อิสลามอนุญาตให้มีการหย่าได้ในกรณีไหนบ้าง? : islamhouses


51,778 ผู้ชม

การขอหย่านั้น โดยพื้นฐานของอิสลาม ไม่อนุญาตให้ภรรยาหย่าสามี หรือหากนางพูดคำว่าหย่าสามี ก็ถือว่าเป็นโมฆะ


 การหย่านั้น อิสลามไม่ส่งเสริมในการหย่า การหย่ามีเงื่อนไขหลายประการ เช่น ห้ามหย่าระหว่างมีครรภ์ มีประจำเดือน  ห้ามหย่าเมื่อมีอารมณ์โมโห โกรธ  ขาดสติ สัมปชัญญะ ละเมอ เช่นนี้ การหย่าใช้ไม่ได้ ส่วนสามีนั้น  หากถูกบังคับให้ หย่ากับภรรยานั้น ก็เป็นโมฆะเช่นกัน 

การขอหย่านั้น โดยพื้นฐานของอิสลาม ไม่อนุญาตให้ภรรยาหย่าสามี หรือหากนางพูดคำว่าหย่าสามี ก็ถือว่าเป็นโมฆะ 

แต่ศาสนาก็อนุญาตให้ภรรยาขอยกเลิกการแต่งงานกับสามีของตนเองได้ แต่มีเงื่อนไขว่า สาเหตุที่จะขอยกเลิกการแต่งงานจะต้องเป็นเรื่องของศาสนาเท่านั้น เช่น สามีไม่มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว,สามีไม่ละหมาด, สามีทำซินา, สามีดื่มสุรา, สามีเล่นการพนัน หรือความผิดอื่นๆ เช่นนี้เราจึงขอยกเลิกการแต่งงานกับเขา 

และในกรณีที่ สามีไม่เคยส่งเสียเลี้ยงดู เลย(นะฟะเกาะฮฺ ) จำเป็นที่สามีต้องจ่ายชดใช้หากทำการหย่าด้วย


-  หากไม่ต้องการหย่า ต้องพิจารณาดูว่า มีเหตุสิ่งที่ที่ทำให้ถูกขอหย่า  นำมาพิจารณาแล้วปรับปรุงตัว หาก มีการกำหนดเงื่อนไขและตักเตือนกัน  ซึ่ง การหย่านั้น การหย่าต้องมีการตักเตือน พูดคุยกันก่อน จะหย่าเพราะอารมณ์โมโหโกรธ ไม่ได้ 

-  หากแต่ชายต้องการมีภรรยาใหม่เองนั้นศาสนากำหนดให้มีได้ 4 คน อันนี้ หญิงขอหย่าไม่ได้ นอกจากว่า เขาไม่เลี้ยงดูส่งเสียเราละเลยหน้าที่ครอบครัว ตามที่กล่าวไปแล้วข้างบน อย่างนั้นหญิงสามารถขอหย่าได้ค่ะ 

-  กรณีที่เราหย่าขาดกับภรรยาของเรา ภายหลังหมดกำหนดระยะเวลาแล้ว  ถือว่า ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าเรื่องนะฟะเกาะฮฺก็ไม่ต้องให้แล้ว 

-  ส่วนในกรณีที่มีบุตรกับนางจะกี่คนก็ตาม หลักการของศาสนาระบุว่าความเป็นพ่อลูกไม่สามารถแยกขาดกันได้, อย่างไรก็ตามลูกที่เกิดกับนางก็คือลูกของเราด้วยตราบจนวันกิยามะฮฺ

-  ประการถัดมา หากลูกของเราที่เกิดกับนางยังไม่บรรลุศาสนภาวะ (หมายถึงผู้ชายยังไม่ฝันเปียก และผู้หญิงยังไม่มีรอบเดือน) วาญิบ (จำเป็น) สำหรับเราซึ่งเป็นพ่อของเด็กจะต้องจ่ายนะฟะเกาะฮฺ (ค่าเลี้ยงดู) ให้แก่ลูกของเราต่อไปจนกระทั่งลูกๆ ของเราบรรลุศาสนภาวะ (กรณีที่ลูกของเราอยู่กับภรรยาที่หย่าร้างมา)

ส่วนหากเราไม่จ่ายนะฟะเกาะฮฺให้ในระหว่างก่อนบรรลุศาสนภาวะ ถือว่าเรามีความผิด 

-  อีกประการหนึ่ง หากลูกของเราบรรลุศาสนาภาวะ ลูกๆ เหล่านั้นมีสิทธิเลือกที่จะอยู่กับแม่ หรือกับพ่อก็ได้

เรื่องครอบครัวนั้น จะให้ดีต้องเลือกคู่ดังนี้ เป็นการลดปัญหาและ มีศาสนาที่ถูกต้อง

ดังนั้น การเลือกเป็นคนที่มีอิหม่าน เคร่งครัดอยู่ในหลักการของศาสนา ประเด็นนี้ตรงกับสิ่งที่ท่านรสูลุลลอฮฺ สั่งใช้ให้มุสลิมทุกคนเลือกคู่โดยเลือกบุคคลที่มีศาสนาเป็นอันดับแรก 

เมื่อสตรีและบุรุษ ที่มีศาสนาแล้วอย่างอื่นก็จะติดตามมาโดยง่าย เพราะเมื่อเขามีศาสนา  ปัญหาต่างๆ ก็จะไม่เกิดตามมาเพราะทุกอย่างมีศาสนากำหนดไว้แล้ว  นอกจาก เป็น นิสัยลึกๆของเขาเอง แต่เมื่อเกิดปัญหาต้องหันหน้ามาคุยกัน ตักเตือนกันว่าผิดถูกเช่นไร ศาสนาว่าไว้เช่นไร

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องข้อกำหนดของศาสนาเขายิ่งต้องตอบรับอย่างแน่นอน ฉะนั้นจึงไม่ต้องถามถึงเรื่องการบ้านการเรือน หรือเรื่องมารยาทบางอย่างที่นางบกพร่อง เพราะเราสามารถสอนหรือหัดให้นางทำได้เช่นกัน   เมื่อชายละเลย ก็พูดคุยกัน ปรึกษากัน แก้ไขปัญหากัน

ศาสนา คือ การตักเตือนกัน

เรื่องที่น่าสนใจ