บรรดาผู้ที่รอดพ้นจากมลทินที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอ่าน? ได้แก่
บรรดาผู้ที่รอดพ้นจากมลทินที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอ่าน?
(โดย เชค ตอฮา อับดุรรออูฟ ซะอัด)
ได้แก่...
ท่านนาบียูซุฟ
26. เขากล่าวว่า “นางได้ยั่วยวนขืนใจฉัน” และพยานคนหนึ่งในบ้านของนางได้เป็นพยาน ”หากเสื้อของเขาถูกดึงขาดทางด้านหน้า ดังนั้นนางก็พูดจริง และเขาอยู่ในหมู่ผู้กล่าวเท็จ”
ท่านนาบีมูซา
69. โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! พวกเจ้าอย่าได้เป็นเช่นบรรดาผู้สบประมาทมูซา (*6*) แล้วอัลลอฮฺก็ทรงให้เขาพ้นจากที่พวกเขากล่าวร้าย (*7*) และเขาเป็นผู้ควรแก่การคารวะ ณ ที่อัลลอฮฺ (*8*)
(1) คืออย่าได้เป็นเช่นพวกยะฮูดที่ได้กล่าวหานะบีมูซาว่า เป็นโรคด่างหรือโรคเรื้อน
(2) เกี่ยวกับเรื่องนี้มีหะดีษรายงานมีความหมายโดยสรุปว่า อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะให้มูซาพ้นจากข้อกล่าวหาด้วยการให้เขาเปลื้องเสื้อ ผ้าลงไปอาบน้ำในลำธาร เมื่ออาบน้ำแล้วขึ้นมาก็ไม่พบเสื้อผ้า จึงเดินตระเวนหา ผู้คนจึงได้มองเห็นเรืองร่างของมูซาว่าบริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจากโรคใด ๆทั้งสิ้น
(3) คือเป็นผู้ที่มีตำแหน่งอันสูงส่ง ณ ที่พระเจ้าของเขา จะขอสิ่งใดพระองค์ก็จะประทานให้แก่เขา
พระนางมัรยัม
29. นางชี้ไปทางเขา พวกเขากล่าวว่า “เราจะพูดกับผู้ที่อยู่ในเปลที่เป็นเด็กได้อย่างไร?”(*1*)
(1) พวกก็อดยานีย์มีทัศนะว่า อีซามิได้พูดได้ขณะที่เป็นเด็กนอนอยู่ในเปล แต่บอกว่าอีซาขณะนั้นอายุได้ 12 ปี โดยนำเอาข้อความบางตอนจากใบเบิ้ล บทลูกา มายืนยัน อัลกุรอานได้กล่าวยืนยันไว้อย่างชัดเจนว่า อีซา อะลัยฮิสสลาม ได้พูดกับผู้คนขณะที่นอนอยู่ในเปลคนที่นอนอยู่ในเปลน้นไม่กินกับปัญยาเลยที่ จะมีอายุถึง 12 ปี ตามกฎธรรมชาติ อัลลอฮ์ตรัสว่า “และเขา (อีซา) จะพูดแก่ผู้คนขณะที่เขาอยู่ในเปล และขณะที่เขาอยู่ในวัยกลางคน” แล้วถ้าหากว่าคำพูดของอีซาที่ได้โต้ตอบการกล่าวหาของพวกยิว เพื่อความบริสุทธิ์ของมารดา เกิดขึ้นเมื่ออีซามีอายุได้ 12 ปี คำพูดของอีซาก็จะไม่เกิดประโยชน์ในการเป็นเหตุผลหรือหลักฐาน ต่อการพ้นมลทินของมารดาแต่ประการใด เพราะเด็กที่มีอายุถึง 12 ปีนั้น ผู้ใหญ่สามารถจะเสี้ยมสอนให้ตอบ ตามความต้องการของตนได้ แต่เมื่อพวกเขาได้ปฏิเสธนางมัรยัมก็ได้ชี้ไปยังอีซาเพื่อให้ตอบพวกเขาแทนนาง ด้วยสิ่งที่จะทำให้นางบริสุทธิ์จากข้อกล่าวหา อัลลอฮ์ได้ตรัสไว้ว่า “และนางจึงชี้ไปยังเขา….จนกระทั่ง…และพระองค์ทรงทำให้ฉันเป็นผู้ได้รับความ จำเริญ ไม่ว่าฉันจะอยู่ ณ ที่ใด”(โปรดดูคำถามคำตอบข้อ 2 ในหนังสือ “ข้อชี้ขาดของนักปราชญ์อิสลามในการบิดเบือนอัลกุรอาน” ของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ)
30. เขา (อีซา) กล่าวว่า “แท้จริงฉันเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ พระองค์ทรงประทานคัมภีร์แก่ฉันและทรงให้ฉันเป็นนะบี”
พระนางอาอีชะห์
