การขว้างเสาหินเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีฮัจญ์ที่มักกะห์และเป็นวิทยปัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายของการขว้างเสาหินนั้นก็ คือ การขว้าง “ อิบลิส ” มารร้ายที่อัลลอฮ์ทรงสาปแช่ง
การขว้างเสาหิน ที่มาของการขว้างเสาหิน เป้าหมายของการขว้างเสาหิน กำหนดการการขว้างเสาหิน
เสาหิน 3 ต้น ที่ปรากฎกายของชัยตอน
การขว้างเสาหินเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีฮัจญ์ที่มักกะห์และเป็นวิทยปัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายของการขว้างเสาหินนั้นก็ คือ การขว้าง “ อิบลิส ” มารร้ายที่อัลลอฮ์ทรงสาปแช่ง
การขว้างเสาหินนั้นจะต้องขว้างให้ครบสามต้น ซึ่งต้นแรกเรียกเป็น ภาษาอาหรับว่า “ ญุมร่อตุ้ลอากอบะห์ ” ต้นที่สองเรียกว่า “ ญุมร่อตุ้ลวุซตอ ” และต้นที่สาม “ ญุมร่อตุ้ลซุกรอ ” โดยอาหรับบางกลุ่มจะเรียกต้นแรกว่า “ อิบลิสกุบรอ ” ต้นที่สอง “ อิบลิสวุซตอ ” และต้นสุดท้ายเรียกว่า “ อิบลิสซุกรอ ”
เดิมทีอาหรับในยุคก่อนอิสลามได้ทำการขว้างเสาหิน มาก่อนอิสลามแล้ว โดยตามบัญญัติใช้ของท่านศาสดาอิบรอฮีม และเมื่อยุคอิสลามได้มาถึง บัญญัติที่ถูกใช้ ในสมัยศาสดาอิบรอฮีมก็ได้ถูกนำมาปฏิบัติอีกครั้ง
ที่มาของการขว้างเสาหิน ก็เพื่อเป็นการระลึกและปฏิบัติรอยตามท่านศาสดาอิบรอฮีม เนื่องจากอัลลอฮ์ทรงลง วิงวอน (วาฮี) มายัง แผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ให้ท่านศาสดาอิบรอฮีมเชือดผู้ที่เป็นลูกของตนเองนามว่าอิสมาแอล เมื่อศาสดาอิบรอฮีม ได้รับบัญชาเช่นนั้น ท่านจึงตอบรับคำบัญชาใช้ของอัลลอฮ์
ทันใดนั้นก็ได้ถูกรังควาน จากชัยตอนมารร้ายโดยพวกมันได้ห้ามมิให้ท่านศาสดาอิบรอฮีม ปฏิบัติตามบัญชาใช้ของอัลลอฮ์ได้สำเร็จ ดังนั้นท่านศาสดาอิบรอฮีมจึงได้หยิบก้อนกรวด และขว้างใส่ชัยตอนทันที นี่คือที่มาของการขว้างเสาหิน ต้นแรก
เมื่อแผนการอันชั่วร้ายนี้ล้มเหลวชัยตอนจึงได้เบนเข็มมุ่งเป้าหมายมายังพระนางฮาญัร บอกเล่า ถึงการกระทำของศาสดาอิบรอฮีม ที่จะเชือดบุตรชายของตน ดังนั้น พระนางฮาญัรจึงได้ขับไล่ ชัยตอน โดยการขว้างก้อนกรวดใส่ นี่ก็คือที่มาของการขว้างเสาหินต้นที่สอง เมื่อแผนการล้มเหลว ทั้งสองครั้ง ชัยตอน มิได้ลดความพยายามเบนเข็มมาหาท่านอิสมาแอล ผู้เป็นบุตรชาย บอกเล่าถึงการกระทำของบิดาของเขา โดยกล่าว