اَلْحَمْدُ ِللهِ الَّذِيْ وَعَدَ مَنْ أَطَاعَهُ بِدَارِ السَّلاَمِ . وَقَبِلَ مَنْ عَصَاهُ إِذَا تَابَ عَنِ ارْتِكاَبِ اْلآثَامِ . وَاسْتَجَابَ لِمَنْ دَعَاهُ وَقَدْ تَوَكَّلَ عَلَيْهِ فِيْ إِنْجَازِ الْمَرَامِ . لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ وَعَلَى اللهِ فَلْيَتَوَكَّلِ الْمُؤْمِنُوْنَ . وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ الْمُنْعِمُ عَلَى الْعِبَادِ . وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ الدَّاعِيْ إِلَى سَبِيْلِ الرَّشَادِ . اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ اْلأَمْجَادِ صَلاَةً وَسَلاَمًا دَائِمَيْنِ مُتَلاَزِمَيْنِ إِلَى يَوْمِ يُبْعَثُوْنَ .
أَمَّا بَعْدُ فَيَا عِبَادَ اللهِ . أُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ أَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهِ . فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِي الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ : أَيْنَمَا تَكُوْنُوْا يُدْرِكْكُمُ الْمَوْتُ وَلَوْكُنْتُمْ فِيْ بُرُوْجٍ مُشَيَّدَةٍ وَإِنْ تُصِبْهُمْ حَسَنَةٌ يَقُوْلُوْا هَذِهِ مِنْ عِنْدِ اللهِ وَإِنْ تُصِبْهُمْ سَيِّئَةٌ يَقُوْلُوْا هَذِهِ مِنْ عِنْدِكَ قُلْ كُلٌّ مِنْ عِنْدِ اللهِ فَمَالِ هَؤُلاَءِ الْقَوْمُ لاَ يَكَادُوْنَ يَفْقَهُوْنَ حَدِيْثًا
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
มุสลิมที่เปี่ยมล้นด้วยอีหม่าน เขาจะไม่มีความหวาดหวั่น และหวาดกลัวต่อกำหนดความตายที่เขาทราบดีว่า มนุษย์ทุกคนต้องกลับไปสู่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) แต่ความเป็นมุมิน คือ ความปรารถนาที่จะกลับสู่ความเมตตาของพระองค์ และไม่ปรารถนาที่จะอยู่ในโลกดุนยาอย่างถูกโกรธกริ้วและกลับไปสู่ความพิโรธของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)
อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
أَيْنَمَا تَكُونُواْ يُدْرِكْكُمُ الْمَوْتُ وَلَوْ كُنتُمْ فِي بُرُوجٍ مُّشَيَّدَةٍ: سورة النساء الآية : 78
ความว่า “ณ ที่ใดก็ตาม ที่พวกเจ้าปรากฏอยู่ ความตายก็ย่อมมาถึงพวกเจ้า และถึงแม้ว่าพวกเจ้าจะอยู่ในป้อมปราการอันสูงตระหง่านก็ตาม”
อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ตรัสว่า
وَمَا تَدْرِيْ نَفْسٌ مَاذَا تَكْسِبُ غَدًا وَمَا تَدْرِيْ نَفْسٌ بِأَيِّ أَرْضٍ تَمُوْتُ إِنَّ اللهَ عَلِيْمٌ خَبِيْرٌ : سورة لقمان الآية : 34
ความว่า “และไม่มีชีวิตใดรู้สิ่งที่ขวนขวายให้ได้มาในวันรุ่งขึ้น และไม่มีชีวิตใดรู้ว่า ณ แผ่นดินใดที่จะตาย แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้และละเอียดถี่ถ้วน”
ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก
ไม่มีบ่าวผู้ใดทราบว่าเขาจะตายเมื่อไหร่ และเขาจะตายที่ไหน ความตายจะชวนใครไปด้วยก็หาไม่ได้ ไม่มีใครจะตามไปตายด้วย สิ่งที่จะตามบ่าวของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ไปก็คืออาม้าลที่ซอและห์
มีรายงานเล่าว่า มีข้าหลวงคนสนิทของนบีดาวุด (อ.ล.) มีอายุยืนยาว หลังจากนบีดาวุด (อ.ล.) ได้กลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ข้าหลวงผู้นี้กลายสภาพเป็นข้าหลวงของท่านนบีสุลัยมาน (อ.ล.) บุตรของนบีดาวุด (อ.ล) ในวันหนึ่งท่านนบีสุลัยมาน (อ.ล.) นั่งอยู่สถานที่พำนักของท่าน ในช่วงสาย ข้าหลวงนั่งร่วมอยู่ด้วย ขณะนั้น มีชายผู้หนึ่งเข้าพบพร้อมให้สลามและร่วมสนทนากับนบีสุลัยมาน (อ.ล.) สายตาของชายผู้นั้นได้มองไปยังข้าหลวง ทำให้ข้าหลวงหวาดกลัวด้วยสายตาอันน่าเกรงขาม เมื่อชายผู้นั้นออกไป ข้าหลวงกล่าวถามท่านนบีสุลัยมาน (อ.ล) ว่า