11. แท้จริงบรรดาผู้นำข่าวเท็จมานั้น(*1*) เป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งจากพวกเจ้า(*2*) พวกเจ้าอย่าได้คิดว่ามันเป็นการชั่วแก่พวกเจ้า แต่ว่ามันเป็นการดีแก่พวกเจ้า(*3*) สำหรับทุกคนในพวกเขานั้น คือสิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้จากการทำบาปส่วนผู้ที่มีบทบาทมากในเรื่องนี้ใน หมู่พวกเขานั้น(*4*) เขาผู้นั้นจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์
(1) ในที่นี้หมายถึงการกล่าวหาหรือปรักปรำท่านหญิงอาอิซะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา
(2) หัวหน้าของบุคคลกลุ่มนี้คือ “อับดุลลอฮ์ อิบนุสะลูล” ผู้นำของพวกมุนาฟิกีน
(3) นักตัฟซีรกล่าวว่า ความดีในการนี้มีอยู่ 5 ประการคือ การพ้นจากข้อกล่าวหาของอุมมุลมุอ์มินีน (คือท่านหญิงอาอิซะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา) หนึ่ง การให้เกียรติของอัลลอฮ์แก่นางด้วยการประทานวะฮีในเรื่องของนาง หนึ่งการได้รับผลบุญอันใหญ่หลวงในขบวนการกล่าวเท็จแก่นาง หนึ่ง เป็นข้อตักเตือนแก่บรรดามุอ์มิน หนึ่ง เป็นการแก้แค้นตอบแทนบรรดานักปั้นข่าวเท็จ อีกหนึ่ง
(4) ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการเผยแพร่ข่าวเท็จนี้คือ “อัลดุลลอฮ์ อิบนุสะลูล”
12. เมื่อพวกเจ้าได้ยินข่าวเท็จนี้(*1*) ทำไมบรรดามุอ์มินและบรรดามุอ์มินะฮ์ จึงไม่คิดเปรียบเทียบกับตัวของพวกเขาเองในทางที่ดี(*2*) และกล่าวว่า “นี่เป็นเรื่องโกหกอย่างชัดแจ้ง”
(1) คือการกล่าวโทษท่านหญิงอาอิซะฮ์
(2) ทำไมพวกเขาจึงไม่คิดไปในทางดี และอย่าได้รีบร้อนตัดสินใจการกล่าวหา โดยเฉพาะแก่ผู้ที่พวกเขารู้ดีว่านางเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน เพราะเรื่องของการศรัทธานั้นมุอ์มินจะต้องไม่เชื่อการกล่าวร้ายหรือการนินทา พี่น้องของเขา มีรายงานว่า ภริยาของอะบีอัยยูบกล่าวกับเขาว่า ท่านไม่ได้ยินสิ่งที่มหาชนกล่าวในเรื่องอาอิซะฮ์บ้างหรือ? เขากล่าวว่า ฉันได้ยินแล้ว และนั่นเป็นเรื่องโกหกทั้งสิ้น เธอจะปฏิเสธเช่นนั้นหรือ โอ้ อุมมิอัยยูบ นางกล่าวว่า ไม่หรอก ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ เขากล่าวว่า ท่านหญิงอาอิซะฮ์นั้น วัลลอฮิ ดีกว่าเธอเสียอีก
13. ทำไมพวกเขาจึงไม่นำพยานสี่คนมาเพื่อมัน(*1*) หากพวกเขาไม่นำพยานเหล่านั้นมาแล้ว(*2*) ดังนั้นชนเหล่านั้น ณที่อัลลอฮ์พวกเขาเป็นผู้กล่าวเท็จ
(1) เพื่อเป็นพยานยืนยันสิ่งที่พวกเขากล่าว
(2) คือไม่สามารถนำพยานหลักฐานในข้อกล่าวอ้างของพวกเขาได้แล้ว
14. และหากมิใช่ความโปรดปรานของอัลลอฮ์แก่พวกเจ้า และความเมตตาของพระองค์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าแล้ว(*1*)แน่นอนการลงโทษอย่าง มหันต์ก็จะประสบแก่พวกเจ้า ในสิ่งที่พวกเจ้ากำลังง่วนกันอยู่
(1) โดยที่พระองค์ทรงผ่อนผันและไม่ด่วนฉับพลันในการลงโทษแก่พวกเจ้า
15. ขณะที่พวกเจ้าได้รับข่าวนั้น ด้วยการพูดกันระหว่างพวกเจ้า และพวกเจ้าพูดกันในสิ่งที่พวกเจ้าไม่มีความรู้(*1*) และพวกเจ้าคิดว่ามันเป็นเรื่องเล็ก แต่ ณ ที่อัลลอฮ์นั้นมันเป็นเรื่องใหญ่
(1) คือพวกเจ้าพูดกันในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง มันเป็นความเท็จและการกุข่าวขึ้นเท่านั้น
16. เมื่อพวกเจ้าได้ยินมัน ทำไมพวกเจ้าจึงไม่กล่าวว่า “ไม่บังควรที่เราจะพูดถึงเรื่องนี้(*1*) มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ท่านนี่มันเป็นการกล่าวร้ายอย่ามหันต์ !”
