การอาบน้ำละหมาด ที่บัญญัติไว้ในอัลกุรอ่านและอัลฮะดีษ


1,480 ผู้ชม

ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้นอนจนกระทั่งมีเสียงหายใจแรง  หลังจากนั้นท่านก็ไปละหมาด


เรื่อง: การอาบน้ำละหมาด ในอัลกุรอ่านและอัลฮะดีษ 

การอาบน้ำละหมาด ที่บัญญัติไว้ในอัลกุรอ่านและอัลฮะดีษ

เกี่ยวกับการอาบน้ำละหมาด


وَقَوْلِ اللَّهِ تَعَالَى ‏{‏إِذَا قُمْتُمْ إِلَى الصَّلاَةِ فَاغْسِلُوا وُجُوهَكُمْ وَأَيْدِيَكُمْ إِلَى الْمَرَافِقِ وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ‏}‏ قَالَ أَبُو عَبْدِ اللَّهِ وَبَيَّنَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم أَنَّ فَرْضَ الْوُضُوءِ مَرَّةً مَرَّةً، وَتَوَضَّأَ أَيْضًا مَرَّتَيْنِ وَثَلاَثًا، وَلَمْ يَزِدْ عَلَى ثَلاَثٍ، وَكَرِهَ أَهْلُ الْعِلْمِ الإِسْرَافَ فِيهِ وَأَنْ يُجَاوِزُوا فِعْلَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم‏.‏ 

           จากคำดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ที่ว่า “เมื่อพวกเจ้าทั้งหลายจะละหมาด ก็จง (อาบน้ำละหมาดโดย) ล้างหน้าของพวกเจ้า, ล้างมือของพวกเจ้าจนถึงข้อศอก, เช็ดศีรษะของพวกเจ้า,และล้างเท้าทั้งสองจนถึงตาตุ่ม” (ซูเราะห์อัลมาอิดะห์ อายะห์ที่ 6) 
                อบูอับดิลลาฮ์ (อิหม่ามบุคคอรี) กล่าวว่า  : ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้สาธยายให้ทราบว่า ข้อบัญญัติของการอาบน้ำละหมาดนั้นให้ทำทีละครั้ง, และการอาบน้ำละหมาดก็เช่นเดียวกันให้ล้างอย่างละสองครั้งหรือสามครั้ง แต่ไม่มากกว่าสามครั้งเป็นอันขาด นอกจากนั้นบรรดานักวิชาการยังรังเกียจ (หรือตัดสินว่าเป็นที่น่ารังเกียจ) ต่อการใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือยในการอาบน้ำละหมาด และในการกระทำที่เลยเถิดนอกเหนือจาก (แบบอย่างที่เป็น) การกระทำของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม 

ผู้ที่ไม่มีน้ำละหมาด การละหมาดของเขาไม่ถูกตอบรับ


عَنْ هَمَّامِ بْنِ مُنَبِّهٍ، أَنَّهُ سَمِعَ أَبَا هُرَيْرَةَ، يَقُولُ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم ‏"‏ لاَ تُقْبَلُ صَلاَةُ مَنْ أَحْدَثَ حَتَّى يَتَوَضَّأَ ‏"‏‏.‏ قَالَ رَجُلٌ مِنْ حَضْرَمَوْتَ مَا الْحَدَثُ يَا أَبَا هُرَيْرَةَ قَالَ فُسَاءٌ أَوْ ضُرَاطٌ‏.‏  

          ฮัมมาม อิบนุมุนับบิฮ์ รายงานว่า เขาได้ยินอบูฮุรอยเราะห์ กล่าวว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “การละหมาดของผู้ที่มีฮะดัษจะไม่ถูกตอบรับ จนกว่าเขาจะอาบน้ำละหมาดใหม่” ชายคนหนึ่งจากฮัดรอเมาต์ถามว่า โอ้อบูฮุรอยเราะห์ คำว่าฮะดัษหมายถึงอะไรหรือ ? เขาตอบว่า (หนึ่งในนั้น) คือการผายลม

