ค้าขาย อิสลามห้ามเอาเปรียบผู้บริโภค


3,025 ผู้ชม

ศาสนาส่งเสริมให้ทำอาชีพค้าขาย เพราะการค้าขายนั้นริซกีย์ (ปัจจัยยังชีพ) จักถูกประทานลงมาตลอดเวลา ส่วนบุคคลใดจะได้รับริซกีย์นั้นมากหรือน้อยเพียงใด นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง


ค้าขาย อิสลามห้ามเอาเปรียบผู้บริโภค

บทความโดย อ.มุรีด ทิมะเสน

ท่านอิบนุอุมัรฺเล่าว่า

نَهَى النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنِ النَّجْشِ

“ท่านนบีมุหัมมัดห้ามการซื้อขายด้วยการปั่นราคา (สินค้า) ให้สูงขึ้น” [ค้าขาย อิสลาม : หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 2142]

สิ่งที่ได้รับจากหะดีษ

ค้าขาย อิสลาม ศาสนาส่งเสริมให้ทำอาชีพค้าขาย เพราะการค้าขายนั้นริซกีย์ (ปัจจัยยังชีพ) จักถูกประทานลงมาตลอดเวลา ส่วนบุคคลใดจะได้รับริซกีย์นั้นมากหรือน้อยเพียงใด นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง

ด้วยการส่งเสริมให้มุสลิมทำอาชีพค้าขายนี่เอง เรามักพบว่า รายละเอียดเกี่ยวกับการค้าการขายมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งระบุไว้ค่อนข้างละเอียดทุกแง่มุมก็ว่าได้ ตัวอย่างที่จะหยิบยกมาก็คือ ท่านนบีของเราห้ามการซื้อขายในรูปแบบปั่นราคาสินค้าให้สูงขึ้น ซึ่งมีหลายนัยยะ อาทิเช่น เชียร์สินค้าของตนเกินจริงเพื่อทำให้สินค้านั้นขายได้เร็วขึ้น เรียกว่า โปรโมทสินค้าเกินความเป็นจริงนั่นหละ อยู่ในความหมายปั่นราคาเช่นกัน หรือเราตกลงกับเจ้าของสินค้าโดยให้ปั่นราคาสินค้านั้นให้สูงขึ้น

ค้าขาย อิสลามห้ามเอาเปรียบผู้บริโภค

กระทั่งผู้ซื้อรายอื่นไม่สามารถตกลงซื้อสินค้านั้นได้ เพื่อเราจะได้ซื้อไว้คนเดียว หรือหมายถึง การปั่นราคาสินค้าให้สูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการมากยิ่งขึ้น จึงถือโอกาสขึ้นราคาสินค้า เช่น ช่วงนี้โรคโควิด 19 กำลังระบาดหนัก สินค้าหลายตัวขาดตลาด โดยเฉพาะ “ไข่” ซึ่งเป็นอาหารพื้นฐานของคนไทยเราก็ว่าได้ มีผู้บริโภคต้องการซื้อเป็นจำนวนมาก ก่อนหน้านี้อาจจะราคาใบละ 3 บาท (สมมุติ) ครั้นมีผู้บริโภคมาขึ้น จึงจำหน่ายใบละ 5-6 บาท ปั่นราคาให้สูงขึ้นเฉยเลย เช่นนี้อยู่ในข่ายที่ท่านนบีของเราห้ามไว้เช่นกัน

ในช่วงที่มีโรคระบาดอย่างปัจจุบัน ทุกคนควรต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เห็นอกเห็นใจกันมากกว่าจะซ้ำเติม หรือจ้องแต่ช่วงชิงผลประโยชน์เข้าตัวเองบนความเดือดร้อนของผู้อื่น, มีศักดิ์ศรีตรงไหนกับการขูดเลือดขูดเนื้อเพื่อนร่วมสังคมเดียวกันเพียงเพราะทำให้ตนเองเสวยสุขแต่เพียงผู้เดียว? อิสลามห้ามเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด ไม่รอมชอมกับการเอาผลประโยชน์ใส่ตัวบนความทุกข์ร้อนหรือความเดือนร้อนของผู้อื่น, ใจเขาใจเรา แบ่งปัน ช่วยเหลือกันในยามยาก เห็นใจกันในยามโรคระบาดกำลังแพร่เชื้อ นั่นหละคือของขวัญอันล้ำค่าที่สุดสำหรับผู้ที่ได้ชื่อว่า เพื่อนร่วมสังคมเดียวกัน

อัพเดทล่าสุด