ในฐานะเราเป็นผู้ศรัทธา มาดูกันว่า อาชีพที่บรรดาศาสนทูตทำกันในสมัยก่อน มีอาชีพอะไรบ้าง?
รู้หรือไม่ บรรดานบีต่างๆ ทำอาชีพอะไรกันบ้าง?
ในฐานะเราเป็นผู้ศรัทธา มาดูกันว่า อาชีพที่บรรดาศาสนทูตทำกันในสมัยก่อน มีอาชีพอะไรบ้าง?
1. ท่านบนีอาดัม (อ.) นั้น ทำงานเป็นเกษตรกรชาวนา
2. ท่านนบีนูฮฺ (อ.) ทำงานเป็นช่างก่อสร้าง ช่างไม้
3. ท่านนบีอิดรีส (อ.) ทำงานเป็นช่างเย็บเสื้อผ้า
4. ท่านนบีอิบรอฮีม (อ.) ทำงานเป็นพ่อค้าขายผ้า
5. ท่านนบีลูต (อ.) ทำงานเป็นเกษตรกรชาวสวน
6. ท่านนบีซอและฮฺ (อ.) ทำฟาร์มเลี้ยงอูฐและค้าขาย
7. ท่านนบีดาวูด (อ.) ทำงานเป็นช่างฝีมือทำเสื้อเกราะ
8. ท่านนบีมูซา (อ.) ท่านนบีซุอัยบฺ ทำเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ (แกะ)
9. ท่านนบีอีซา (อ.) เป็นแพทย์รักษา หู,ตา
10. ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ทำเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ (แกะ) และค้าขาย และเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
เศาะหาบะฮฺ และ อิม่าม ก็มีอาชีพต่างๆ เช่น
- ท่านอบูบักรฺ เป็นช่างฝีมือและเป็นพ่อค้า
- ท่านอุมัรฺ เป็นชาวสวน
- ท่านอุษมาน อับดุรเราะหฺมาน บินเอาฟฺ เป็นพ่อค้า
- อะบูกอตาดะฮฺ ล่าสัตว์
- อิม่ามมาลิก อิม่าม อบูฮานีฟะ พ่อค้าขายเสื้อผ้า
- อิม่ามอะหมัด เย็บผ้า ให้เช่าที่พัก
ภาพไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
การทำมาหากินเลี้ยงชีพถือเป็นหน้าที่ของมนุษย์ โดยเฉพาะมุสลิมก็ต้องมีหน้าที่ต่อพระผู้เป็นเจ้า ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจที่ถูกกำหนดเช่นกัน ทั้งสองหน้าที่นั้นต้องมีการปฏิบัติควบคู่กันไป ตามเวลาและสถานที่ที่กำหนด เพราะมุสลิมต้องหาความสุขให้ได้ทั้งทางโลกนี้และโลกหน้า อัลลอฮฺ ตรัสว่า
رِجَالٌ لّا تُلْهِيهِمْ تِجَارَةٌ وَلا بَيْعٌ عَن ذِكْرِ اللَّهِ وَإِقَامِ الصَّلاةِ وَإِيتَاء الزَّكَاةِ يَخَافُونَ يَوْمًا تَتَقَلَّبُ فِيهِ الْقُلُوبُ وَالأَبْصَارُ
ความว่า: “บรรดาผู้ชายที่การค้าขายมิได้ทำให้พวกเขาละจากการระลึกถึงอัลลอฮฺ การดำรงละหมาดและการบริจาคซะกาต โดยพวกเขากลัววันที่หัวใจ และตาเหลือกถลนในวันนั้น” (สูเราะฮฺ อันนูร โองการที่ 37)
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
(وَأَحَلَّ اللهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا)
ความว่า: “และอัลลอฮฺทรงอนุมัติการซื้อขายและทรงห้ามเรื่องดอกเบี้ย” (สูเราะฮฺ อัล-บะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 27
การทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองแม้เพียงด้วยงานเล็กๆ ที่อาจจะดูไม่มีเกียรติใดๆ ทางสังคมเลย แต่ก็ถือว่า เป็นสิ่งประเสริฐในอิสลาม ดีกว่าการขอจากผู้อื่นโดยไม่ยอมทำงาน
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้
لَأَنْ يَحْتَطِبَ أَحَدُكُمْ حُزْمَةً علَى ظَهْرِهِ، خَيْرٌ له مِن أَنْ يَسْأَلَ أَحَدًا فيُعْطِيَهُ أَوْ يَمْنَعَهُ.
