ผลวิจัยทางการแพทย์กับการละหมาดตะฮัจญุด ดีอย่างไร? : islamhouses


264,079 ผู้ชม

การละหมาดส่งผลต่อระบบของร่างกายและจิตใจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละหมาดในยามค่ำคืน เพราะ...


ผลวิจัยทางการแพทย์กับการลุกขึ้นมาละหมาดในยามค่ำคืน(ละหมาดตะฮัจญุด)

การละหมาดส่งผลต่อระบบของร่างกายและจิตใจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละหมาดในยามค่ำคืน เพราะได้มีการยืนยันจากนักวิชาการชาวอเมริกันในหนังสือ “ลักษณะลำดับการทดลองกับสิ่งที่ซ่อนเร้นในการรักษาแบบธรรมชาติ” ซึ่งถูกตีพิมพ์ในปี 1993 ว่า
“การลุกจากที่นอนในยามค่ำคืน และเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยภายในบ้าน และยืนขึ้นในลักษณะของการออกกำลังกายเบาๆ ถูหรือลูบปลายนิ้วด้วยกับน้ำ และหายใจลึกๆ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ”

จากการพิจารณาประโยชน์เบื้องต้น พบว่าคำยืนยันดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากกับการเคลื่อนไหวในการอาบน้ำละหมาดและการละหมาดในยามค่ำคืน เพราะแท้จริงท่านศาสดามูฮัมหมัดได้ยืนยันเรื่องนี้มามากกว่า 1430 ปีแล้วว่า “จำเป็นแก่พวกท่านที่จะลุกขึ้นมา (เพื่อทำละหมาด) ในยามค่ำคืน (ตะฮัจญุด) เพราะแท้จริงมันเป็นอุปนิสัยของบรรดาผู้ประพฤติดีในยุคก่อนพวกท่าน เป็นการทำให้ใกล้ชิดอัลลอฮ์ เป็นสิ่งห้ามปรามจากการกระทำความผิด และเป็นการลบล้างความชั่วร้ายต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการขับไล่โรคภัยออกจากร่างกาย” (บันทึกโดย อิหม่ามอะห์หมัด ติรมิซี บัยฮากี และฮาเก็ม)

จากวิธีการดำรงละหมาดในยามค่ำคืน ที่สามารถขับไล่โรคภัยออกจากร่างกายได้นั้น ได้มีการยืนยันว่า “การลุกขึ้นมาในยามค่ำคืน (เพื่อทำละหมาด) นั้น จะนำไปสู่การลดการกระจายฮอร์โมนต่อมหมวกไต โดยเฉพาะยังยิ่งก่อนจะตื่นนอนหลายชั่วโมง ตรงกับช่วงเวลาซุโฮร์ (ช่วง 1 ใน 3 สุดท้ายของยามค่ำคืน) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดมิให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นการป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อผู้เป็นโรคเบาหวาน

และเช่นเดียวกัน การตื่นขึ้นมาในยามค่ำคืนจะช่วยลดความดันโลหิตสูงที่ขึ้นอย่างรวดเร็วได้ ป้องกันมิให้เกิดการเป็นลมเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตกหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ป้องกันการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือดใหญ่ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการไหลเวียนช้าในขณะนอนหลับ ป้องกันการหายใจลำบากเนื่องจากการไหลเวียนกลับของเลือดใน เส้นเลือดใหญ่จากศีรษะล่าช้า และการละหมาดในยามค่ำคืนยังทำให้ดีขึ้นกับผู้ป่วยไขข้ออักเสบ ไม่ว่าจะเป็นโรครูมาติซึ่มหรืออื่นๆ ซึ่งการเคลื่อนไหวเบาๆ และการลูบถูด้วยกับน้ำขณะอาบน้ำละหมาดจะช่วยให้อาการนี้ดีขึ้น”