ความประเสริฐของการอาบน้ำละหมาด และจุดเด่นจากร่องรอยของน้ำละหมาด


عَنْ نُعَيْمٍ الْمُجْمِرِ، قَالَ رَقِيتُ مَعَ أَبِي هُرَيْرَةَ عَلَى ظَهْرِ الْمَسْجِدِ، فَتَوَضَّأَ فَقَالَ إِنِّي سَمِعْتُ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم يَقُولُ ‏"‏ إِنَّ أُمَّتِي يُدْعَوْنَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ غُرًّا مُحَجَّلِينَ مِنْ آثَارِ الْوُضُوءِ، فَمَنِ اسْتَطَاعَ مِنْكُمْ أَنْ يُطِيلَ غُرَّتَهُ فَلْيَفْعَلْ ‏"‏‏  

                นุอัยม์ อัลมุจมิร รายงานว่า ฉันพร้อมกับอบูฮุรอยเราะห์ ขึ้นไปด้านบนของมัสยิด แล้วอาบน้ำละหมาด (ในวันหนึ่ง) เขากล่าวว่า ฉันเคยได้ยินท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงประชาชาติของฉันจะถูกเรียกในวันกิยามะห์ว่า “ผู้ที่มีจุดเด่นจากร่องรอยของการอาบน้ำละหมาด”  ฉะนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าที่สามารถทำให้จุดเด่นนั้นเพิ่มมากขึ้นก็จงทำเถิด 

กรณีเกิดข้อสงสัยว่าเสียน้ำละหมาดหรือไม่ให้เอาความแน่ใจเป็นเกณฑ์


وَعَنْ عَبَّادِ بْنِ تَمِيمٍ، عَنْ عَمِّهِ، أَنَّهُ شَكَا إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم الرَّجُلُ الَّذِي يُخَيَّلُ إِلَيْهِ أَنَّهُ يَجِدُ الشَّىْءَ فِي الصَّلاَةِ‏.‏ فَقَالَ ‏"‏ لاَ يَنْفَتِلْ ـ أَوْ لاَ يَنْصَرِفْ ـ حَتَّى يَسْمَعَ صَوْتًا أَوْ يَجِدَ رِيحًا ‏"‏‏ 

          อับบาด บินตะมีม รายงานจากลุงของเขา (อับดุลลอฮ์ บินเซด) ว่า เขาถามท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เกี่ยวชายผู้หนึ่งที่สันนิฐานว่าตัวเขาเองประสบกับภาวะเสียน้ำละหมาด (ผายลม) ในขณะที่เขากำลังละหมาดอยู่ ท่านตอบว่า   “ไม่ต้องเลิกละหมาด หรือ ไม่ต้องออกจากละหมาด จนกว่าจะได้ยินเสียง (ผายลม) หรือได้กลิ่น”

ข้อผ่อนผันในการอาบน้ำละหมาด


عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ، أَنَّ النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم نَامَ حَتَّى نَفَخَ ثُمَّ صَلَّى ـ وَرُبَّمَا قَالَ اضْطَجَعَ حَتَّى نَفَخَ ـ ثُمَّ قَامَ فَصَلَّى‏.‏ ثُمَّ حَدَّثَنَا بِهِ سُفْيَانُ مَرَّةً بَعْدَ مَرَّةٍ عَنْ عَمْرٍو عَنْ كُرَيْبٍ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ بِتُّ عِنْدَ خَالَتِي مَيْمُونَةَ لَيْلَةً، فَقَامَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم مِنَ اللَّيْلِ، فَلَمَّا كَانَ فِي بَعْضِ اللَّيْلِ قَامَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم فَتَوَضَّأَ مِنْ شَنٍّ مُعَلَّقٍ وُضُوءًا خَفِيفًا ـ يُخَفِّفُهُ عَمْرٌو وَيُقَلِّلُهُ ـ وَقَامَ يُصَلِّي فَتَوَضَّأْتُ نَحْوًا مِمَّا تَوَضَّأَ، ثُمَّ جِئْتُ فَقُمْتُ عَنْ يَسَارِهِ ـ وَرُبَّمَا قَالَ سُفْيَانُ عَنْ شِمَالِهِ ـ فَحَوَّلَنِي فَجَعَلَنِي عَنْ يَمِينِهِ، ثُمَّ صَلَّى مَا شَاءَ اللَّهُ، ثُمَّ اضْطَجَعَ، فَنَامَ حَتَّى نَفَخَ، ثُمَّ أَتَاهُ الْمُنَادِي فَآذَنَهُ بِالصَّلاَةِ، فَقَامَ مَعَهُ إِلَى الصَّلاَةِ، فَصَلَّى وَلَمْ يَتَوَضَّأْ‏.‏ قُلْنَا لِعَمْرٍو إِنَّ نَاسًا يَقُولُونَ إِنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم تَنَامُ عَيْنُهُ وَلاَ يَنَامُ قَلْبُهُ‏.‏ قَالَ عَمْرٌو سَمِعْتُ عُبَيْدَ بْنَ عُمَيْرٍ يَقُولُ رُؤْيَا الأَنْبِيَاءِ وَحْىٌ، ثُمَّ قَرَأَ ‏{‏إِنِّي أَرَى فِي الْمَنَامِ أَنِّي أَذْبَحُكَ‏}‏‏.‏ 