يَا نَبِيَّ اللهِ مَنْ هَذَا الرَّجُلُ الَّذِيْ خَرَجَ عِنْدَكَ قَدْ وَاللهِ أَفْزَعَنِيْ مَنْظَرُهُ
ความว่า “โอ้ท่านนบีแห่งอัลลอฮ์ ชายที่ออกไปสักครู่คือใคร ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่า ความจริงการมองของเขามายังข้าพเจ้าทำให้ข้าพเจ้าหวาดกลัวเหลือเกิน”
ท่านนบีสุลัยมาน (อ.ล.) ตอบว่า
هَذَا مَلَكُ الْمَوْتِ يَتَصَوَّرُ بِصُوْرَةِ الرَّجُلِ وَيَدْخُلُ عَلَيَّ
ความว่า “ชายผู้นั้นคือ มะละกุ้ลเมาต์ จำแลงร่างมาเพื่อเข้าพบข้าพเจ้า”
ข้าหลวงเมื่อทราบดังนั้นด้วยความหวาดกลัวถึงกับร้องไห้ จึงกล่าวขอร้องให้ท่านนบีสุลัยมาน (อ.ล.) ใช้ลมแบกหามเขาให้ไปยังสถานที่ไกลที่สุด สถานที่นั้นคืออินเดีย ท่านนบีสุลัยมาน (อ.ล.) ได้ทำตามคำขอร้อง
ต่อมาในวันรุ่งขึ้น มะละกุ้ลเมาต์ ก็มาพบท่านนบีสุลัยมานพร้อมให้สลาม ท่านนบีสุลัยมานถามว่าโอ้มะละกุ้ลเมาต์ ท่านทำให้ข้าหลวงของข้าหวาดกลัวโดยการเชือดเขาด้วยสายตา เมื่อวานนี้เพราะเหตุใด มะละกุ้ลเมาต์ตอบว่า โอ้นบีแห่งอัลลอฮ์ แท้จริงข้าพเจ้าได้เข้าพบท่านในช่วงสายของเมื่อวาน และความจริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงใช้ให้ข้าพเจ้าชักวิญญาณ ของข้าหลวงท่าน หลังบ่ายที่อินเดีย ข้าพเจ้ายังแปลกใจอยู่เลย นบีสุลัยมาน (อ.ล) กล่าวว่า ดังนั้นท่านทำอะไรต่อไป มะละกุ้ลเมาต์ตอบว่า ข้าพเจ้าได้ไปยังสถานที่ซึ่งอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงใช้ให้ไปชักวิญญาณข้าหลวงของท่าน ข้าพเจ้าก็พบว่าเขารอข้าพเจ้าอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจึงชักวิญญาณเขา
อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ตรัสว่า
قُلْ إِنَّ الْمَوْتَ الَّذِي تَفِرُّونَ مِنْهُ فَإِنَّهُ مُلاقِيكُمْ ثُمَّ تُرَدُّونَ إِلَى عَالِمِ الْغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ فَيُنَبِّئُكُم بِمَا كُنتُمْ تَعْمَلُونَ : سورة الجمعة الآية : 8
ความว่า “จงกล่าวเถิด (มูฮำหมัด) แท้จริงความตาย ซึ่งพวกท่านหลีกหนีจากมันไปนั้น แท้จริงมันจะมาพบกับพวกท่าน แล้วพวกท่านก็จะถูกนำกลับคืนไปสู่พระองค์ผู้ทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับและสิ่งเปิดเผย ดังนั้นพระองค์จะทรงแจ้งแก่พวกท่านตามที่พวกท่านได้ประกอบกรรมไว้ในโลกดุนยา”
ท่านพี่น้องที่รัก ชีวิตอุมมะห์ของท่านนบีองค์สุดท้าย น้อยนักที่จะมีอายุขัยเกิน 70 ปี
ดังมีรายงานจาก อบูฮูรอยเราะห์ว่า
أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : أَعْمَارُ أُمَّتِيْ مَا بَيْنَ السِّتِّيْنَ إِلَى السَّبْعِيْنَ وَ أَقَلُّهُمْ مَنْ يُجَوِّزُ ذَلِكَ : رواه الترمذي
ความว่า “แท้จริงท่านนบี (ศ้อลฯ) กล่าวว่า ชีวิตอุมมะห์ของข้าพเจ้าอยู่ระหว่าง 60 ปี ถึง 70 ปี และน้อยคนนักที่จะมีอายุเกินกว่าดังกล่าว”
บ่าวมุสลิมจึงต้องขะมักเขม้นในการเสริมสร้างอีหม่าน และต้องละทิ้งความชั่ว เขาผู้นั้นจะได้กลับไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในสภาพของบ่าวที่ได้รับการพักผ่อนอันยาวนานเหล่าซอฮาบะห์ ถามท่านนบีว่า
مَا الْمُسْتَرِيْحُ
ความว่า “ใครคือผู้ที่ตายแล้วได้รับการผ่อนคลาย”
ท่านนบี (ศ้อลฯ) ตอบว่า
اَلْعَبْدُ الْمُؤْمِنُ يَسْتَرِيْحُ مِنْ نَصَبِ الدُّنْيَا : الحديث متفق عليه
ความว่า “คือบ่าวที่เป็นมุมิน เขาจะได้ผ่อนคลายจากความเหน็ดเหนื่อยของโลกดุนยา”
أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ
บทความที่เกี่ยวข้อง: