ดนตรีกับศาสนา ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง..แต่นบีบอกว่า 'ดนตรีหะรอม'


6,084 ผู้ชม

สิ่งหนึ่งที่มุสลิมเราเข้าใจผิดว่าเป็นซึ่งอนุมัติตามหลักอิสลาม นั่นคือ เครื่องดนตรี กระทั่งว่ามุสลิมเราเองเล่นดนตรีไลฟ์สดตามโซเชียล อีกทั้งยังให้สัมภาษณ์ว่าเสียงเพลงไม่ได้ทำร้ายใคร...


ดนตรีกับศาสนา ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง..แต่นบีบอกว่า 'ดนตรีหะรอม'

บทความโดย : อ.มุรีด ทิมะเสน

ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

لَيَكُونَنَّ مِنْ أُمَّتِي أَقْوَامٌ، يَسْتَحِلُّونَ الحِرَ وَالحَرِيرَ، وَالخَمْرَ وَالمَعَازِفَ

“แน่นอนอย่างยิ่งยวดจักมีกลุ่มต่างๆ จากประชาชาติของฉันจะทำให้การละเมิดประเวณี (ซินา), ผ้าไหม (สำหรับผู้ชาย), สิ่งมึนเมา และเครื่องดนตรีเป็นที่หะลาล (เป็นที่อนุญาตทั้งๆ ที่ศาสนาระบุสิ่งเหล่านั้นต้องห้าม)” หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 5590

ดนตรีกับศาสนา ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง..แต่นบีบอกว่า

ภาพประกอบ

สิ่งที่ได้รับจากหะดีษ ดนตรีกับศาสนา

ปัจจุบันเป็นยุคโซเชียลที่ใครๆ ต่างแสดงความคิดเห็น แสดงพฤติกรรมใดๆ ก็ได้ เพราะโซเชียลเดี๋ยวนี้กำจายไปทุกหย่อมหญ้า ผลพวงแห่งโซเชียลนี้แล ทำให้ผู้คนต่างพยายามแสดงออกถึงความเป็นตัวตนให้ชาวโลกได้รับรู้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่เว้นมุสลิมก็ตาม อนึ่งหากมุสลิมเราแสดงออกถึงความดีก็ดีไป หากแสดงออกถึงสิ่งผิดหลักการศาสนา นั่นถือเป็นความเลวร้ายอันจะติดตามเขาไป แม้ว่าเขาเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม

สิ่งหนึ่งที่มุสลิมเราเข้าใจผิดว่าเป็นซึ่งอนุมัติตามหลักอิสลาม นั่นคือ เครื่องดนตรี กระทั่งว่ามุสลิมเราเองเล่นดนตรีไลฟ์สดตามโซเชียล อีกทั้งยังให้สัมภาษณ์ว่าเสียงเพลงไม่ได้ทำร้ายใคร เป็นการกระตุ้นให้ผู้คนทำความดีด้วยซ้ำ เนื้อหาของเพลงปลอบประโลมหัวจิตหัวใจอีกต่างหาก ฉะนั้นเพลงจึงไม่ผิดหลักการอิสลาม ซึ่งความคลาดเคลื่อนนี้ถูกแพร่หลายตามโซเชียลเช่นกัน ที่จริงหากไม่รู้ต้องไม่ชี้ คนที่ต้องชี้เรื่องศาสนาคือ ผู้รู้ศาสนาเท่านั้น ใครก็ช่างที่ไม่รู้ศาสนาหากทำความผิดเสียเองเป็นธรรมดาอยู่เห็นที่ต้องพูดเข้าข้างตนเองเสมอ, ดูกร ขออธิบายทีละประเด็นว่า กรณีเราร้องคำร้องออกมา เช่น “แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง” ซึ่งมีเนื้อหาที่ดีไม่ผิดหลักการศาสนาเราสามารถนำมาร้องปากเปล่าได้ เพราะเป็นโคลงกลอน เราเรียกว่า “นะชีด” ซึ่งเป็นที่นิยมสำแดงกันในหมู่อาหรับในสมัยของท่านนบีเองด้วยซ้ำ เพื่อบ่งบอกถึงความชำนาญในด้านภาษานั่นแล

