัล- บัสสา, อิบนู ฮิบบาน, อัล-อันนาส ในหนังสือ al-Kubra และ al- baihaqi )
عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ – رَضِيَ اللهُ عَنْهُ – قَالَ: قَالَ رَسُوْلُ اللهِ – صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ -: (( مَنْ خَبَّبَ عَبْدًا عَلَى أَهْلِهِ فَلَيْسَ مِنَّا، وَمَنْ أَفْسَدَ اِمْرَأَةً عَلَى زَوْجِهَا فَلَيْسَ مِنَّا )) [حديث صحيح رواه أحمد والبزار وابن حبان والنسائي في الكبرى والبيهقي]
อธิบายใจความฮาดิษเพิ่มเติม
1. ผู้ใดก็ตามที่ไปยุแหย่หรือยุยงให้คนที่อยู่ในงาน มีปัญหากัน หรือ จนกระทั้งให้มีปัญหาระหว่างความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน สุดท้ายทำให้ ลูกน้องลาออกจากกงาน หรือ โดนหัวหน้าไล่ออก
2. ทำการยุยงผูหญิงที่อยู่ในสถานะภรรยาจากสามีของเขา จนกระทั้งทำให้ทั้งสองเกิดความแตกแยก ไม่ว่าจะด้วยภรรยาขอหย่า หรือ สามีทำการหย่าร้างก็ตาม
รูปแบบของการยุยง
รูปแบบของการการยุยงให้สามีภรรยาแตกแยกกัน ซึ่งมีหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม เช่น
1. คนที่ยุยงด้วยการขอดุอาอฺจากเอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) “ให้สามีภรรยาคู่นี้เลิกกัน อยู่ด้วยกันไม่สงบสุข” การดุอาอฺแบบนี้ถือว่าเป็นการยุยงโดยตรงที่ขอจากอัลลอฮฺ (ซ.บ) แม้เจ้าตัวไม่รู้ก็ตาม ซึ่งไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง
2. คนที่ยุยงโดยการใช้ คำพูดที่ดูดี คำพูดที่สุภาพ เรียบร้อย แต่แก่นแท้แล้วแอบแฝงไปด้วย การสะกดจิตหรือเรียกว่า การทำไสยศาสตร์ เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาแตกแยกกัน
จากฮาดิษ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) กล่าวไว้ โดยมีใจความว่า “แท้จริงแล้วคำพูดที่ดีนั้น มาจากส่วนหนึ่งของการอธิบายจาก ไสยศาสตร์” (รายงานโดย บูคอรีย์ ใน al-Adab al-Mufrad, Abu Dawud และ Ibn Majah. Syekh Albani โดยการตรวจสอบฮาดิษ ซอฮิฮฺ no. 1731)
3. ยุงยงให้สามีภรรยาแตกแยกกัน (หรือ ผู้ที่กำลังจะดำเนินการแต่งงาน ให้ล้มสลายงานแต่ง)โดยการกระซิบหรือกระตุ้นบางอย่างให้กับผู้เป็นภรรยาหรือสามีเขา ให้ทั้งสองเกิดความเข้าใจผิดกัน ( อย่าลืมว่า การยุงยงนั้นเป็นแผนร้ายมาจากชัยฎอน)
4. ทำการยุยงโดยขอให้สามีภรรยาคู่นี้ แยกกันอยู่ด้วยการหย่าร้างกัน โดยมีเหตุผลนอกเหนือตามกฎหมายของอิสลาม
ตามฮาดิษของ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) กล่าวโดยมีใจความว่า “ ไม่ฮาลาลสำหรับผู้หญิงที่ขอให้ สามีทำการหย่าร้างกับผู้หญิงคนอื่น (ภรรยาอีกคน) ด้วยความความตั้งใจ... แท้จริงแล้ว สิทธิ์ของเขานั้นได้ถูกกำหนดอย่างชัดเจนแล้ว ” (Hadis muttafaq alaih)
และไม่ฮาลาลให้ผู้ใดก็ตามทำให้ สามีภรรยา เกิดความเข้าใจผิดกัน และเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาครอบครัว จนจบความสัมพันธ์ในที่สุด
โทษสำหรับผู้ยุยงให้ครอบครัวคนอื่นแตกแยก
นักวิชาการส่วนใหญ่มองว่า “ผู้ที่ยุงยงให้ครอบครัวคนอื่นแตกแยกนั้น จัดอยู่ในหมวดของการกระทำที่ฮารอม” ซึ่งการกระทำเหล่านี้ก็จัดอยู่ในหมวด บาปที่ใหญ่เช่นกัน ตาม Imam al-Haitsam “เป็นบาปใหญ่ต่อผู้ที่กระทำให้ครอบครัวผู้อื่นแตกแยก ไม่ว่าจะทำให้ภรรยาเป็นผู้ขอหย่า หรือสามีเป็นผู้ทำการหย่าร้างก็ตาม ตามฮาดิษนบีที่ซอฮิฮฺเขาผู้นั้นจะเป็นกลุ่มคนที่ทำบาปใหญ่”
ฉะนั้น เมื่อรู้ว่า การยุยงให้ครอบครัวผู้อื่นเกิดความแตกแยกกัน เป็นการกระทำที่ฮารอม และบาป ซึ่งไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ เมื่อเป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม แน่นอนต้องได้รับบทลงโทษในวันอาคิเราะฮฺอย่างเจ็บปวด เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว อย่าได้ยุแหย่ให้ครอบครัวคนอื่นแตกแยกเลย ไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม เพราะผลตอบรับที่ได้มาไม่คุ้มเสียเลย วาอียาซุบิลลาฮฺ
- โทษของการลักทรัพย์ ขโมย ตัดมือ อิสลาม
- โทษของการเนรคุณพ่อแม่ในอิสลาม
- ธุรกิจต้องห้ามในอิสลาม อาชีพต้องห้ามในอิสลาม มีอะไรบ้าง?
- ผู้ชายที่ชอบตบตีเมีย ได้รับผลกรรมอย่างไร – โดนสามีตบหน้า ภรรยาในอิสลาม
- ผู้ชายมุสลิม สามารถรักกับหญิงต่างศาสนาได้หรือไม่?
- ซูเราะห์เพิ่มพูนริสกี พยายามอ่านกันเยอะๆ
- ดุอาอฺไม่ให้เกียจคร้าน
- จุดจบของผู้ละทิ้งละหมาดฟัรดู
- ผิดไหม ถ้าจะเป็นภรรยาคนที่ 2 เพื่ออิสลาม
เรียบเรียงโดย Fateemoh : Berita muslim