กับท่านอิสมาแอลว่า “ การกระทำเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้น ในโลกนี้ตลอด ประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ ตั้งแต่วันที่อัลลอฮ์ทรงสร้าง โลกนี้มา ” แล้วท่านศาสดาอิสมาแอลก็มิได้รอช้า หยิบก่อนกรวดขึ้นมา แล้วขว้างใส่ชัยตอนทันที และนี่ก็คือที่มา ของการ ขว้างเสาหินต้นที่สาม
ดังนั้น เป้าหมายของการขว้างเสาหิน ก็เพื่อเป็นการปฏิบัติ ตามรอยท่านศาสดาอิบรอฮีม ท่านศาสดา อิสมาแอล และพระนางฮาญัรอีกทั้งยังเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์อิสลามอีกด้วย
การขว้างเสาหิน หรือ ร็อมย์ ญุมเราะฮฺ อะเกาะบะฮฺ
1. หลังจากดวงอาทิตย์ของวันที่ 10 (วันอีด) ขึ้นแล้ว บรรดาฮุจญาจทุกคนต้องออกจากมัชอะรุลฮะรอม โดยมุ่งหน้าไปยังมินา เพื่อปฏิบัติอะมัลฮัจญฺที่เหลือการกระทำในวันอีดที่มินา - ร็อมย์ ญุมเราะฮฺอะเกาะบะฮฺ - การทำกุรบาน (เชือดพลี) - ฮัลกฺ (โกนศีรษะหรือตัดเพียงเล็กน้อย)
2. เมื่อฮุจญาจได้ออกจากมัชอะรุลฮะรอม และเริ่มเข้าสู่มินา ซึ่งสุดเขตแดนของมินาจะมีเสาหินตั้งเรียงกันอยู่ 3 ต้น เสาต้นแรกเรียกว่า ญุมเราะฮฺอูลา ต้นที่สองเรียกว่า ญุมเราะฮฺวุซฏอ และต้นที่สุดท้ายเรียกว่า ญุมเราะฮฺอุกบาอฺ หรืออะเกาะบะฮฺ การกระทำที่เป็นวาญิบอันดับแรกในมินา หรือในวันอีดคือ การขว้างเสาหินต้นสุดท้าย 7 ก้อน (ร็อมย์ ญุมเราะฮฺอะเกาะบะฮฺ)
3. ต้องขว้างหินทั้ง 7 ก้อนให้โดนเสา แต่ไม่จำเป็นต้องขว้างให้โดนต่อเนื่องกันทั้ง 7 ก้อนหมายถึง 2 ก้อนแรกอาจจะโดนส่วนก้อนที่ 3 ไม่โดน ก้อนที่ 4 โดน ดังนั้นถือว่าขว้างโดนเพียง 3 ก้อน และกรณีที่สงสัยว่าขว้างโดนทั้ง 7 ก้อนหรือไม่ ฉะนั้นต้องขว้างจนกว่าจะมั่นใจว่าโดนทั้ง 7 ก้อน
4. หินที่ใช้ขว้างต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ซึ่งโดยปรกตินะมีขนาดเท่ากับนิ้วหัวแม่มือ
- ต้องเป็นก้อนหินที่เก็บจากพื้นที่ของฮะรอม เช่น มัชอะรุลฮะรอม มินา หรือมักกะฮฺ
- ต้องไม่เป็นหินที่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นตนเองหรือผู้อื่น
- ต้องเป็นหินที่ได้รับอนุญาต
5. สตรี เด็ก คนชรา และคนป่วย สามารถออกจากมัชอะรุลฮะรอมหลังจากเที่ยงคืน และก่อนอะซานซุบฮฺได้ และถ้าไม่สามารถขว้างเสาหิน (ร็อมย์ญุมเราะฮฺอะเกาะบะฮฺ) ในตอนเช้าได้ อนุญาตให้ขว้างในตอนกลางคืนที่ไปถึงมินา
ภาพสถานที่ขว้างเสาหินปัจจุบัน