ดนตรีกับศาสนา ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง..แต่นบีบอกว่า

ส่วนเครื่องดนตรีทุกชนิดเป็นที่ต้องห้าม (หะรอม) จะนำมาแสดงประกอบโคลงกลอนดังกล่าวไม่ได้ ปัจจุบันเรียกว่า “เพลง” ดังนั้น เพลงที่มีเสียงดนตรีประกอบจึงเป็นที่ต้องห้ามอย่างชัดเจน ไม่มีข้อคลางแคลนสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งท่านนบีวัจนะไว้ว่า จะมีกลุ่มชนมุสลิมของเรานี่หละ ที่ทำให้เรื่องซินา....หะลาล, ผ้าไหมสำหรับผู้ชาย....หะลาล, ทำให้สิ่งมึนเมาทั้งหลาย....หะลาล และทำให้เครื่องดนตรีทั้งหลายเป็นที่หะลาล ทั้งๆ ที่สิ่งข้างต้นคือสิ่งต้องห้ามตามหลักการอิสลาม....อย่างชัดเจน

เรื่อง “ดนตรี” ท่านนบีของเราเป็นผู้วัจนะไว้เองว่า “หะรอม” แต่ประชาชาติของท่านนบีต่างหากที่บอกว่า “หะลาล” ทั้งที่ความจริงคือไม่หะลาล ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจหรอกว่า ทำไม? มุสลิมยุคปัจจุบันชอบโพนทะนาว่า “หะลาล” ก็เพราะอารมณ์ของพวกเขาชอบที่จะเล่นดนตรีไงล่ะ? ลางทีก็เล่นเป็นอาชีพ หารู้ไม่ว่าทุกบาททุกสตางค์ซึ่งได้จากเล่นดนตรีล้วนเป็นทรัพย์หะรอมทั้งสิ้น จึงไม่ต้องแปลใจหรอกว่า มนุษย์อย่างเราๆ ชอบสนุก ชอบฟังเพลงเคล้าดนตรีด้วยกันทั้งสิ้น เพราะมนุษย์ชอบอะไรรื่นเริงสนุกสนาน ชอบโยกย้ายส่ายสะโพกไปตามเสียงดนตรี โดยเฉพาะประชาชาติอื่นด้วยแล้ว ดนตรีคือชีวิตจิตใจของพวกเขาเลยด้วยซ้ำ จะขาดซึ่งเสียงดนตรีไม่ได้เลยแม้แต่น้อย

ทว่าเราเป็นผู้ศรัทธา ศาสนาสอนว่า เสียงดนตรีคือเครื่องดนตรีของมารร้ายชัยฏอนต่างหาก แทบจะไม่ต้องพูดถึงผลเสียของดนตรีด้วยซ้ำ อย่างน้อยก็ดึงเอาอารมณ์แห่งความศรัทธาของเราหายไปจนเกลี้ยง, ศาสนาส่งเสริมให้ฟังอัลกุรฺอ่าน เสียงอัลกุรฺอ่านต่างหากหละ อันกล่อมจิตกล่อมใจให้ผู้ศรัทธายึดมั่นต่อเอกองค์อัลลอฮฺ ซาบซึ้งกับรสชาติแห่งคำสอนของพระองค์ และดำเนินชีวิตไปวิถีที่พระองค์ทรงตีกรอบไว้, อนึ่ง มุสลิมอย่างเราๆ มีผิดด้วยกันทั้งสิ้น แต่ถ้าเรายังเลิกทำผิดในเรื่องศาสนาห้ามไม่ได้ ก็จงเพียรพยายามเลิกสิ่งนั้น ไม่ใช่หาข้ออ้างเพื่อค้ำยันให้เรากลายเป็นผู้ถูกต้อง อันนี้ไม่สง่างามเอาเสียเลย หาใช่บุรุษชาติอาชาไนยไม่ ที่จริงยิ่งเราทำผิดยิ่งต้องปกปิด และพยายามข่มอารมณ์ตนเองให้เลิกทำชั่วนั้น เพื่อจักได้กลายเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ นี่ต่างหากที่เรียกว่าบุรุษชาติอาชาไนยในทัศนะ....อิสลาม

https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/23614

อัพเดทล่าสุด