การละหมาดอิสติสกออ์ ดุอาอ์ขอฝน วิธีการละหมาดขอฝน ในอิสลาม
อิสติสกออ์ คือ การขอจากองค์อัลลอฮฺ เพื่อให้ทรงประทานฝนแก่บ่าวของพระองค์ เมื่อยามที่ขาดแคลนฝน ด้วยวิธีที่กําหนดเฉพาะ
(ดูฟัตหุล อะซีซ เชิงอรรถ อัล-มัจญ์มูอฺ 5:87 และ หาชิยะฮฺ อิบนิ อาบิดีน
หุก่มการละหมาดอิสติสกออ์ ถือว่าเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ (สุนัตที่เน้นหนักให้ทํา)
• เวลาของการละหมาด เวลาเช้าเหมือนเวลาละหมาดอีด ละหมาดได้ทุกเวลา นอกจากเวลาห้ามละหมาดและเวลาละหมาดที่ดีที่สุดคือ ให้ละหมาดหลังจากตะวันขึ้นเท่าด้ามหอก
• สถานที่ของการละหมาด ไม่มีการขัดแย้งระหว่างนักวิชาการ ว่าให้ละหมาดที่มุศ็อลลา(สนามละหมาด) เพราะท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ละหมาดที่มุศ็อลลา และไม่มีการขัดแย้งว่าสามารถที่จะละหมาดในมัสยิดได้เช่นกัน (อิบนุ อาบิดีน 1:792, มะวาฮิบุลญะลีล 2:205, อัล-มัจญ์มูอฺ 5:76, อัล-มุฆนีย์ 2:283)
เคล็ดลับในการบัญญัติการละหมาดอิสติสกออ์
เมื่อฝนไม่ตก พื้นดินแห้งแล้งมีบัญญัติให้ละหมาดอิสติสกออ์ โดยให้บรรดามุสลิมออกไปสู่ที่แจ้งด้วยความอ่อนน้อม ใจสงบ ถ่อมตน ทั้งชายและหญิง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยให้อิมามนัดบรรดามะอ์มูมออกมาละหมาดอิสติสกออ์ก่อนหน้านั้นวันสองวัน
ประเภทของอิสติสกออ์
อิสติสกออ์อาจทำได้ โดยการละหมาดอิสติสกออ์ร่วมกัน การดุอาอ์ในคุฏบะฮฺญุมุอะฮฺ การดุอาอ์หลังจากเสร็จละหมาดห้าเวลา หรือในขณะที่นั่งสงบจิตอยู่คนเดียวโดยไม่มีการละหมาดหรือคุฏบะฮฺ
ลักษณะการละหมาดอิสติสกออ์
อิมามขึ้นไปนำละหมาดผู้คนสองร็อกอะฮฺโดยไม่ต้องมีการอะซานและอิกอมะฮฺ ให้ตักบีรฺในร็อกอะฮฺแรกเจ็ดตักบีรฺพร้อมตักบีเราะตุลอิหฺรอม แล้วให้อ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺหนึ่งสูเราะฮฺใดก็ได้ด้วยเสียงดัง แล้วรุกูอฺและสุญูดตามลำดับ หลังจากนั้นลุกขึ้นทำในร็อกอะฮฺสองโดยให้ตักบีรฺในร็อกอะฮที่สองห้าตักบีรฺที่นอกเหนือจากตักบีรฺลุกขึ้นกิยาม แล้วให้อ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺด้วยเสียงดัง เมื่อละหมาดได้สองร็อกอะฮฺแล้วให้ตะชะฮฺฮุด แล้วให้สลาม
โรงเรียนประทีปศาสน์ปอเนาะบ้านตาล ร่วมละหมาดขอฝน
ช่วงเวลาการกล่าวคุฏบะฮฺ
ตามสุนนะฮฺแล้วให้อิมามกล่าวคุฏบะฮฺก่อนการละหมาดอิสติสกออ์
1- มีรายงานจากท่านอับบ๊าด บิน ตะมีม จากอาของท่านว่า
رأيت النبي صلى الله عليه وسلم يوم خرج يستسقي قال: فَحَوَّلَ إلَى النَّاسِ ظَهْرَهُ وَاسْتَقْبَلَ القِبْلَةَ يَدْعُو، ثُمَّ حَوَّلَ رِدَاءَهُ ثُمَّ صَلَّى لَنَا رَكْعَتَيْنِ جَهَرَ فِيهِـمَا بِالقِرَاءَةِ
ความว่า “ฉันเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในวันที่ท่านออกไปละหมาดอิสติสกออ์ แล้วท่านก็หันหลังให้แก่ผู้คนและหันหน้าไปทางกิบละฮฺแล้วขอดุอาอ์ แล้วพลิกกลับด้านผ้าคลุมร่างของท่าน แล้วละหมาดนำพวกเราสองร็อกอะฮฺ โดยให้อ่านเสียงดังทั้งสองร็อกอะฮฺ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1025 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 894)
2- มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า
خرج رسول الله صلى الله عليه وسلم حين بدا حاجب الشمس، فقعد على المنبر، فكبر صلى الله عليه وسلم وحمد الله عز وجل، ثم قال: «إنَّكُمْ شَكَوْتُـمْ جَدْبَ دِيَارِكُمْ..» ... ثم أقبل على الناس ونزل فصلى ركعتين
ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ออกไปละหมาดอิสติสกออ์เมื่อมีแสงตะวันขึ้น แล้วท่านก็นั่งบนมิมบัรฺแล้วตักบีรฺ แล้วตะหฺมีด หลังจากนั้นได้กล่าวคุฏบะฮฺว่า “แท้จริงพวกท่านต่างมาฟ้องกับฉันเกี่ยวความแห้งแล้งบ้านเมืองพวกท่าน” จนจบ .. แล้วท่านก็หันไปยังผู้คน และเดินลงมาจากมินบัรฺแล้วก็ละหมาดสองร็อกอะฮฺ” (เป็นหะดีษหะสันที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข(1173)
ลักษณะคุฏบะฮฺอิสติสกออ์
ให้อิมามกล่าวคุฏบะฮฺแค่คุฏบะฮฺเดียวโดยยืนคุฎบะฮฺ ตะหฺมีด ตักบีรฺ และอิสติฆฺฟารฺ แล้วกล่าวดังที่มีตัวบทจากสุนนะฮฺ เช่น
«إنَّكُمْ شَكَوْتُـمْ جَدْبَ دِيَارِكُمْ، وَاسْتِئْخَارَ المَطَرِ عَنْ إبَّانِ زَمَانِـهِ عَنْكُمْ، وَقَدْ أَمَـرَكُمُ الله عَزّ وَجَلَّ أَنْ تَدْعُوهُ، وَوَعَدَكُمْ أَنْ يَسْتَـجِيْبَ لَكُمْ»، ثم يقول: (ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ) «لا إلَـهَ إلَّا الله يَفْعَلُ مَا يُرِيْدُ، اللَّهُـمَّ أَنْتَ الله لا إلَـهَ إلَّا أَنْتَ الغَنِيُّ، وَنَحْنُ الفُقْرَاءُ، أنْزِلْ عَلَيْنَا الغَيْثَ، وَاجْعَلْ مَا أَنْزَلْتَ لَنَا قُوَّةً وَبَلاغاً إلَى حِينٍ»
ความว่า “แท้จริง พวกท่านต่างมาฟ้องกับฉันเกี่ยวความแห้งแล้งบ้านเมืองพวกท่านและความล่าช้าของฝนฟ้ามาเป็นเวลานานแล้ว จริงๆ แล้วอัลลอฮฺได้ใช้ให้พวกท่านขอต่อพระองค์ แล้วสัญญาว่าจะตอบรับดุอาอ์ของท่านโดยจะให้ในสิ่งที่พวกท่านขอทุกประการ” แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมก็กล่าวดุอาอ์ว่า
: (ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ) «لا إلَـهَ إلَّا الله يَفْعَلُ مَا يُرِيْدُ، اللَّهُـمَّ أَنْتَ الله لا إلَـهَ إلَّا أَنْتَ الغَنِيُّ، وَنَحْنُ الفُقْرَاءُ، أنْزِلْ عَلَيْنَا الغَيْثَ، وَاجْعَلْ مَا أَنْزَلْتَ لَنَا قُوَّةً وَبَلاغاً إلَى حِينٍ»
(เป็นหะดีษหะสันที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 1173)
หรือกล่าวดุอาอ์ว่า
«اللَّهُـمَّ اسْقِنَا غَيْثاً، مُغِيثاً، مَرِيئاً، مَرِيعاً، نَافِعاً غَيْرَ ضَارٍّ، عَاجِلاً غَيْرَ آجِلٍ»
(เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข1169)
หรือกล่าวดุอาว่า
«اللَّهُـمَّ اسْقِ عِبَادَكَ وَبِـهَائِمَكَ وَانْشُرْ رَحْـمَتَـكَ، وَأحْيِ بَلَدَكَ المَيِّتَ»
(เป็นหะดีษหะสันที่บันทึกโดยมาลิก ในอัล-มุวัฏเฏาะอ์ หมายเลข 449, อบู ดาวูด หมายเลข 1176 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของอบู ดาวูด)
หรือกล่าวดุอาอ์ว่า
«اللَّهُـمَّ أَغِثْنَا، اللَّهُـمَّ أَغِثْنَا، اللَّهُـمَّ أَغِثْنَا»
(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1014 และมุสลิม เลขที่: 987 )
