เทศกาลกินเจ อิสลามกินอาหารเจได้ไหม? : islamhouses


8,986 ผู้ชม

เทศกาลกินเจ อิสลามกินอาหารเจได้ไหม? สำหรับมุสลิมหลายท่านอาจยังสงสัยว่า อิสลามสามารถบริโภคอาหารเจได้หรือไม่ ? คนมุสลิมกินเจได้หรือเปล่า?...


เทศกาลกินเจปี 2562 นี้ตรงกับ ตรงกับวันที่ 29 กันยายน - 7 ตุลาคม 2562 รวมเป็นเวลา 9 วัน

นอกจากเนื้อสัตว์แล้ว ห้ามกินอะไรบ้าง ?

1. ผักที่มีกลิ่นฉุน 5 อย่าง ได้แก่ กระเทียม (ไม่ดีต่อหัวใจ), หอมใหญ่ แดง ขาว ต้นหอม (ไม่ดีต่อไต), หลักเกียว ผักของจีน มีลักษณะคล้ายกระเทียมโทน (ไม่ดีต่อม้าม), กุยช่าย (ไม่ดีต่อตับ) และ ใบยาสูบ (ไม่ดีต่อปอดเมื่อใช้สูบ) นอกจากนี้ผักชนิดไหนที่มีกลิ่นฉุนก็ไม่ควรทานระหว่างช่วงกินเจด้วย

2. นม เนย น้ำมัน และผลิตภัณฑ์จากสัตว์

3. อาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นเค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด หรือเผ็ดจัด

4. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

5. ใครที่กินเจจริงจัง ห้ามทานอาหารบนภาชนะที่ใช้ร่วมกับผู้ที่ไม่ได้กินเจ และต้องทานอาหารที่ปรุงจากคนที่กินเจด้วยกันเท่านั้น

เทศกาลกินเจ อิสลามกินอาหารเจได้ไหม?

เทศกาลกินเจ อิสลามกินอาหารเจได้ไหม?

สำหรับมุสลิมหลายท่านอาจยังสงสัยว่า อิสลามสามารถบริโภคอาหารเจได้หรือไม่ ? คนมุสลิมกินเจได้หรือเปล่า?

บางคนอาจคิดว่าน่าจะทานได้เพราะอาหารเจไม่มีเนื้อสัตว์ ทำจากเต้าหู้บ้าง ผักบ้าง เรามาไขข้อข้องใจเหล่านี้กันเลยดีกว่า

พอถึงช่วงเทศกาลกินเจ เราจะสังเกตเห็นธงประจำเทศกาลที่เป็นธงสีเหลืองเยอะแยะเต็มไปหมด ย่านหลัก คือเยาวราช ที่จัดงานอยางยิ่งใหญ่ทุกปี เทศกาลกินเจนี้ เป็นเทศกาลของชาวพุทธที่ให้ชาวพุทธศาสนิกชนปฏิบัติตนถือศีลกินเจได้ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 คืน การกินเจ คือ การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสด นมข้นด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดของคาว

การทานอาหารเจ คือ การบริโภคอาหารมาจากผักหรือแปรรูปมาจากผัก แต่การกินเจนั้นหมายถึงการบริโภคอาหารจากพืช ผลไม้และที่แปรรูปจากสิ่งดังกล่าวแล้ว ยังหมายรวมถึงการถือศีลและมีความเชื่อในพิธีกรรมด้วย ซึ่งความเชื่อดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธในนิกายมหายานเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น คนนับถือศาสนาอิสลามจึงถือศีลกินเจ หรือกินเจอย่างเดียวนั้นไม่ได้ เพราะมีบัญญัติในศาสนาไว้มิให้กราบไหว้ บูชาเทพหรือสิ่งอื่นใดนอกจากพระศาสดาทางอิสลามเท่านั้น ดังนั้นการกินเจ จึงเป็นความหมายที่ชี้ชัดว่าผู้ใดกินเจนั้นหมายถึงผู้ที่บริโภคอาหารเจที่งดเนื้อสัตว์ ทานพืช ผลไม้ แต่งดพืชบางชนิดและถือศีล ไหว้พระประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อของศาสนาด้วย

ในด้านของอิสลาม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าอาหารที่มุสลิม ควรจะบริโภคต้องเป็นอาหารที่ฮาลาล เราควรจะทราบว่าส่วนประกอบในอาหารมีอะไรบ้าง จะเห็นได้ว่าร้านอาหารเจบางร้านก็ติดสติ๊กเกอร์ฮาลาล เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่ามุสลิมทานได้ เราไม่ควรตัดสินใจอะไรแค่ภายนอก แม้ว่าในอาหารเจไม่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ก็ตาม แต่กรรมวิธีในการนำมาปรุงนั้นต้องถูกตามหลักการอิสลามด้วย ทางที่ดีไม่ควรซื้อมารับประทาน เพราะถ้าเราไม่ทราบถึงกระบวนการผลิตว่าได้ผลิตตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักของศาสนา หรือไม่ก็จะเป็นการคลุมเครือ สงสัย แม้กระทั่งภาชนะที่นำมาใส่เราก็ไม่ทราบที่มาที่ไปได้ แม้ว่าเค้าจะไม่มีอาหารประเภทสัตว์อยู่ในอาหารเจก็ตาม เพราะฉะนั้นเลือกที่ไม่บริโภคเป็นดีที่สุด

จึงสรุปได้ว่า ที่มาของอาหารเจเป็นเรื่องศาสนา หรือเป็นความเชื่ออย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อพื้นฐานของอาหารเจเป็นเรื่องของศาสนา มุสลิมจึงไม่สามารถเข้าไปร่วมเทศกาลการกินเจ หรือซื้ออาหารเจมารับประทานได้เลยแม้แต่น้อย เพราะพระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า

“لَكُمْ دِيْنُكُمْ وَلِيَ دِيْنِ ” ความว่า “ สำหรับพวกท่าน คือศาสนาของพวกท่าน และสำหรับฉันคือศาสนาของฉัน” (ซูเราะฮฺอัลกาฟิรูน : 6)

ฉะนั้น เรื่องของศาสนาพุทธ เช่นเรื่องการรักษาศีล 8 ก็เป็นเรื่องของชาวพุทธที่พวกเขาจะต้องปฏิบัติกัน ส่วนเรื่องการกินเจ เป็นเรื่องของพี่น้องชาวจีน ซึ่งต้องการทำให้ตนเองบริสุทธิ์โดยไม่รับประทานเนื้อสัตว์ นั่นก็เป็นเรื่องของพวกเขา โดยสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับมุสลิมเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกิจกรรมการกินเจ หรือซื้ออาหารเจมารับประทานก็ตาม

เรื่องที่น่าสนใจ