ความว่า: “การที่พวกท่านผู้ใดผู้หนึ่งหาฟืนแล้วแบกบนหลังเอาไปขายนั้น ย่อมดีกว่าการเที่ยวขอจากผู้อื่น ซึ่งเขาอาจจะให้หรือไม่ให้” (บันทึกโดยบุคอรีย์)
การปฏิบัติ ในการทำงานของอิสลาม
- การทำงานอย่างสุจริตเพื่อหาเลี้ยงชีพเป็นสิ่งที่อิสลามสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง
- การทำงานไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม ถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตแล้ว ล้วนเป็นสิ่งที่มีเกียรติถึงแม้จะดูต่ำต้อยในสายตาผู้อื่น
- อิสลามไม่สนับสนุนให้ขอทานจากผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความสามารถจะทำงานได้
- อิสลามต้องการให้มุสลิมเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ
- การทำงานเป็นสิ่งที่บรรดานบีและคนรุ่นก่อนได้ทำไว้เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังได้ทำตาม
- อยากขายของดีมีริสกีเพิ่มพูน ต้องขอดุอาอฺอย่างไรบ้าง?
- 10 วิธีเพิ่มพูนริสกี ที่พ่อค้าแม่ค้า นักธุรกิจมุสลิมต้องอ่าน!
รวมดุอาอฺขอให้ร่ำรวย ขอให้ได้ริสกีที่ฮาลาล พ้นสิ่งฮารอม
اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ الْهُدَى، وَالتُّقَى، وَالْعَفَافَ، وَالْغِنَى
อ่านว่า: อัลลอฮุมม่า อินนียฺ อัซอ้าลู้กั้ล ฮู่ดา วัตตู้กอ วัลอ้าฟ๊าฟ วัลฆี่นา
ความว่า: โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉันขอต่อพระองค์ ซึ่งทางนำ ความยำเกรง และการครองตนให้สะอาดปราศจากบาปและซินา และความพอเพียง (บันทึกโดย: มุสลิม)
اللَّهُمَّ اكْفِنِيْ بِحَلَالِكَ عَنْ حَرَامِكَ، وَأَغْنِنِيْ بِفَضْلِكَ عَمَّنْ سِوَاكَ
อ่านว่า: อัลลอฮุมมักฟี้นี บี้ฮ่าลาลี้ก้า อันฮ่ารอมี้ก้า ว่าอัฆนี้นี บี้ฟัดลี่ก้า อัมมัน ซี่วาก้า
ความว่า: โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้ฮาลาลของพระองค์เป็นที่เพียงพอแก่ฉัน(ให้พ้น)จากหะรอมของพระองค์ และโปรดให้ฉันร่ำรวยอันเนื่องด้วยความโปรดปรานของพระองค์ ให้พ้นจาก(การพึ่งพา)ผู้อื่นจากพระองค์ (บันทึกโดย: อัตติรมิซียฺ)
اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ عِلْمًا نَافِعًا وَرِزْقًا طَيِّبًا وَعَمَلا مُتَقَبَّلاً
อ่านว่า: อัลลอฮุมม่า อินนียฺ อัซอ้าลู้ก้า อิ้ลมัน นาฟี้อัน ว่าริซก็อน ต็อยยี้บัน ว่าอ้าม่าลัน มู่ต้าก็อบบ้าลัน
ความว่า: โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงขอต่อพระองค์ ซึ่งความรู้ที่ให้ประโยชน์ ปัจจัยยังชีพที่ดี และการงานที่ถูกตอบรับ (บันทึกโดย: อิบนุมาญะฮฺ)
ที่มา: www.islammore.com , thaimuslim.com