ความประเสริฐของการละหมาดตะฮัจญุด

สำหรับมุสลิมที่ละหมาดตะฮัจญุดเป็นประจำ จะได้รับภาคผลหรือความประเสริฐดังต่อไปนี้

  • ได้รับการคุ้มครองจากอัลเลาะห์และจะปรากฏร่องรอยแห่งการภักดีบนในหน้าของเขา
  • ใบหน้าของเขาเปล่งแสงขาวนวลในวันพิภาคษา
  • ได้รับความสะดวกง่ายดายในการสบสวนเขาในวันแห่งการสอบสวน
  • ผ่านซิรฏ้อลมุสตากีม เหมือนฟ้าแลบ
  • ได้รับสมุดบันทึกความประพฤติด้วยมือขวา

ผลวิจัยทางการแพทย์กับการละหมาดตะฮัจญุด ดีอย่างไร?

การละหมาดตะฮัจญุด    

สิ่งที่มุ่งหมายของละหมาด ตะฮัจญุด ได้แก่การละหมาดกลางคืน เมื่อตื่นขึ้นในเวลากลางคืน แม้ว่าเขานอนเพียงประเดี๋ยวก็ตาม และ ละหมาดตะฮัจญุด มิได้กำหนดจำนวนร็อกอะฮฺที่แน่นอน  แต่อย่างน้อย 2 ร็อกอะฮฺ และละหมาดตะฮัจญุดนั้น ให้กระทำแบบตัวใครตัวมัน

ในการละหมาดตะฮัจญุด มีข้อกำหนดจำนวนหนึ่งที่จำเป็น ดังนี้ 

ละหมาดตะฮัจญุด ต้องกระทำหลังจากละหมาดอิชา และจำเป็นต้องเข้านอนก่อน เวลาของการละหมาดตะฮัจญุด คือ ระหว่างหลังละหมาดอิชา เรื่อยไปจนถึงรุ่งเช้าที่ดีที่สุด (เวลาที่ประเสริฐที่สุด) ให้กระทำหลังเที่ยงคืนไปแล้ว หรือหลังเที่ยงคืนในชั่วโมงสุดท้ายประมาณตีสาม

วิธีละหมาดตะฮัจญุด

กระทำหลังจากเวลา 12.00 กลางคืน โดยสองรอกาอะฮ์หนึ่งสลาม รอกาอะฮ์ที่แท้จริงไม่ได้กำหนดไว้ ละหมาดนี้เต็มไปด้วยคุณค่ามากมายและที่พิเศษยิ่งคือการ "ถูกตอบรับดุอาจากอัลลอฮ์" " พูดอะไรเป็นไปตามปาก" " หัวใจและความคิดมีความสงบนิ่ง""ได้รับความง่ายดายในกิจการงาน"   " ได้ริสกีง่าย"  " คนให้เกียรติ" "ไม่เกิดการทำความเสียหายแก่มนุษย์ไปยังเขา" (ส่วนหนึ่งของคุณค่าและอีมากมายที่ซ่อนเร้นไว้) และที่ดีเลิศที่สุด คือ การกระทำหลังจากตื่นนอน และเวลาหลังจากเที่ยงคืน

" أُصلّي سُنَّةَ الْتَهَجُّدِ رَكْعَتَيْنِ لِلّهِ تَعَالَى "

กล่าวเนียต (ข้าพเจ้าเจตนาละหมาดตะฮัจญุด 2 ร็อกอะฮฺเพื่ออัลลอฮ์)

*   ร็อกอะฮฺที่1 :  หลังจากฟาติฮะห์ อ่านซูเราะห์กุลยา

*   ร็อกอะฮฺที่2  : หลังจากฟาติฮะห์ อ่านซูเราะห์กุลฮู

นอกจากการเนียต และข้อกำหนด (ที่จำเป็นข้างต้นแล้ว) การปฏิบัติอย่างอื่นก็เหมือนกับการละหมาดตามปกตินั่นเอง

ที่มา: Muttaqeen Al Islam, sunnahstudent.com

islamhouse.muslimthaipost.com

เรื่องที่น่าสนใจ