(1) คือสมควรแก่พวกท่านที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับ เมื่อแรกได้ยินเรื่องนี้ และกล่าวว่า ไม่สมควรที่เราจะพูดเรื่องนี้
17. อัลลอฮ์ทรงตักเตือนพวกเจ้า เพื่อมิให้กลับไปประพฤติเช่นนี้อีกเป็นอันขาด หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา(*1*)
(1) เป็นการส่งเสริมให้ยึดถือเป็นข้อเตือนใจ
18. และอัลลอฮ์ทรงชี้แจงโองการทั้งหลายอย่างชัดเจนแก่พวกเจ้า(*1*) และอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ
(1) คือโองการทั้งหลายที่บ่งถึงบทบัญญัติและการมีมารยาทที่ดีงาม เพื่อที่จะได้ยึดถือเป็นบทเรียนและแบบอย่างที่ดี
19. แท้จริงบรรผู้ชอบที่จะให้เรื่องบัดสีแพร่หลายไปในหมู่ผู้ศรัทธานั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บปวด ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า(*1*) และอัลลอฮ์ทรงรอบรู้และพวกเจ้าไม่รู้
(1) การลงโทษอย่างเจ็บปวดในโลกนี้คือ การลงโทษของผู้แพร่ข่าวเท็จ ส่วนในโลกหน้าคือการลงโทษด้วยไฟนรก
20. และหากมิใช่ความโปรดปรานของอัลลอฮ์แก่พวกเจ้า และความเมตตาของพระองค์แล้ว และแท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ
21. โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! พวกเจ้าอย่าคิดตามทางเดินของชัยฎอน(*1*) และผู้ใดติดตามทางเดิมของชัยฎอน แท้จริงมันจะใช้ให้ทำการลามกและความชั่ว และหากมิใช่ความโปรดปรานของอัลลอฮ์แก่พวกเจ้า และความเมตตาของพระองค์แล้ว(*2*) ก็จะไม่มีผู้ใดเลยหมู่พวกเจ้าบริสุทธิ์ แต่อัลลอฮ์ทรงให้ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์บริสุทธิ์(*2*) และอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้
(1) ด้วยการให้มีการขออภัยโทษกลับเนื้อกลับตัว และการให้มีบทลงโทษเพื่อลบล้างความผิด
(2) ด้วยการให้เขาสำนึกขออภัยโทษต่อความผิดที่ได้กระทำไป และทรงรับการขออภัยโทษของเขา
22. และผู้มีเกียรติและผู้มั่งคั่งในหมู่พวกเจ้าอย่าได้สาบานที่จะไม่ให้ (ความช่วยเหลือ) แก่ญาติมิตร และคนยากจน และผู้อพยพในหนทางของอัลลอฮ์(*1*) และพวกเขาจงอภัย และยกโทษ(*2*) (ให้แก่พวกเขาเถิด) พวกเจ้าจะไม่ชอบหรือที่อัลลอฮ์จะทรงอภัยให้แก่พวกเจ้า และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ
(1) คือสาบานที่จะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลดังกล่าวเพราะการทำบาปของเขา มีรายงานเกี่ยวกับสาเหตุของการประทานโองการนี้ว่า อะบูบักร์ อัศศิกดีก เคยให้ค่าใช้จ่ายแก่มัสเฏาะฮ์ อิบน์อุซาซะฮ์ เพราะความยากจนและความเป็นญาติกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์แพร่ข่าวเท็จเกี่ยวกับท่านหญิงอาอิซะฮ์ และมัสเฏาะฮ์ได้ร่วมอยู่ในวงการนี้ด้วย อะบูบักร์ได้สาบานว่าจะไม่ให้ค่าใช้จ่ายแก่เขา และจะไม่อำนวยประโยชน์ให้เขาอีกต่อไป อัลลอฮ์ ตะอาลา จึงประทานอายะฮ์นี้ลงมา แล้วอะบูบักร์ได้กล่าวว่า วัลลอฮิ แท้จริงฉันใคร่ที่จะให้อัลลอฮ์ทรงยกโทษให้ฉัน แล้วเขาก็ได้ให้ค่าใช้จ่ายแก่มัสเฏาะฮ์ตามที่ได้เคยให้มาก่อน และกล่าวหา วัลลอฮิ ฉันจะไม่ยับยั้งการให้ค่าใช้จ่ายแก่เขาเป็นอันขาด
(2) และจงกลับไปทำความดีและความโปรดปราน เหมือนกับที่ได้ทำมาก่อน นักตัฟซีรกล่าวว่า ในอายะฮ์นี้บ่งถึงคุณค่าของอะบูบักร์ เพราะอัลลอฮ์ทรงกล่าวชมเชยเขา โดยกล่าวว่า “และผู้มีเกียรติ……อย่าได้สาบาน…….”
ที่มา: ดาบแห่งอัลเลาะห์ อะคาเดมี่