                 อิบนิอับบาส รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้นอนจนกระทั่งมีเสียงหายใจแรง  หลังจากนั้นท่านก็ไปละหมาด (บางทีเขาก็กล่าวว่า ท่านนอนเอกเขนกจนกระทั่งมีเสียงหายใจแรงหลังจากนั้นก็ลุกขึ้นไปละหมาด)

                นอกจากนั้น ซุฟยาน ได้เล่าเรื่องนี้ให้ฟังหลายครั้ง จากอัมร์ จากกุรอยบ์ จากอิบนิอับบาส ว่า “ฉันนอนค้างที่บ้านของท่านหญิงมัยมูนะห์ซึ่งเป็นน้าสาวของฉันในคืนหนึ่ง (ซึ่งท่านนบีได้พักค้างคืนที่นั่นด้วย)  ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้นอนในตอนหัวค่ำ เมื่อถึงกลางดึก ท่านนบีศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้ลุกขึ้นแล้วอาบน้ำละหมาดจากน้ำในถุงหนังที่แขวนไว้ ซึ่งท่านอาบน้ำละหมาดเพียงนิดหน่อย - อัมร์ได้สาธยายว่า ไม่เน้นและทำเป็นจำนวนน้อย - หลังจากนั้นท่านก็ยืนละหมาด ฉัน (อิบนิอับอับบาส) จึงได้อาบน้ำละหมาดเช่นเดียวกับที่ท่านนบีทำ แล้วฉันก็มายืนละหมาดด้านซ้ายของท่าน - บางครั้งซุฟยานก็รายงานด้วยคำว่า ซิมาลิฮี – (แทนคำว่า ยะซารีริฮี  ซึ่งมีความหมายว่า ด้านซ้ายเช่นเดียวกัน) ดังนั้นท่านนบีจึงเอาฉันย้ายมาอยู่ทางด้านขวาของท่าน แล้วท่านก็ละหมาดต่อไปตามที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงประสงค์

                ต่อมาท่านได้นอนเอกเขนกแล้วหลับไปจนเสียงหายใจดัง หลังจากนั้นก็มีคนปลุกท่าน โดยแจ้งท่านว่าได้เวลาละหมาด (หรือมุอัซซินที่ทำการอะซานเพื่อแจ้งเวลาละหมาดซุบฮิ) ดังนั้นฉันจึงลุกขึ้นไปละหมาดพร้อมกับท่าน ซึ่งท่านนบีได้ละหมาดโดยไม่ได้อาบน้ำละหมาดใหม่

                เรา (หมายถึงซุฟยานหนึ่งในผู้รายงาน) กล่าวกับ อัมร์ ว่า บรรดาผู้คนจะกล่าวกันเสมอว่าท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม นั้นตาของท่านจะหลับแต่หัวใจของท่านไม่ได้หลับ อัมร์ กล่าวว่า ฉันเคยได้ยิน อุบัยด์ อิบนุอุมัยร์ กล่าวว่า การฝันของบรรดานบีก็คือวะฮีย์ หลังจากนั้นเขาก็อ่านอัลกุรอานที่ว่า “แท้จริงฉันได้ฝันเห็นว่าฉันเชือดเจ้า” (ซูเราะห์อัสซอฟฟาต อายะห์ที่ 102) 

บทความที่น่าสนใจ

อัพเดทล่าสุด