หรือกล่าวดุอาอ์ว่า
«اللَّهُـمَّ اسْقِنَا، اللَّهُـمَّ اسْقِنَا، اللَّهُـمَّ اسْقِنَا»
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1013)
เมื่อมีฝนตกหนักและรู้สึกหวาดกลัวความลำบากที่จะตามมา สุนัตให้กล่าวดุอาอ์ว่า
«اللَّهُـمَّ حَوَالَيْنَا وَلا عَلَيْنَا، اللَّهُـمَّ عَلَى الآكَامِ وَالجِبَالِ وَالظِّرَابِ وَالأَوْدِيَةِ، وَمَنَابِتِ الشَّجَرِ»
(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกใน อัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1013 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่: 897)
ฝนที่เริ่มแรกตก เมื่อย่างเข้าฤดูฝน เมื่อมันตกลงมามีสุนัตให้ถลกผ้าเพื่อให้ฝนถูกส่วนหนึ่งของร่างกายพร้อมๆ กับกล่าวดุอาอ์ว่า
«اللهم صَيِّباً نَافِعاً»
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1032)
และให้กล่าวหลังจากฝนตกลงมาแล้วว่า
«مُطِرْنَا بِفَضْلِ الله وَرَحْـمَتِـهِ»
(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1038 และมุสลิม เลขที่: 71)
เมื่ออิมามกล่าวดุอาอ์อิสติสกออ์มีสุนนะฮฺให้เขายกมือทั้งสองขึ้น และบรรดามะอ์มูมก็ทำตามด้วย แล้วกล่าวอามีนในดุอาอ์ของอิมามในระหว่างที่คุฏบะฮฺอยู่
หลังจากคุฏบะฮฺอิมามจะทำอย่างไร?
เมื่ออิมามกล่าวคุฏบะฮฺเสร็จแล้วให้เขาหันหน้าไปสู่กิบละฮฺแล้วให้ขอดุอาอ์ หลังจากนั้นให้เขาพลิกกลับด้านผ้าคลุมร่างของเขาโดยให้เอาด้านขวาไปเป็นด้านซ้าย ด้านซ้ายเป็นด้านขวา แล้วบรรดามะอ์มูมก็ยกมือขอดุอาอ์เช่นกัน หลังจากนั้นให้เขาเริ่มนำบรรดามะอ์มูมละหมาดอิสติสกออ์สองร็อกอะฮฺตามลักษณะที่กล่าวมา
การร่วมกันทำอิบาดะห์และการเชื่อฟังอัลลอฮฺนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ
ประเภทแรก สิ่งที่เป็นสุนนะฮฺ รอติบะฮฺ (เป็นภารกิจที่ให้ทำเป็นประจำ) ไม่ว่าจะเป็นสิ่งวาญิบ เช่น การร่วมกันเพื่อละหมาดห้าเวลา การร่วมกันเพื่อละหมาดญุมุอะฮฺ หรือสิ่งที่เป็นสุนัต เช่นการร่วมกันเพื่อละหมาดอีดทั้งสอง การร่วมกันเพื่อละหมาดตะรอวีหฺ การร่วมกันเพื่อละหมาดกุสูฟ การร่วมกันเพื่อละหมาดอิสติสกออ์ ซึ่งสุนนะฮฺรอติบะฮฺเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องรักษาไว้ให้ตลอดเวลาและให้สม่ำเสมอ
ประเภทที่สอง สิ่งที่ไม่เป็นสุนนะฮฺ รอติบะฮฺ เช่น การร่วมกันละหมาดสุนัตอย่างกิยามุลลัยลฺ หรือการร่วมกันเพื่อขอดุอาอ์ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำเป็นบางครั้งได้แต่อย่าทำเป็นประจำ
- เวลาละหมาด 5 เวลา เหตุผลของการกำหนดเวลาละหมาด
- ทำไมห้ามหญิงมีประจำเดือนละหมาด รู้แล้วอึ้ง!!
- วิธีละหมาดฮายัตภาษาไทย ละหมาดขอความช่วยเหลือ ที่ถูกต้องทำอย่างไร
- ดุอาอ์ให้ขยันอ่านหนังสือ ดุอาสอบให้ติด มีความจำที่ดี เพิ่มพูนความรู้ให้แก่เรา
- 8 ซูเราะห์ ที่ทำให้เราห่างไกลจากญิน
- ดุอาอฺขอให้ได้ความดีทั้งโลกนี้และโลกหน้า
- ประเภทของชิริก การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ
- ดุอาอฺหลังละหมาดตะฮัจญุด
ที่มา: กิตาบอัลกุรอานและอัลฮะดิส
http://islamhouse.muslimthaipost.com/